เจ็บจิ๊ด !นักวิชาการอิสระซัดรสนิยมดีๆ หาซื้อกันด้วยเงินไม่ได้จริงๆ

30 พ.ค.2567 - นายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า คะแนนเสียงคงเป็นเอกฉันท์แล้วนะครับ ว่าวันนี้คนส่วนมากคิดอะไร กับแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯ ที่นักท่องเที่ยงเที่ยวต้องมายืนถ่ายรูปตัวเองที่จุดนี้

ไม่ต่างคนไปเที่ยวโอซาก้า กับต้องยืนบนสะพานเอบิสุ ถ่ายภาพป้ายคูลิโกะที่ริมคลองโดทงโบริ หลังจากไปถ่ายภาพกับปูที่ปากซอยมา ผมไปโอซาก้าสามล้านกว่าครั้งแล้ว ถ้าพูดเล่นๆ แบบเซอร์เรียลิสม์ ก็อดไปยืนยิ้มแล้วถ่ายภาพมุมเดิมๆ ไม่ได้ ทุกอย่างเหมือนเดิม เพียงแต่คนที่ยืนถ่ายแก่ขึ้นทุกปีเท่านั้นเอง แต่มันคือสิ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนมากต้องมาทำก่อนไปเดินต่อในย่านชินไซบาชิยามค่ำเท่านั้นเอง

ภาพกรุงเทพฯ มุมนี้คลาสสิกมาก ทริปแอดไวเซอร์, อาเซียนเบสโฮเทล, แอร์บีเอ็นบี ฯลฯ และเว็บท่องเที่ยวอีกมากมายต้องมีภาพนี้สำหรับเชิญชวนให้คนมาเที่ยวกรุงเทพฯ แล้วจะบอกว่าที่หน้าป้ายนี้ไม่ใช่แลนด์มาร์คของกรุงเทพฯ ที่ให้นักท่องเที่ยวมายืนถ่ายภาพก็คงไม่ใช่แล้วล่ะครับ

สำหรับผมเองผมเป็นคนชอบงานแนว ลอฟท์ (Loft) เป็นพื้นอยู่แล้วงาน ผิวปูนดิบ เนื้องานดิบ ดูแล้วเหมือนงานน้อย แต่กลับให้ความรู้สึกที่มาก และถ้าเป็น Contemporary Loft Design หลังยุค 40-50-60-70's มันคืองานออกแบบได้ไม่ง่ายเหมือนยุคบุกเบิกที่เน้นงานดิบ ต้องเป็นคนที่อิ่มในความรู้สึกศิลป์และมีชั่วโมงบินอยู่พอสมควร เพราะมันไม่เน้นความดิบและว่างเปล่าเหมือนตอนอีกยุคที่ยังเป็น Mid-Modern Loft Design ในช่วงตลอดหลังสี่สิบปีก่อนอีกแล้ว เพราะในความเป็น Contemporary ที่เริ่มมีสีสรรและองค์ประกอบที่เปลี่ยนไม่เคยหยุดของตัวมันเอง มันจะบอกตัวเองว่ามันคืองานแนวลอฟท์ที่ถูกดีไซน์ออกมายุคไหน

มันไม่ต่างกับ น้อยแต่มาก (Less is More) ตามแบบของ มินิมอล (Minimal) หรอกครับ เพียงแต่ลอฟท์มันมีแนวทางของตัวเอง แล้วพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ด้วยความเป็น Contemporary แต่ละยุคตามกาลเวลาของมันเองบนเนื้อผิวที่ดิบของปูนและคอนกรีต และสีสรรที่เพิ่มขึ้นตามยุคของมัน

ป้ายนี้ถูกสร้างในยุค คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ถ้าผมจำไม่ผิด ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย มันเรียบง่าย สวยด้วยตัวของมันเอง ฟอนท์สวยงาม ตามแบบของตัวเอง ไม่ใช่ดูทื่อๆ แบบฟอนท์ราชการแบบที่สมัยนั้นชอบใช้กัน มีความเป็น Contemporary ของยุคนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่ดูสวยข้ามเวลาจนถึงทุกวันนี้

รสนิยมดีๆ มันซื้อหากันด้วยเงินไม่ได้จริงๆ มันเกิดจากการบ่มเพาะในความคิดด้วยเวลาชีวิตของคนแต่ละคน

เครดิตภาพ อาเซียนเบสโฮเทล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

'อัษฎางค์' ข้องใจ ม.นเรศวร จ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไร?

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรจ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไ

สงสัย 'อเมริกา' คือจุดเริ่มต้นการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาเดือนตุลาถึงขบวนการสามกีบหรือไม่?

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า สหรัฐอเมริกา(ผู้รักษาสันติภาพ ที่ทำลายสันติภาพ) คือจุดเริ่มต้นการชุมนุม

เผยห้าวิบากจากความลำบากทุกข์ยากบนราชบัลลังก์ของ 3 รัชกาล ราชสกุลมหิดล

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ ห้าวิบากจากความลำบากทุกข์ยากบนราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์ 3 รัชกา