'อ.ไชยันต์' ย้อนถามมีสว.ไว้ทำไม ยกตัวอย่างหลายประเทศยกเลิกแล้ว เหตุไม่มีความจำเป็น

29 พ.ค.2567- ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

มี สว ไว้ทำไม ? (มีดีกว่าไม่มี)
การยกเลิกสภาที่สองในประเทศต่างๆ อย่างเช่น เดนมาร์ก ในปี ค.ศ.1953 ไม่ได้เกิดจากการที่สภาที่สองมีปัญหา
แต่เกิดจากความไม่จำเป็นของการมีสภาที่สองที่เป็นสภาของชนชั้นสูง
เพราะสภาผู้แทนราษฎรสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม
ปัจจุบัน ประเทศที่ใช้ระบบสภาเดียว ได้แก่ อาร์มีเนีย บัลแกเรีย เดนมาร์ก ฮังการี โมนาโค ยูเครน เซอร์เบีย ตุรกี และสวีเดน
และประเทศที่จะเหมาะกับการมีสภาเดียวคือ ประเทศที่มีขนาดเล็ก และมีประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นยาวนานพอสมควร และไม่มีความหลากหลายจนเกินไป
และข้อดีของการมีสภาเดียวคือ สามารถออกกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่า
หากจะให้ประเทศไทยใช้ระบบสภาเดียว ก็ต้องแน่ใจว่า จะไม่เกิดปัญหาเผด็จการเสียงข้างมาก
ซึ่งอาจจำเป็นต้องออกแบบระบบเลือกตั้งให้เหมาะสมที่จะไม่ให้มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเกินครึ่งในสภาได้ง่ายๆ
ซึ่งถ้าไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงเกินครึ่งได้ง่าย การตรวจสอบกันเองของพรรคการเมืองและคณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีความเป็นไปได้ที่จะมีประสิทธิภาพ
และหากจะหวังให้ประชาชนตรวจสอบการทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ก็หวังว่า จะไม่เกิดการชุมนุมประชันขันแข่งในที่สาธารณะจนบานปลายกลายเป็นวิกฤตการเมือง
แต่ก่อนจะคิดเลิกระบบสองสภา และใช้ระบบสภาเดียวเพราะหมดปัญญา ควรหันกลับมาระดมสมองสติปัญญาคิดหาวิธีการที่เหมาะสมในการได้มาซึ่งวุฒิสภากันอีกสักครั้ง
ลองคิดเล่นๆดูว่า หากในสมัย ทักษิณ วุฒิสภา ไม่ได้เป็นสภาผัวเมีย การเมืองจะวิ่งไปสู่ทางตันอย่างที่เป็นไหม ?
และถ้าในสมัยพลเอกประยุทธ์ วุฒิสภาไม่ได้เป็นสภาโคตรญาติ-พี่น้องผองพวก การเมืองจะดำเนินมาถึงจุดที่เป็นอยู่ขณะนี้หรือไม่ ?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ไชยันต์' ยกความเห็น 'รศ.วรศักดิ์' อำมหิตเหนืออำมหิต รณรงค์เรื่องสิทธิประกันตัว

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'อ.ไชยันต์' เปิดพระราชบันทึก Democracy in Siam พระปกเกล้าฯ เตรียมการสู่ปชต.

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า

'อ.ไชยันต์' โต้ 'อ.สุลักษณ์' ยันร่างรธน.ของร.7กล่าวถึงสภานิติบัญญัติ-การเลือกตั้งไว้ด้วย

'อ.ไชยันต์' ยกสาระสำคัญของเค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ที่ร.7จะพระราชทาน โต้ อ.สุลักษณ์ ยันร่างรธน.มิได้เพียงเสนอให้มีนายกฯเท่านั้น แต่ได้กล่าวถึงสภานิติบัญญัติ และการเลือกตั้งไว้ด้วย