เปิดความเห็น 'กฤษฎีกา' กรณีสั่งให้ 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการไว้ก่อน

28 พ.ค.2567 - มีการเผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)ออกจากราชการไว้ก่อน หลังจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจหารือว่า นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง และมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ประกอบกับข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ โดยนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจ รายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ และจะต้องดำเนินการเมื่อใดนั้น

คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีตามข้อหารือนี้ โดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการตำรวจรายดังกล่าว ตามมาตรา 106 มาตรา 108 มาตรา 119 และมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565ในวันเดียวกันกับวันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าว ออกจากราชการไว้ก่อน นอกจากนี้ ปรากฎข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามคำชี้แจงของผู้แทนสำนักเลขาธิการว่าข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจแล้ว

คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2พิจารณาข้อหารือและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมดังกล่าวแล้วเห็นว่า ข้อหารือนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า เมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อน นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าว พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ต้ามมาตรา 140วรรคหนึ่ง และมาตรา 179แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ประกอบกับข้อ11 แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.2547 หรือไม่ และจะต้องดำเนินการเมื่อใด

ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 2 เห็นว่า มาตรา 131 " วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565บัญญัติให้การสั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในกฏ ก.ตร. ซึ่งปัจจุบัน ก.ตร. ยังไม่ได้ออกกฎ ก.ตร. ในเรื่องดังกล่าว แต่มาตรา179แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ได้บัญญัติรองรับไว้ว่า ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ ก.ตร. ให้นำกฎ ก.ตร. ซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พระราชบัญญัตินี้ ด้วยเหตุนี้ การดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงต้องดำเนินการตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.2547 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547และใช้บังคับอยู่เดิมต่อไป เท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ2565

กรณี จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า ข้อ11" แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อน ให้ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 หรือไม่ ซึ่งมีความเห็นว่า เมื่อมาตรา14 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 บัญญัติหลักการเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้ บัญชาการตำรวจแห่ งชาติ ว่า จะต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษ ซึ่งส่งผลให้การสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่ จะไม่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง เนื่องจากมิใช่การพ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจาก ราชการเพราะถูกลงโทษ ด้วยเหตุที่ การออกจากราชการไว้ก่อนมิใช่โทษทางวินัยตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565

จึงเห็นว่า ข้อ 11 " แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่ง พักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ มิได้ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ดังนั้น ในการสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อหารือนี้จึงต้องดำเนินการตามข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร. ดังกล่าว กล่าวคือ นายกรัฐมนตรีจะต้องนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน สำหรับกรอบระยะเวลาที่จะต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งนั้น เมื่อพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ไม่ได้บัญญัติระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีที่จะต้อง พิจารณาดำเนินการด้วยความรอบคอบภายในระยะเวลาอันเหมาะสมตามควรแก่กรณีต่อไป

อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 มีข้อสังเกตว่า ในการนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายใดพ้นจากตำแหน่งนั้น โดยที่นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของการสั่งให้ข้าราชการรายดังกล่าวออกจากราชการไว้ก่อนอย่างรอบคอบให้เป็นที่ยุติเสียก่อน เมื่อในกรณีนี้ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน

มีผลเป็นการปรับปรุงบทบัญญัติขึ้นใหม่จากที่เคยบัญญัติไว้แต่เดิมในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หลายประการ โดยมีเจตนารมณ์สำคัญเพื่อให้การจัดระเบียบข้าราชการตำรวจเป็นไปตาม หลักนิติธรรมและเกิดความเป็นธรรม

ดังจะเห็นได้จากคำปรารภของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 และมาตรา 60 ที่ได้บัญญัติหลักการใหม่ให้การจัดระเบียบข้าราชการตำรวจคำนึงถึง ระบบคุณธรรม มาตรา 6 (4) บัญญัติให้การดำเนินการทางวินัยต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ รวมทั้งการบัญญัติให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และพิจารณาเรื่องร้องเรียน ประกอบกับมาตรา 120 วรรคสี่ ได้เพิ่มหลักการใหม่นอกเหนือจาก มาตรา 131 วรรคหนึ่ง" โดยบัญญัติว่า ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวน มาเป็นข้ออ้างให้กระทบสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการหรือ สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในกรณีนี้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีขึ้นในวันเดียวกันกับวันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อนและการสอบสวนย่อมเป็นการกระทบสิทธิหลายประการของผู้ถูกสอบสวน

กรณีจึงเห็นได้ว่าการสั่งให้ข้าราชการตำรวจรายนี้ออกจากราชการไว้ก่อน หากเป็นการปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นย่อมจะทำให้การพิจารณาเหตุแห่งการกระทบสิทธิของผู้นั้นและความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนชอบด้วยกระบวนการตามกฎหมายและเป็นธรรมกับผู้ถูกสอบสวนและนำความขึ้นกราบบังคมทูลตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นไปได้ด้วยความชอบธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับ รองผบ.ตร.-ผบช. วาระประจำปี 2567

การประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2567 ได้มีมติเห็นชอบบัญชีรายชื่อแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ

'บิ๊กต่าย' สั่งสอบ 'พ.ต.ต.' อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทำอนาจาร

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  (ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีเพจดังเผยแพร่ข้อมูลระบุว่า มีนักเรียนนายร้อยตำรวจ ถูกอาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และสารวัตร (สอบสวน) สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล

เคาะแล้ว! ก.ตร. แต่งตั้ง รองผบ.ตร.-ผบช. 'สยาม บุญสม' ม้ามืดผงาดนครบาล

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 10/2567 โดยวาระสำคัญ คือวาระที่ 4 เรื่องที่ 4 การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปี 2567 ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) เป็นการใช้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เป็นครั้งแรก

มาแล้ว! ศาลปกครอง ร่อนเอกสารชี้แจงปม 'บิ๊กโจ๊ก' ยังไม่มีคำพิพากษาใดๆ

ศาลปกครอง เผยแพร่เอกสารชี้แจง กรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด ในคดีที่พลตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ยื่นฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการไว้ก่อน นั้น

นายกฯ ถึงไทย ‘บิ๊กต่าย’ เข้ารายงานปมร้อน จัดโผแต่งตั้ง รองผบ.ตร- ผบช. 20 พ.ย.นี้

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เข้ารายงานนายกฯถึงการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่10/2567 ในวันที่ 20 พ.ย.นี้ เวลา 14.30 น.

ตำรวจกองปราบ หิ้ว ‘เจ๊พัช’ ตบทรัพย์ดิไอคอน ฝากขังศาลทุจริตฯ พร้อมค้านประกัน

เจ้าหน้าที่ตำรวจได้คุมตัวน.ส.กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ หรือ เจ๊พัช ประธานอำนวยการศูนย์ประสานงานส่งเสริมเครือข่าย-ออนไลน์ ผู้ต้องหาในข้อหา กรรโชกทรัพย์ และการเรียกรับสินบน