24 พ.ค. 2567 – นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฟันธงล่วงหน้า เศรษฐารอดยาก ไม่เกี่ยวกับดีลการเมือง
สถานการณ์การเมืองหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6:3 รับคำร้องของ 40 สว. ไว้พิจารณา และมีมติ 5:4 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงอนาคตทางการเมืองของรัฐบาลเศรษฐากันอย่างกว้างขวาง
ในฐานะผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองคนหนึ่ง ขอวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ ออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.มติของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยให้นายเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่
2.นายทักษิณ ชินวัตร และกลุ่มอนุรักษ์ ยังแนบแน่น หรือพร้อมจะแตกหักทางการเมืองกันแล้วหรือยัง
ประเด็นแรก ผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ถ้าหากดูจากมติการรับคำร้อง และมติการหยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว หากพิจารณาลงในรายละเอียดของผลการลงมติ และคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการเสียงข้างน้อย ในประเด็นให้หยุดปฏิบัติหน้าที่แล้ว เห็นได้ว่าข้อต่อสู้ของนายเศรษฐาเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะประเด็นที่นายเศรษฐาควรรู้ว่า นายพิชิต ชื่นบาน ขาดคุณสมบัติในการเป็นรัฐมนตรี รวมถึงรายละเอียดในหนังสือสอบถามของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และหนังสือตอบข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความชัดเจนว่าจงใจจะสอบถามในบางประเด็น และไม่ต้องการคำตอบในบางประเด็น เพื่อสร้างความชอบธรรมในการทูลเกล้าฯ เสนอชื่อ นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อดูข้อกฎหมายและเจตนาความต้องการของนายเศรษฐาแล้ว เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติให้นายเศรษฐา พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ประเด็นสอง ดีลลับทางการเมือง ระหว่างนายทักษิณกับกลุ่มอนุรักษ์นิยมนั้น ไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องการให้นายเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อล้มดีลทางการเมืองกัน เพราะตอนนี้ทั้งฝ่ายระบอบทักษิณและกลุ่มอนุรักษ์นิยม ไม่พร้อมจะแตกหักกัน ฝ่ายระบอบทักษิณยังไม่มีตัวตายตัวแทนขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายเศรษฐา และไม่ยอมยกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กับพรรคการเมืองอื่น นายทักษิณยังไม่พร้อมแตกหัก หรือเป็นศัตรูกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งเคยได้รับบทเรียนมาแล้วว่า เมื่อเผชิญหน้ากับกลุ่มอนุรักษ์นิยมก็เจ็บตัว และพ่ายแพ้จนไม่มีแผ่นดินอยู่
ส่วนกลุ่มอนุรักษ์นิยมเช่นเดียวกัน แม้อาจจะไม่พอใจในบทบาทของนายทักษิณอยู่บ้าง แต่ก็มีความจำเป็น ต้องใช้บริการนายทักษิณทางการเมืองต่อไป ยังไม่มีตัวแทนของฝ่ายกลุ่มอนุรักษ์นิยม ที่จะพอสู้กับพรรคก้าวไกลได้ จึงยอมจับมือกับระบอบทักษิณต่อไป ดีกว่าปล่อยให้พรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล และยังจำเป็นต้องสามัคคีกันต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งหน้า หรือจนกว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมมีผู้นำทางการเมืองโดดเด่นเป็นที่ยอมรับของประชาชน พอจะสู้กับตัวผู้นำของพรรคก้าวไกลได้
ถ้าเลือกได้ ทั้งฝ่ายระบอบทักษิณและกลุ่มอนุรักษ์นิยม ยังคงสนับสนุนนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป เว้นแต่มีเหตุจำเป็นหรือเกิดอุบัติเหตุจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ต้องพ้นจากตำแหน่งไป ทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องมา ทบทวนดีลการเมืองกันใหม่อีกครั้ง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14
นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย
เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร