22 พ.ค.2567 - ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กในรูปบทความเรื่อง “นายเศรษฐา ทวีสิน ต้องรับผิดชอบกรณีทนายถุงขนม มีจิตสำนึกแค่ไหนที่ทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท” ระบุว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา 182 บัญญัติไว้ว่า บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ
การแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
หลักสำคัญของ Constitutional monarchy คือ The king can do no wrong. เป็นหลักสากลของทุกประเทศทั่วโลกที่ปกครองด้วยระบอบนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 และทุกฉบับในอดีต (ยกเว้นฉบับแรก) ก็ได้บัญญัติหลักการ The king can do no wrong. เอาไว้เช่นกันใน
มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
ดังนั้นผู้รับสนองพระบรมราชโองการต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบความเสียหาย ผิดพลาดใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ในกรณีนี้การแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบานขัดกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในประเด็นคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง แต่เมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยลงมาแล้ว ความผิดหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมอยู่ที่ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
ดังนั้นก็ต้องฟ้องนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้รับผิดชอบความผิดพลาดขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ถึงนายพิชิต ชื่นบานจะลาออกไปจากตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ความผิดสำเร็จแล้ว นายเศรษฐา ทวีสินก็ยังต้องรับผิดชอบในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ผมถึงได้ย้ำนักย้ำหนาว่าสิ่งใดที่จะนำขึ้นไปทูลเกล้าถวาย ต้องบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีตำหนิใดๆ ผู้ที่จะนำขึ้นไปทูลเกล้าถวายให้ลงพระปรมาภิไธยต้องมีจิตสำนึกและคิดใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อน
และต้องพึงระวังไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับองค์พระมหากษัตริย์ ดังเคยเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนนำไปสู่การสละราชสมบัติ
โปรดอ่านบทความ
พระราชอำนาจในการตักเตือนยับยั้งการโปรดเกล้าแต่งตั้งบุคคลและการตรากฎหมาย : จิตสำนึกของผู้ถวายทูลเกล้า
จิตสำนึกของผู้ทูลเกล้าถวายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ให้สมกับที่ได้ทรงไว้วางพระราชหฤทัยลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าแต่งตั้งมาเช่นกัน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี บังอาจนำรายชื่อของนายพิชิต ชื่นบาน ทนายถุงขนมขึ้นไปกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ลงพระปรมาภิไธย เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเป็นอย่างยิ่ง
ก็คงต้องถามว่านายเศรษฐา ทวีสิน มีจิตสำนึกมากแค่ไหน เคยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณบ้างหรือไม่ แล้วจะรับผิดชอบอย่างไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตามสูตร! ฟื้นคณะกรรมการ 6 ชุดแก้ปัญหาสมัชชาคนจน
'ชูศักดิ์' ถก คกก.สมัชชาคนจน ตั้ง 6 กก. สมัยเศรษฐา เร่งวางแนวทางแก้ 4 เรื่องด่วน
'ดร.อานนท์' ยกนิ้วชม 'ลุงป้อม' สมกับเป็นทหาร!
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
'คำนูณ' เตือนอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย! ชี้ไทยไม่รับอำนาจศาลโลกมา 64 ปีแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้