'อัษฎางค์' ตอกย้ำบุ้งไม่ได้ติดคุกและตายเพราะแสดงความเห็นทางการเมือง!

16 พ.ค.2567 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์โพสต์เฟซบุ๊กในรูปภาษาอังกฤาและภาษาไทยในหัวข้อ “บุ้ง เนติพร ไม่ได้ติดคุกและตายเพราะแสดงความเห็นทางการเมือง” ระบุว่า พรรณิการ์ วานิช โพสต์ทวิตเตอร์ว่า “ต้องรอให้มีคนตายก่อนหรือ ถึงจะทำให้สังคมตระหนักว่าคนเห็นต่างไม่สมควรตายหรือติดคุก และสิทธิการประกันตัวเป็นของทุกคน”

อย่างไรก็ตาม ความจริงนั้นแตกต่างออกไป บุ้ง เนติพร ไม่ได้ถูกจำคุกเพราะแสดงออกถึงความขัดแย้งทางการเมือง และเธอได้รับสิทธิในการประกันตัวจากศาลเช่นเดียวกับทุกคน

ย้อนดูไทม์ไลน์ เริ่มต้นบุ้งและพวกร่วมทำกิจกรรมสอบถามประชาชนว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่ ซึ่งศาลตัดสินว่า “เป็นการสื่อความหมายเป็นการโจมตีเรื่องขบวนเสด็จ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนละเมิดกฎหมายแผ่นดิน”

ทั้งที่ขบวนเสด็จเป็นการถวายความปลอดภัยให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกล้วนต้องมีการรักษาความปลอดภัยให้กับขบวนของประมุขหรือบุคคลสำคัญของชาติ”

ซึ่งศาลอนุญาตให้ได้รับประกันตัว ทั้งนี้ศาลได้กำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการห้ามทำกิจกรรมในลักษณะเดียวกับที่ถูกดำเนินคดี อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ห้ามปลุกปั่น ยั่วยุ หรือชักชวนให้มีการเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุม หรือเข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

จากเหตการณ์ต้นเรื่องดังกล่าวทำให้บุ้งถูกจำคุก 2 ครั้ง เนื่องจากหลังจากได้รับการประกันตัวแล้วยังละเมิดเงื่อนไขการปล่อยตัวด้วยการทำผิดซ้ำ

ดังนั้น ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้คือ เธอไม่ได้ติดคุกเพราะแสดงความเห็นต่างทางการเมืองและหลังจากถูกดำเนินคดี เธอได้รับสิทธิการประกันตัวเหมือนทุกคน

กฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้เป็นกฎหมายลิดรอนสิทธิของประชาชนและไม่ใช่กฎหมายที่ห้ามแสดงความเห็นทางการเมือง แต่เป็นกฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐ ซึ่งทุกประเทศในโลก ไม่ว่าจะมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดี ก็มีกฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐเช่นกัน

ถัาคุณเป็นนักการเมือง นักการทูตหรือสื่อมวลชนที่สนับสนุนการกระทำของเนติพรและคนกลุ่มนี้ ย่อมหมายความว่า คุณมีความเห็นว่ากฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐของประเทศของคุณลิดรอนสิทธิของประชาชนและเป็นกฎหมายที่มีไว้ปิดปากผู้ที่ต้องการแสดงความเห็นทางการเมือง และคุณไม่เห็นด้วยที่ประเทศของคุณมีกฎหมายคุ้มครองประมุขแห่งรัฐของประเทศของคุณด้วยใช่หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยกผลงาน Citi Identity ของ 'อภิรักษ์' เทียบ 'ชัชชาติ' ไม่แปลกโดนวิพากษ์ยับเยิน

นายอัษฎางค์ ยมนาค  หรือ  เอ็ดดี้  นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า

'ตะวัน ทะลุวัง' เคลื่อนไหวครั้งแรก หลังศาลให้ประกันตัวคดีป่วนขบวนเสด็จ

น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน ทะลุวัง โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ถึง พี่บุ้ง พี่บุ้งเคยพูดกับหนูว่า “นี่แหละ เราต้องสู้เพื่อทุกคน ไม่ใช่สู้เพื่อแค่นักโทษการเมือง”

'รมว.ยุติธรรม' ก็อยากรู้ จนท.ราชทัณฑ์ทำผิดมาตรฐานการแพทย์หรือไม่ ปมบุ้งทะลุวังเสียชีวิต

กรณีที่นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ดำเนินการขอไฟล์ภาพจากกล้องวงจรปิดของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์