'อัษฎางค์' แฉชัดๆ ใครโหนศพหากินหรือไม่

15 พ.ค.2567 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กกรณี น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง ทะลุวังเสียชีวิต ในหัวข้อ “บุ้ง ตอนที่ 2 “โหนศพหากินหรือไม่?””

ช่อ พรรณิการ์ วานิช โพสต์ทวิตเตอร์ว่า “ต้องรอให้มีคนตายก่อนหรือ ถึงจะทำให้สังคมตระหนักว่าคนเห็นต่างไม่สมควรตายหรือติดคุก และสิทธิการประกันตัวเป็นของทุกคน“ คำพูดดังกล่าวถือว่าเป็นการโหนศพหากินหรือไม่? แต่ความจริงคือ…….“บุ้งไม่ได้ติดคุกเพราะเห็นต่าง…..และบุ้งได้รับสิทธิการประกันตัวเหมือนทุกคน”

ย้อนไทม์ไลน์ให้เห็นกันชัดๆ

เริ่มต้นบุ้งและพวกร่วมทำกิจกรรมสอบถามประชาชนว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือไม่ ซึ่งศาลตัดสินว่า “เป็นการสื่อความหมายเป็นการโจมตีเรื่องขบวนเสด็จ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนละเมิดกฎหมายแผ่นดิน”

“ทั้งที่ขบวนเสด็จเป็นการถวายความปลอดภัยให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกล้วนต้องมีการรักษาความปลอดภัยให้กับขบวนของประมุขหรือบุคคลสำคัญของชาติ”

จากเหตการณ์ต้นเรื่องดังกล่าวทำให้บุ้งถูกจำคุก 2 ครั้ง เนื่องจากหลังจากได้รับการประกันตัวแล้วยังละเมิดเงื่อนไขการปล่อยตัวด้วยการทำผิดซ้ำ

ภายหลังการถูกคุมขังในทัณฑสถานหญิงกรุงเทพฯ ในวันที่ 27 ม.ค.2567 จากนั้นบุ้งประกาศอดอาหารและน้ำประท้วง (Dry Hunger Strike) โดยมี 2 ข้อเรียกร้อง ดังนี้
1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
2. จะต้องไม่มีคนเห็นต่างทางการเมืองถูกคุมขังอีก

จะเห็นได้ว่า ข้อเรียนร้องทั้ง 2 ข้อของบุ้ง สอดคล้องกับข้อความที่พรรณิการ์ วานิช โพสต์ทวิตเตอร์หลังจากการเสียชีวิตของบุ้ง

หากคำว่า ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม หมายถึง เรื่องสิทธิการประกันตัวเป็นของทุกคนและคนเห็นต่างทางการเมืองไม่ควรถูกคุมขัง คือหนึ่งในกระบวนการขับเคลื่อนทางการเมืองของบุ้งกับช่อ พรรณิการ์และพรรคพวก เป็นแนวทางเดียวกัน หรือมีการส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน หรือไม่?

ในขณะที่ข้อเท็จจริงคือ…..“บุ้งไม่ได้ติดคุกเพราะเห็นต่าง…..และบุ้งได้รับสิทธิการประกันตัวเหมือนทุกคน"

บุ้งและพรรคพวกอีกหลายคนที่ถูกดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีในมาตรา 112 ที่กลุ่มคนดังกลับพุ่งเป้าให้เป็นประเด็นทางการเมือง ไม่ได้เป็นแสดงความเห็นต่างทางการเมือง แต่เป็นการจงใจละเมิดกฎหมาย
รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนว่า…...

มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

เมื่อถูกจับกุมดำเนินคดีแล้วศาลยังให้สิทธิประกันตัว โดยมีข้อกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว แต่เมื่อบุ้งและพรรคพวกได้รับการประกันตัวจากการปล่อยตัวชั่วคราว บุ้งและพรรคพวกก็ละเมิดเงื่อนไขที่กำหนดว่า “ห้ามทำกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ในลักษณะเดียวกับที่ถูกฟ้อง ทำให้ถูกถอนประกันหรือไม่ให้ประกันตัว” ด้วยการทำผิดซ้ำ

ดังนั้นคำพูด ช่อ พรรณิการ์ ดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นการโหนศพหากินเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตนและพรรคพวกหรือไม่? ใครจะให้คำตอบนี้กับสังคม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ช่อ พรรณิการ์' สังเกตการณ์เลือก สว. มั่นใจคำตัดสิน ศาลรธน. จะไม่ทำให้การเลือกเป็นโมฆะ

'ช่อ พรรณิการ์' ร่วมสังเกตการณ์ เชื่อคดีรอตัดสิน 18 มิ.ย.นี้ ไม่ทำ ‘เลือก สว.’ เป็นโมฆะ เปรียบพื้นที่กรุงเทพฯ เหมือนสมรภูมิ คนดังลงเยอะการแข่งขันสูง หวั่น มีฮั้ว หลังรอบอำเภอข้อมูลผู้สมัครหลุดกว่า 2 หมื่นชื่อ

ยกผลงาน Citi Identity ของ 'อภิรักษ์' เทียบ 'ชัชชาติ' ไม่แปลกโดนวิพากษ์ยับเยิน

นายอัษฎางค์ ยมนาค  หรือ  เอ็ดดี้  นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า

ราชทัณฑ์เฉลย 'พี่สาวบุ้ง' เป็นคนบอกให้ไป รพ.ธรรมศาสตร์

'กมลศักดิ์' เผย 'รพ.ราชทัณฑ์' ยอมให้ภาพวงจรปิดการเสียชีวิตของ 'บุ้ง' แต่แม่ต้องมอบอำนาจให้ทนายความ พร้อมมอบรายงานขั้นตอนการเสียชีวิตอย่างละเอียดให้กมธ.กฎหมายฯ พรุ่งนี้