'อัษฎางค์' เปิดต้นตอใครชักนำหรือจูงใจ 'บุ้ง' สู่เส้นทางนี้

15 พ.ค.2567 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กกรณี น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง ทะลุวังเสียชีวิตเมื่อช่วงเย็นวันที่ 14 พ.ค.ในหัวข้อ “บุ้ง ตอนที่ 1 ปฐมบทก่อนไปถึงจุดสิ้นสุด ”ใครชักนำหรืออะไรจูงใจให้บุ้งเข้าสู่วงการ“

โลกในทวิตเตอร์ คือจุดเปลี่ยนของชีวิตของบุ้ง

BBC THAI เคยรายงานข่าว จากปากคำของโบ พี่สาวของบุ้งว่า…

บุ้งเคยเป็นคนที่คอยบอกเพื่อน ๆ นักเรียนอยู่เสมอในฐานะคณะกรรมการนักเรียนว่า ต้องดูแลทรงผมให้เรียบร้อย เสื้อผ้าต้องทำให้ถูกระเบียบ แต่เขาเริ่มเอะใจว่า ทำไมมีเพื่อนที่เห็นต่าง มีเพื่อนที่คัดค้านเรื่องทรงผม จึงทำให้ได้ฉุกคิดว่า ตัวกฎระเบียบก็ไม่ได้แฟร์ (ยุติธรรม) สำหรับกลุ่มคนหลายกลุ่ม หากฝ่าฝืนถึงขั้นคาดโทษกัน รวมทั้งกลุ่ม LGBTQ ที่พวกเขาต้องการแต่งตัวอีกแบบ

ในระหว่างสัมภาษณ์ โบได้หยิบภาพเก่า ๆ ที่เตรียมมาด้วย และมีท่าทีภูมิใจเมื่อพูดถึงเรื่องการเรียนของน้องสาวคนนี้ว่า "เรียนก็เก่ง กิจกรรมก็ไม่แพ้ใคร" พร้อมกับบอกว่า สิ่งหนึ่งที่พ่อกับแม่เห็นตรงกันเกี่ยวกับบุ้งคือ การเลี้ยงดูให้น้องเป็นคนมีความมั่นใจและกล้าแสดงออก

จากคำถามที่ผุดขึ้นในความคิดต่อระเบียบควบคุมนักเรียนระหว่างที่บุ้งเป็นคณะกรรมการนักเรียนยังคงทำงานของมันต่อผลที่ตามมาคือการตัดสินใจเข้าร่วมการเคลื่อนไหวของกลุ่ม "นักเรียนเลว"

ที่กลายเป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเรียนที่ต้องการส่งเสียงเพื่อสิทธิตัวเอง (speak for yourself) ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการไว้ทรงผมนักเรียน ซึ่งประสบผลสำเร็จจนทำให้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในระหว่างปี 2563 มีระเบียบว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนไว้ผมยาวได้ตามความเหมาะสม

บุ้งสอบเข้าโรงเรียนเตรียมน้อมฯ ได้เอง และผลการเรียนก็อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 3.8, 3.9 และ 4.0 สลับกันไป กิจกรรมในโรงเรียนก็ไม่ขาด

โบยอมรับว่า ครอบครัวของเธอเคยเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กปปส. เมื่อปี 2557 ที่กลายเป็นชนวนเหตุให้เกิดรัฐประหารขึ้น ซึ่งในขณะนั้นบุ้งยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
หลังจากนั้นเมื่อบุ้งได้เข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้เปิดโลกกว้างมากขึ้นจากข้อมูลชุดใหม่ผ่านสังคมออนไลน์อย่าง “ทวิตเตอร์” ซึ่งมีการถกเถียงประเด็นสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย
จากทวิตเตอร์ ตามมาด้วยช่อ พรรณิการ์-ทนายอานนท์

The Thaiger รายงานว่า…เส้นทางชีวิตของบุ้งเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและการค้นพบตัวเอง ในวัยเยาว์ เธอเคยหลงใหลในอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม เคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. แต่แล้ววันหนึ่ง ประกายไฟแห่งความจริงก็ได้จุดประกายความคิดของเธอให้เปลี่ยนไป

“ช่อ พรรณิการ์ วานิช คือผู้จุดประกายนั้น”
เธอเปิดเผยรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี 2553 ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคนไร้บ้านที่ถูกสไนเปอร์ยิง ความจริงอันโหดร้ายนี้ ทำให้เธอตระหนักถึงความผิดพลาดในอดีต และความรู้สึกผิดต่อผู้ที่สูญเสียก็หลั่งไหลเข้ามา

จุดกำเนิด “โพลทะลุวัง”: เมื่อคำถามกลายเป็นอาวุธ
ความคิดที่จะใช้ “คำถาม” เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเริ่มก่อตัวขึ้นในใจบุ้ง หลังจากได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปกับ ”ทนายอานนท์ นำภา“ ผู้ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการตั้งคำถามสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายอาญามาตรา 112

ใครกัน อำมหิตหลอกใช้เยาวชนและประชาชนเป็นเครื่องมือทางการเมือง

จากนักเรียนดีสู่การเป็นสมาชิกกลุ่มนักเรียนเลว ต่อเนื่องไปสู่กลุ่มทะลุวัง เกิดจากการที่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนหลงผิดจากการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือน ปลุกปั่นจนกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองจากผู้ไม่หวังดีต่อประชาชน สถาบันพระมหากษัตริย์และประเทศชาติหรือไม่

หากจะหาผู้มีส่วนต่อการจากไปของบุ้งหรือคนอื่นๆ ที่ถูกดำเนินคดีในเรื่องที่มีลักษณะเดียวกันนี้ ก็คงต้องถือว่าเป็นความรับผิดชอบของคนไทยทั้งชาติ ที่ต้องร่วมมือกันป้องกันและกำจัดผู้ไม่หวังดี ที่ใช้ยุทธวิธีทางการเมือง ด้วยการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารมาปลุกปั่นเยาวชนและประชาชนให้กระด้างกระเดื่องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และระบอบการปกครองของไทย

อย่างไรก็ตาม เราในฐานะประชาชนคนไทยทุกคนมีส่วนในการป้องกันหรือกำจัดคนที่อำมหิตเหล่านั้น ก่อนจะเกิดการสูญเสียมากไปกว่านี้

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะอย่างไรผมในฐานะคนไทยก็รู้สึกเสียใจและไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้กับบุ้งและคนอื่นๆ
ดังนั้นเราคนไทยทุกคนต้องช่วยกันป้องกันและกำจัดขบวนการเหล่านี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยกผลงาน Citi Identity ของ 'อภิรักษ์' เทียบ 'ชัชชาติ' ไม่แปลกโดนวิพากษ์ยับเยิน

นายอัษฎางค์ ยมนาค  หรือ  เอ็ดดี้  นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า

'ตะวัน ทะลุวัง' เคลื่อนไหวครั้งแรก หลังศาลให้ประกันตัวคดีป่วนขบวนเสด็จ

น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน ทะลุวัง โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ถึง พี่บุ้ง พี่บุ้งเคยพูดกับหนูว่า “นี่แหละ เราต้องสู้เพื่อทุกคน ไม่ใช่สู้เพื่อแค่นักโทษการเมือง”