อดีตรองอธิการบดี มธ. จี้ทบทวนยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์ เสียดายเงินแผ่นดิน

13 พ.ค.2567-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ระบุว่า ช่วงนี้ ข่าวที่ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุดก็คือการกินข้าวอายุ 10 ปี ล้าง15 น้ำโชว์ ของท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าใช้เงินหลวงไปกับการกินข้าวโชว์ทั้งหมดเท่าใด และจะยังดึงดันเปิดประมูลขายท่ามกลางคำท้วงติงของคนจำนวนมาก เช่นเดียวกับ digital wallet หรือไม่ก็ไม่ทราบ

ในขณะเดียวกัน ข่าวคราวการเคลื่อนไหวของโครงการ soft power ที่มีคุณแพทองธาร ชินวัตรเป็นแม่งาน ก็ดูจะเงียบไปตั้งแต่หลังสงกรานต์เป็นต้นมา  เพื่อทบทวนความจำ จะขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการขับเคลื่อนสิ่งที่รัฐบาลเรียกว่า “ยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์” มานำเสนอเพื่อทราบอีกครั้ง

รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการชึ้นชุดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่อำนวยการโครงการซอฟท์พาวเวอร์ ชื่อ“ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติ” และมีคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการโครงการอีก14 ชุด 14 ด้านได้แก่ ด้านหนังสือ ด้านเฟสติวัล ด้านอาหาร ด้านการท่องเที่ยว ด้านดนตรี ด้านเกม ด้านกีฬา ด้านศิลปะ ด้านการออกแบบ ด้านภาพยนต์ ละคร ซีรีส์ ด้านแฟชั่น

นอกจากนี้ยังได้กำหนด soft power ของไทยแบ่งเป็น 5 มิติ หรือ 5 F คือ อาหาร(food) ภาพยนต์และวีดิทัศน์(film) การออกแบบแฟชั่น(fashion) ศิลปการป้องกันตัว(fight) และเทศกาลประเพณี(festival) ในการดำเนินโครงการ คณะกรรมการฯได้รับการจัดสรรงบประมาณ 5,200 ล้านบาท หลังจากประชุมกันไปได้ไม่นาน คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนด้านแฟชั่นพากันลาออกยกชุด และก็ได้มีการแต่งตั้งชุดใหม่แล้ว

อย่างไรก็ดี มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า คณะกรรมการชุดนี้ ไล่ตั้งแต่ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติลงมา มีความเข้าใจเรื่อง soft power มากน้อยเพียงใด เพราะดูจากการขับเคลื่อนที่ผ่านมา บอกได้ว่า ค่อนข้างจะเปะปะ หลงทางกันไปหมด  

การสร้าง soft power ให้ได้ผล ต้องทำด้วยความแนบเนียน โดยกลุ่มเป้าหมายไม่รู้ตัว แต่บ้านเราดูเหมือนจะผิดตั้งแต่แรก คือการตั้งกรรมการที่มีชื่อว่า ” คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติ ” เพราะเป็นการบอกชาวโลกให้รู้ตัวตั้งแต่แรกว่า ฉันกำลังจะใช้ soft power ครอบงำพวกคุณแล้ว ระวังตัวไว้ให้ดีนะแล้วใครจะไปยอมให้ถูกครอบงำง่ายๆกันเล่า

มาดูคำกล่าวของนาย Elmer Davis ซึ่งมีตำแหน่งเป็น Director, Office of War Information ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนจะมีคำว่า soft power เกิดขึ้นร่วม 80 ปี นาย Davis กล่าวว่า “The easiest way to inject a propaganda idea into most people’s minds is to let it go through the medium of an entertainment picture when they do not realize that they are being propagandized.”

” วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะใส่ความคิดที่เป็นการโฆษนาชวนเชื่อเข้าไปในใจคนส่วนใหญ่ คือการส่งความคิดเล่านั้นผ่านสื่อภาพยนตร์บันเทิง ในขณะที่คนเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกโฆษนาชวนเชื่อ”

ข้อความนี้เป็นความจริงที่สุดตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้และจะเป็นจริงตลอดกาล  สหรัฐอเมริกาสร้างซอฟท์พาวเวอร์ผ่านภาพยนตร์ Hollywood มาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพียงแต่ขณะนั้นยังไม่มีใครบัญญัติคำว่า soft power ขึ้นเท่านั้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดในปีค.ศ.1955 James Dean ดารายอดนิยมชาวอเมริกัน แต่งตัวแบบง่ายๆ สวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืดคอกลมสีขาว ด้านนอกสวมเสื้อหนัง ใส่รองเท้าบูธสีดำ ในภาพยนต์เรื่อง ” Rebel without a cause ” ความเท่และความมีเสน่ห์ของ James Dean ทำให้ชาวโลกคลั่งไคล้ แต่งตัวตาม James Dean กันเป็นทิวแถว โดยเฉพาะกางเกงยีนส์ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งขณะนั้นประเทศต่างๆต้องนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ทำให้กางเกงยีนส์ยี่ห้อ Levi’s รุ่น 501 ซึ่ง James Deanใส่ในภาพยนต์เรื่องดังกล่าวขายดีเป็นเทน้ำเท่า

สหรัฐอเมริกาได้ใช้ภาพยนต์ Hollywood รวมทั้งสำนักข่าวต่างๆ ครอบงำความคิดและจิตใจชาวโลกมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน สังเกตดูว่า เหตุใดประเทศรัสเซียจึงต้องเป็นผู้ร้ายหรือฝ่ายอธรรมในภาพยนตร์อเมริกันทุกเรื่อง ทำไม ชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา เป็นฝ่ายธรรมะเสมอ ทั้งที่จากข้อเท็จจริงล้วนพอกัน หรือบางครั้งกลับกันด้วยซ้ำ

Muammar  Gaddafi ซึ่งเป็นที่รักของชาวเยเมน และ Saddam Hussein อดีตผู้นำอิรัก ทั้งสองถูกวาดภาพให้เป็นผู้ร้าย ที่มีความเลวร้ายกว่าที่เป็นจริง จนในที่สุดต้องถูกฆ่าตายไปอย่างอนาถ

ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศเกาหลีใต้ เรียนรู้ที่จะใช้ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือสร้าง soft power เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา และทำได้เป็นผลสำเร็จ เราคงยังจำภาพยนต์ซีรีส์เรื่อง “แดจังกึม” กันได้ ภาพนยตร์เรื่องนี้ได้นำวัฒนธรรมของเกาหลีมาส่งต่อให้ชาวโลกซึมซับอย่างได้ผล และต่อจากนั้นภาพยนต์เกาหลีก็ออกมาสู่สายตาชาวโลกอย่างทะลักทะลาย ปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนต์เกาหลีกำลังหายใจรดต้นคอ Hollywood และอาจแซงหน้าได้ทุกเมื่อ ต่อจากภาพยนต์ ก็มาเป็นดนตรี วงดนตรีแบบ K-Pop ได้รับความนิยมไปทั่วโลก นั่นหมายความว่าเกาหลีได้สร้าง soft power โดยใช้วัฒนธรรมของตัวเองครอบงำชาวโลกรวมทั้งไทย ไปได้สำเร็จเรียบร้อย

เกาหลีไม่ได้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติแต่อย่างใด รัฐบาลเกาหลีให้วิธีให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนต์ของประเทศตัวเองอย่างจริงจัง ในระยะแรกใครก็ตามมีเรื่องที่ดีมีบทภาพยนต์ที่ดี รัฐบาลแทบจะออกทุนการสร้างให้ทั้งหมด นั่นคือสาเหตุที่ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนต์ของเกาหลีจึงโตวันโตคืน นำหน้าอุตสาหกรรมภาพยนต์ของไทยไปแทบไม่เห็นฝุ่นไปแล้ว

จากตัวอย่างที่ยกมา จะเห็นว่า ภาพยนตร์ไม่ใช่ soft power โดยตัวของมันเอง แต่ภาพยนต์เป็นเครื่องมือหรือสื่อกลางที่สำคัญมากในการสร้าง soft power ดังนั้นรัฐบาลไม่ต้องไปตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติให้เป็นการเอิกเริก ใช้วิธีง่ายๆคือ ใช้ภาพยนตร์เป็นศูนย์กลาง โดยอาจสร้างภาพยนต์คุณภาพขึ้นเอง โดยสรรหากลุ่มคนที่ดีที่สุดในวงการภาพยนตร์ไทย ลงทุนให้ผลิตภาพยนตร์คุณภาพ ใช้นักมวยไทยชั้นนำ เช่น ตะวันฉาย พีเคมวยไทย แสนชัยยิม แสดงเป็นตัวดารานำ และโชว์ศิลปะมวยไทยอย่างเต็มที่ และนำนักมวยไทยชั้นนำคนอื่นๆเช่น แสนชัย บัวขาว สามารถร่วมแสดง โดยสร้างเรื่องให้ชาวโลกได้เห็นส่วนที่ดีๆของประเทศไทย ทั้งสถานที่ ธรรมชาติ วัฒนธรรมและสินค้าไทย ต้องการจะโปรโมทอะไร ทั้งแฟชั่น อาหาร และอื่นๆ ก็ใส่ลงไปในภาพยนตร์เรื่องนี้

การสร้างภาพยนตร์เองเป็นเพียงโครงการนำร่อง หลังจากนั้นจึงให้ทุนให้แก่ผู้ที่มีความสามารถแต่ขาดเงินทุน ไม่ต้องไปหานายทุนที่ไหน รัฐบาลจะเป็นนายทุนให้เอง

เพียงเท่านี้ ใช้เงินไม่กี่ร้อยล้าน ยังไงก็ไม่ถึง 5 พันล้าน  ทั้งยังแนบเนียน ไม่โฉ่งฉ่าง ไม่กระโตกกระตากอย่างที่คิดจะทำกันมาทั้งหมด เมื่อเร่ิมต้นได้ดีแล้ว สิ่งอื่นๆก็จะตามมาเอง อย่าเพิ่งถลุงเงิน 5 พันล้านเลยครับ เพราะถ้าทำกันอย่างที่คิดกัน จะเป็นการใช้เงินที่สูญเปล่า ไม่ได้อะไรขึ้นมา

นอกจากผลงานที่เกิดขึ้นแล้วก็จางหายไป เหมือนที่มีข่าวว่าจะจัดการแข่งขันสร้างสถติ Guinness World Record 5 หัวข้อ ได้แก่ แข่งกันต่อยลูกโป่ง ใส่กางเกงช้าง กินปาท่องโก๋ ใส่หน้ากากผีตาโขน และกินป๊อบคอร์น ซึ่งเห็นว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะจัดเพื่อสร้าง soft power ตามโจทย์ 5 F ในวันที่ 21-27 กพ 67 ผ่านมา แต่ข่าวคราวหายเงียบไป จนไม่แน่ใจว่าได้จัดไปแล้วหรือไม่ ถ้าได้จัดจริงก็ถือว่าสูญเปล่าไปแล้ว เพราะไม่ได้ผลอะไรเลย

หยุดเถิดครับ กลับมาทบทวนกันใหม่ดีกว่า เพราะน่าเสียดายเงินของแผ่นดินจริงๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เฉลิมพระเกียรติ ‘ในหลวง‘ ทส.-มท. ลุยแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ภัยแล้ง

‘เกณิกา’ เผย ‘ทส.-มท.’ จับมือเดินหน้าสานต่อ โครงการแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 72 แห่งเฉลิมพระเกียรติ ในหลวง ครบ 6 รอบ 72 พรรษา

รัฐบาลชวนปชช. จอง-แลกเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เริ่ม 24 ก.ค.

รัฐบาลเชิญชวนประชาชน จอง-แลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ 'ในหลวง' เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ตั้งแต่ 24 ก.ค.นี้

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

เปิดศึกชิงเก้าอี้ ประมุขสภาสูง เสร็จสว.นํ้าเงิน

ฝุ่นตลบ! ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ล็อบบี้กันเดือด "เทวฤทธิ์” ชี้ควรเป็นคนเปิดกว้าง ให้พื้นที่เสียงส่วนน้อย ยันกลุ่มพันธุ์ใหม่ส่งชิงแน่ พร้อมเล็งเก้าอี้ประธาน