'พัชรวาท' สั่ง ทช. และ อส. ตั้งวอร์รูมแก้ไขปัญหาพะยูนฝั่งอันดามันเสียชีวิต

“พัชรวาท” สั่ง ทช. และอส. ตั้งวอร์รูมแก้ไขปัญหาพะยูนฝั่งอันดามันเสียชีวิต ย้ำขอความร่วมมือทุกภาคส่วนและประชาชนป้องกันอย่างเข้มข้น

12 พ.ค. 2567 – พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยว่า พะยูนเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 6 ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยพะยูนพบเห็นได้มากที่จังหวัดตรัง บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ จังหวัดกระบี่ เกาะปู เกาะจำ เกาะศรีบอยา เกาะลันตา และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเล จากอดีตที่ผ่านมาพบว่า พะยูนได้เสียชีวิตทั้งจากการเจ็บป่วยตามธรรมชาติ จากการต่อสู้กันเองระหว่างพะยูนด้วยกัน การติดเครื่องมือประมงโดยบังเอิญ หรือถูกเรือชนหรือถูกใบจักรเรือฟัน และสถานการณ์ในปัจจุบันสืบเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ทำให้แหล่งหญ้าทะเลเกิดการเสื่อมโทรมและสูญหายเป็นจำนวนมาก พะยูนบางส่วนที่อาศัยอยู่บริเวณจังหวัดตรัง และจังหวัดกระบี่ มีการเคลื่อนย้ายถิ่นไปหากินแหล่งหญ้าทะเลตามแนวชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียง จำนวนพะยูนที่เพิ่มมากขึ้นจากการอพยพย้ายถิ่น ยังไม่มีการปรับตัวที่ดีพอ ประกอบกับปริมาณการสัญจรทางน้ำและกิจกรรมประมงที่มีมากในพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณอ่าวพังงา ส่งผลให้พะยูนมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางน้ำ และอุปกรณ์ทางการประมงมากขึ้น ตนในฐานะผู้นำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ห่วงใยในทรัพยากรของพะยูน จึงมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (ทส.) กำหนดแนวทางสำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุของพะยูน ในพื้นที่การแพร่กระจายของพะยูนและแหล่งหญ้าทะเล บริเวณอ่าวพังงา จำนวน 11 พื้นที่ ได้แก่ 1.อ่าวตังเข็น ภูเก็ต 2.อ่าวป่าคลอก ภูเก็ต 3.อ่าวบ้านคลองเคียน พังงา 4.เกาะหมาก พังงา 5.ช่องหลาด เกาะยาว พังงา 6.อ่าวท่าปอม กระบี่ 7.อ่าวนาง กระบี่ 8.อ่าวน้ำเมา กระบี่ 9.เกาะศรีบอยา เกาะปู กระบี่ 10.เกาะลันตา กระบี่ และ 11.แหลมไทร กระบี่ โดยมีมาตรการดังนี้

หากมีการพบเห็นพะยูนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้โทรแจ้งสายด่วนหมายเลข 1362 เพื่อ ทช. และอส. จะประสานเจ้าหน้าที่ในบริเวณใกล้เคียงเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนำส่งศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก ของทช. ที่มีอยู่ในพื้นที่ 2. ประกาศให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและประชาชนที่ใช้ยานพาหนะในการสัญจรทางน้ำ เดินเรือตามแนวร่องน้ำหลัก โดยขอความร่วมมือให้งดการเดินเรือในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล และหากจำเป็นต้องเดินเรือผ่านแนวเขตหญ้าทะเล โดยให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 3 น๊อต และไม่เกิน 20 น๊อต ในพื้นที่ชายฝั่งที่เป็นเขตการแพร่กระจายพะยูน และ 3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงในพื้นที่หญ้าทะเลและแหล่งแพร่กระจายของพะยูน หมั่นตรวจเช็ค ดูแลเฝ้าระวังเครื่องมือประมงขณะทำการอย่างต่อเนื่อง หรือหลีกเลี่ยงการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าว และในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้นำคณะลงพื้นที่เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาพะยูน ร่วมกับเครือข่ายชุมชนชายฝั่งและชาวประมงในพื้นที่บ้านเกาะกลาง หมู่ 1 ตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เพื่อเร่งกำหนดแนวทางและหาทางออกให้กับพะยูนไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทย

สำหรับการอนุรักษ์พะยูนนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ การสร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง อันเป็นกำลังสำคัญของการทำงานในพื้นที่ อีกทั้งยังเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์อย่างเต็มใจ เพราะพวกเขาเหล่านี้ต่างรักและหวงแหนในทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ทช. และอส จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ ทำความเข้าใจ และเพิ่มเติมความรู้ในด้านต่างๆ อาทิ เช่น งดการใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตพะยูนในแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน หรือในแหล่งหญ้าทะเล ปฏิบัติตามกฎหมาย และไม่ทำการประมงในพื้นที่ที่มีพะยูนอาศัยอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะได้ร่วมกันนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยการบินสำรวจจำนวนประชากรของฝูงพะยูน เพื่อตรวจสอบจำนวนและวางแผนอนุรักษ์พะยูน รวมถึงการลาดตระเวนเฝ้าระวังไม่ให้มีเรือเข้าไปรบกวนหรือทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อฝูงพะยูน อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะดำเนินมาตรการตามกฎหมายและระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และคุ้มครองพะยูน หากพบว่ากิจกรรมจากการท่องเที่ยวและนำเที่ยว หรือการประมง เป็นสาเหตุการตายของพะยูน จะบังคับใช้มาตรการปิดการท่องเที่ยวและกันพื้นที่เข้าออกในเขตอุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์สัตว์ป่า และพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ทั้งนี้ ได้สั่งการให้หน่วยในสังกัดประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ และประชาชนที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งได้รับทราบถึงแนวทางการป้องกันและช่วยเหลือพะยูนต่อไปเรียบร้อยแล้ว “พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวเน้นย้ำ”…

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พบพะยูนตายกลางทะเล มีร่องรอยโดนทำร้าย ถอดเขี้ยวออก

เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ตรัง)  และชาวบ้านช่วยกันนำซากพะยูนขึ้นฝั่ง ที่บริเวณ

พะยูนยังเหลืออยู่ที่ไหน? อีกเท่าไหร่ในปัจจุบัน

ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พะยูนเมืองไทย  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขอความร่วมมือช่วยกันส่งจุดที่พบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาในฝั่งอันดามัน   

'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม

ชาวเกาะยาวใหญ่ รวมพลังช่วยชีวิต 'พะยูนโตเต็มวัย' เกยตื้นช่วงน้ำทะเลลงต่ำสุดได้สำเร็จ

นายอนุพงษ์ อาษณาราษฎร์ รองนายกเทศมนตรีตำบลเกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา แจ้งกับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อช่วงเย็นวานนี้(3 ต.ค.67) ชาวบ้านในพื้นที่บ้านหินกอง ม.4 ต.เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา ได้พบเห็นพะยูนตัวใหญ่เกยตื้นติดน้ำแห้ง

ปุ้มปุ้ย ผนึกกำลัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และบิ๊กซี นำร่องโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้าน”

บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) โดยนางปวิตา โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารความยั่งยืน และสื่อสารองค์กร