'สมชัย' บอกหากไม่ถึงยุคข้าวหมดโลกหรือติดเกาะไม่ควรกินข้าว 10 ปี

09 พ.ค.2567 - นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊กถึงเรื่องข้าวเก่าค้างโกดัง 10 ปีว่า ทานไม่ได้ครับ ครม.ก็ทานไม่ได้ สมาชิกรัฐสภาก็ทานไม่ได้ ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ก็ทานไม่ได้ เห็น ดม และ ชิม ข้าวข้ามทศวรรษแล้ว ยืนยันว่าทานไม่ได้ครับ

1.สภาพข้าวสารเหลืองมาก มีฝุ่นผงจากการกัดกินของมอด มีตัวมอดปะปน ปลายเมล็ดบางเมล็ดมีสีเหลืองเข้มและสีน้ำตาล ซึ่งนักวิชาการระบุว่าคือเชื้อรา อะฟลาท็อกซิน

2.น้ำที่ได้จากการซาวรอบแรก สีขุ่นเหลือง มีมอดลอย กลิ่นสาบรุนแรง

3.ข้าวที่ชิม มาจากการซาว 6 รอบ ลักษณะเปื่อยยุ่ย ขาดความเหนียว ไม่หอม ยังมีกลิ่นสาบอยู่ ไม่เหมาะเป็นข้าวที่ทานในชีวิตประจำวัน

4.ทราบจากผู้สื่อข่าวว่า ชุดที่หุงให้ รมต. และผู้สื่อข่าวชิมนั้นผ่านการซาว 15 รอบ โดยมีการผสมน้ำส้มสายชูในน้ำเพื่อดับกลิ่น และทำให้ข้าวดูขาวขึ้น

5.สรุป คือ ไม่แนะนำให้ ครม. ทาน ไม่แนะนำให้ สส. และ สว. ทาน และไม่แนะนำให้ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ทานด้วย ยกเว้นไม่เชื่อก็ลองดู

6.ถามว่า ประชาชนทานได้ไหม คำตอบคือ หากไม่มีทางเลือก ไม่ติดเกาะ ไม่เกิดสถานการณ์ข้าวหมดโลกไม่มีให้ทาน ก็ทานได้ แต่หากยังมีทางเลือก ก็อย่าเลือกเลย ไม่อร่อย และยังอาจเป็นอันตรายด้วย

7.อยากเห็น กระทรวงอื่น เช่น กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุดมศึกษา อาสาตัวเองออกมาทดสอบคุณภาพข้าว และให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา อย่ามัวแต่เกรงใจกันเอง

มืออาชีพมีไหมประเทศนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เชื่อแล้ว 'ทักษิณ' ป่วยจริง ปราศรัยจะส่งกำลังไปจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในเมียนมา-กัมพูชา

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ตอนหนึ่ง ว่า

วิเคราะห์การปราศรัยของ 'ทักษิณ' ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจมีเรื่องอึดอัดใจมากเป็นพิเศษ

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.เชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย ว่า

สมชัย แนะ 5 ทางออก อย่ากลัวหาก ‘สว.’ จะแก้ กม.ประชามติ จากร่างเดิม ‘สส.’

ประเด็นที่หวาดหวั่นกันคือ การแก้กลับไปใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น (double majority) สำหรับการทำประชามติเรื่องสำคัญ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ว่า ชั้นที่ 1 ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง และชั้นที่สอง มติที่ชนะก็ต้องเกินครึ่งของผู้มาใช้สิทธิ