'พีระพันธุ์' เผยเร่งเขียนกฎหมาย ดึงอำนาจกำหนดภาษีน้ำมันดีเซลกลับมาอยู่ ก.พลังงาน เหมือนเดิม

"พีระพันธุ์" เร่งเขียนกฎหมายปรับโครงสร้างราคาน้ำมันใหม่ เล็งดึงอำนาจกำหนดภาษีสรรพสามิตน้ำมันกลับมาอยู่กับก.พลังงาน ชี้เป็นเครื่องมือช่วยลดการขาดทุนของกองทุนพลังงานฯ บอกเดิมมีทั้งเครื่องมือ เงินในกองทุนน้ำมันและภาษีฯ คาดใช้เวลาทำกฎหมายไม่นาน ไม่ทราบกฤษฎีกาทักท้วงการอุดหนุนราคาพลังงาน

8 พ.ค.2567 - เมื่อเวลา 13.50 น. ที่ทำเนียบฯ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯและรมว.พลังงาน กล่าวถึงกรณีสมาคมขนส่งมีข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่องการปรับเพดานการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไปที่ 33 บาทต่อลิตรอาจกระทบกับภาคการขนส่งนั้น ว่า เราพยายามที่จะดูแลราคาน้ำมันดีเซลมาให้ตลอด ตนเองก็ได้รับข้อร้องเรียนว่าทำไมเวลาราคาน้ำมันในตลาดโลกลดราคาแล้ว ถึงไม่มีการลดราคาให้กับประชาชน

นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานพยายามที่จะตรึงราคาอยู่ที่ 30 บาทต่อลิตร แต่ในขณะนี้เรายังตรึงไม่ได้ ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา เราใช้วิธีการตรึงราคาด้วยเงิน ก็ขึ้นอยู่กับเงินในกระเป๋า เงินมากเราก็ตรึงราคาได้มาก แต่ถ้าเงินน้อย เราก็ตรึงได้น้อย ถ้าเราเก็บเงินได้มากเดี๋ยวเราก็ตรึงได้อีก แต่ว่าระบบนี้เราไม่เห็นด้วย ซึ่งก็ต้องปรับระบบใหม่

"ผมกำลังเขียนกฎหมายอยู่ และจะแล้วเสร็จเร็วๆนี้ โดยคาดว่าใช้เวลาไม่นาน ตอนนี้เขียนไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว"

เมื่อถามว่ากองทุนน้ำมันยังใช้ในการดูแลราคาน้ำมันได้อีกนานแค่ไหน นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า เดิมการดูแลราคาน้ำมันตั้งแต่ปี 2516 ที่มีการตั้งกองทุนน้ำมันแต่ยังไม่ได้มีกฎหมายรองรับ เพิ่งมามีกฎหมายรองรับเมื่อปี 2562 โดยก่อนปี 2562 นั้นคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินงานตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 ในคำสั่งนี้ให้อำนาจกองทุนน้ำมันมีอำนาจในการดูแลหรือตรึงราคาน้ำมันได้ 2 วิธี หรือ 2 ขา คือการใช้เงินในกองทุนน้ำมันฯ และ อีกส่วนหนึ่งคือการให้อำนาจในการกำหนดเพดานภาษี

ทั้งนี้กองทุนน้ำมันฯในอดีตไม่มีอำนาจในการเก็บภาษีแต่มีอำนาจในการกำหนดเพดานภาษีของน้ำมันแต่ละชนิด ดังนั้นเราสามารถใช้เครื่องมือทั้งสองส่วนนี้ในการดูแลราคาน้ำมันให้ประชาชนได้ ซึ่งเราสามารถใช้ทั้งเงินในกองทุนน้ำมัน และเพดานภาษีมาดูแลราคาน้ำมัน ซึ่งก็คือเรามีอำนาจในการกำหนดเพดานภาษีน้ำมันแต่ละประเภท แต่คนเก็บภาษีนั้นคือกระทรวงการคลัง แต่พอออกกฎหมายในปี 2562 แล้วไปตัดอำนาจในการกำหนดภาษีของกองทุนน้ำมันฯออก เหลือแต่การใช้เงินอย่างเดียว ทำให้กองทุนน้ำมันฯนั้นติดลบ เป็นหนี้จำนวนมากตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา

“การกำหนดภาษีน้ำมันฯซึ่งเคยเป็นอำนาจของกองทุนน้ำมันฯนั้นไม่มีแล้วตั้งแต่ปี 2562 ครั้งนี้เราก็ไปขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาลดเพดานภาษีน้ำมันสรรพสามิตดีเซล แต่เขาไม่เห็นด้วย แต่เดิมนั้นกระทรวงพลังงานนั้นสามารถกำหนดผ่านกองทุนฯได้ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ควรมมีการแก้ไขต่อไปเช่นกัน ซึ่งควรจะกลับมาเป็นแบบเดิม เนื่องจากสินค้าตัวนี้กระทรวงพลังงานเป็นคนดู อำนาจส่วนนี้จึงควรอยู่กับกระทรวงพลังงาน แต่เมื่อกำหนดแล้วก็เป็นหน้าที่ที่กระทรวงการคลังไปเก็บภาษีในส่วนนี้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547”

เมื่อถามถึงเรื่องการคัดค้านการอุดหนุนราคาพลังงานของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องดังกล่าว

“ผมนั่งอยู่ในที่ประชุม ครม.เรื่องนี้ไม่มีนะ การช่วยเหลือประชาชนมันไม่ดีตรงไหน ส่วนข้อกังวลจากหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องผมไม่เห็น”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอกนัฏ' ลั่นพร้อม 'พัง' การโกงกินทุกรูปแบบ ขอบคุณสื่อตั้งฉายาให้

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) เปิดเผยเพียงสั้นๆ ภายหลังสื่อทำเนียบรัฐบาลให้ฉายาตนเองว่า “รวม(เพื่อ)ไทยอ้างชาติ” ว่า ขอบคุณสื่อมวลชนที่คิดถึง

'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม

โบว์แดง 'รทสช.' ผสานกำลัง 2 กระทรวงปลดล็อก 'โซลาร์รูฟท็อป'

ไทยเดินหน้าพลังงานสะอาด “หิมาลัย” เผย “พีระพันธุ์-เอกนัฏ” ผสานกำลังปลดล็อก “โซลาร์รูฟท็อป” สำเร็จ เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงพรรค

ควักใบแดงถีบพ้นรัฐบาล ในโฟกัส"พีระพันธุ์-รทสช." ทักษิณจ้องยึด"ก.พลังงาน"

แวดวงการเมืองต่างเทน้ำหนักไปทางเดียวกัน โดยมองว่าน่าจะเป็นจริงอย่างที่ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ-รมว.มหาดไทยและหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวกับสื่อมวลชนว่า “สัญญาณเตือน-เตรียมควักใบแดง ถีบออกจากรัฐบาล” ของทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทยตัวจริง