'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

25 เม.ย. 2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในห้องประชุมคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ที่มีนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประธานได้รับฟังรายงาน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยนายฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แจงใน กมธ.ว่าสถานการณ์สู้รบในเมียนมายังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มชาติพันธ์มีการรวมตัวกัน ซึ่งกองทัพเมียนมายังมีข้อจำกัดในการสู้กับกลุ่มต่อต้าน ทำให้ในหลายพื้นที่อยู่ในอิทธิพลของกลุ่มต่อต้าน ซึ่งทางกองทัพเมียนมาร์อาจมีการตอบโต้เฉพาะจุดบางพื้นที่ ส่วนการสู้รบที่จะยกระดับกายระดับประเทศนั้น คิดว่ายังไม่เกิดสถานการณ์นั้นแต่จะเป็นการสู้รบในเฉพาะจุด และสถานการณ์บางเรื่องมีการพูดคุยและเจรจากันก็ทำให้สถานการณ์คลี่คลาย สำหรับผู้หนีภัยการสู้รบยังคงอพยพมาในจำนวนหนึ่ง แต่ปัจจุบันที่อำเภอแม่สอดได้เดินทางกลับหมดแล้ว เหลือที่อำเภออุ้มผางประมาณ 77 คน

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจ บริหารสถานการณ์เมียนมา โดยมีปานปรีย์ พหิทรานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ซึ่งจะทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในเมียนมา และเสนอแนะนโยบายแนวทางต่อรัฐบาลเพื่อดำเนินการ แต่ละหน่วยงานมีบทบาทที่ชัดเจน

สำหรับการเตรียมการกำหนดท่าทีของไทย 3 ประการ คือ 1. ความจำเป็นรักษาอธิปไตยของไทย หากมีการลุกล้ำต้องมีการพูดจา 2. ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดนของไทยในกรณีที่มีกลุ่มต่อต้านเข้ามาทำกิจกรรมในการต่อต้านรัฐบาลเมียนมา และ3. การดูแลผู้ที่หนีภัยจากความไม่สงบเมียนมาซึ่งเป็นหลักการที่ไทยได้ทำมาตลอดตามหลักมนุษยชน

นอกจากนี้ ยังมีการจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวสำหรับการรองรับผู้ที่หนีภัย โดยมีการคัดกรองตามหลักระเบียบและมนุษยธรรม โดยมีทางจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประสานความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายในบางเรื่อง และเปิดรับการช่วยเหลือจากองค์กรที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขตามระเบียบ และเมื่อถึงจุดหนึ่งหากสถานการณ์สงบจะมีการยึดหลักความสมัครใจให้แก่ผู้ที่ต้องการเดินทางกลับ ซึ่งบริบทจะแตกต่างจากอดีตที่มีคนตกค้างในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันพื้นที่ในชายแดน หลังจากนี้จะรายงานต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ทั้งนี้ มีรายงานว่า สมช.ได้แจ้งต่อที่ประชุมกรรมาธิการว่าจะมีการขออนุมัติงบกลางจากนายกรัฐมนตรี เพื่อนำมาดำเนินการช่วยเหลือดูแลด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบเมียนมา และมีผู้อพยพเข้ามาในชายแดนไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตำรวจไซเบอร์' เปิดปฏิบัติการ! ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน ตั้งฐานเชียงใหม่

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.), พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท.

'โรม' กระทุ้ง สมช. ควรมีบทบาทกว่านี้ ทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาความมั่นคง

ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทำเนียบรัฐบาล นายรังสิมันต์ โรม ประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมร่วมกับ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ เลขาธิการสมช. และผู้บริหาร สมช.

'อิ๊งค์' รับ 'ทักษิณ' คุยชนกลุ่มน้อย เพราะอยากช่วยประเทศไทย

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระแสข่าวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นักโทษที่อยู่ระหว่างการพักโทษ ได้

ไทยเป็นยูเครน 2! 'ไพศาล' ปูดทหารรับจ้างตะวันตก ช่วยชนกลุ่มน้อยรบพม่า เกาหลีเหนือ-อิหร่าน ผสมโรง

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ หวั่นไทยเป็น #ยูเครน 2 มีรายละเอียดดังนี้ พบทหารรับจ้างตะวันตกเข้าไ

สุณัย เปิดร่างเอกสาร ‘ทักษิณ’ ขอชนกลุ่มน้อยเมียนมาเป็นตัวกลางไกลเกลี่ยขัดแย้ง

ดูกันชัดๆ! เปิดร่างเอกสารที่ ทักษิณ ขอให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร เมียนมา แต่งตั้งตัวเองเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง