ชำแหละ! งบดิจิทัล ผ่องถ่าย 5 แสนล้านเข้ากระเป๋านายทุนใหญ่ แต่สุดท้ายทำไม่ได้


'จตุพร' ชำแหละงบดิจิทัลแจกเงินหมื่นบิดเบี้ยว เชื่อผ่องถ่าย 5 แสนล้านเข้ากระเป๋านายทุนใหญ่ชดเชยกำไรหดหาย ไม่ใช่การกระตุ้น ศก. ซัดใช้เงิน ธกส.ผิดวัตถุประสงค์ คาดมีแถลงใหม่อีกรอบเป็นครั้งที่ 7 แล้วเปลี่ยนใหม่อีก สุดท้ายทำไม่ได้

12 เม.ย.2567 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ ว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.คลัง นำคณะแถลงโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแจกเงินหมื่นบาทจำนวน 5 แสนล้านบาทครั้งที่ 6 ซึ่งมีรายละเอียดบิดเบี้ยวไม่แตกต่างจากการแถลงมา 5 ครั้งก่อนหน้านี้

โครงการดิจิทัลแจกเงินหมื่นบาทให้ประชาชนตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไปทั้งประเทศจำนวน 50 ล้านคน ซึ่งเป็นโครงการทีเด็ดของพรรคเพื่อไทยใช้ในการหาเสียงปี 2566 โดยประกาศความมั่นใจว่าคิดใหญ่ทำเป็น โดยอ้างว่าได้ศึกษามาอย่างรอบคอบจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หลังเลือกตั้งถึงปัจจุบันโครงการนี้ยังไม่เริ่มนับหนึ่งแจกเงินให้ประชาชนเลย เพราะขาดแหล่งเงินมาแจก

นายจตุพร กล่าวว่า การแถลงสัญญาจะแจกเงินหมื่นเป็นทางการครั้งที่ 6 เมื่อ 10 เม.ย.นั้น เป็นแค่การหาช่องว่างโดยรัฐบาลไม่รับผิดชอบ ซึ่งคาดว่าจะมีการแถลงใหม่อีกครั้ง เพราะการนำเงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จำนวน 1.72 แสนล้านบาทมาแจกให้เกษตรกร ราวกับให้ไปซื้อสินค้าเพื่อส่งเสริมร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กในโครงการดิจิทัล ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์ขอเงิน ธกส. มีไว้เพื่อส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตร

ไม่เพียงเท่านั้น แหล่งเงินนำมาแจกหมื่นบาทยังแบ่งมาจากงบประมาณปี 2567 จำนวน 1.75 แสนล้านบาท และงบประมาณปี 2568 จำนวน 1.52 แสนล้านบาท แต่ที่สำคัญคือ งบประมาณของไทยเป็นงบแบบขาดดุล ซึ่งมีความจริงว่า ต้องกู้มาชดเชยอยู่ดี ดังนั้น จึงเท่ากับเป็นการซ่อนรูปแบบเงินกู้มาแจกไว้ในงบประมาณขาดดุล ซึ่งเป็นอาการบิดเบี้ยวโดยกลบซ่อนความรับผิดชอบของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

"การแจกเงินหมื่นบาทนั้น ประชาชนไม่ได้ถือเงิน แต่ได้เพียงสิ่งของที่มีมูลค่าหมื่นบาทจากราคาต้นทุน 3,500 บาท และส่วนที่เหลือประมาณ 5,000 บาทเป็นกำไรเข้ากระเป๋านายทุนใหญ่ผู้ผลิตสินค้า เท่ากับรัฐบาลให้คนจนไปช่วยกู้วิกฤตเศรษฐกิจของคนรวย ดังนั้น จึงอธิบายการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ได้เลย เพราะการแจกเงินแบบนี้คือการเอาสินค้าเข้าร้าน 7-11 แล้วให้คนจนไปเบิกมาใช้ในราคาหมื่นบาทก็เท่านั้น"

นายจตุพร เชื่อว่า เงินแจกหมื่นบาทไม่ได้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะประชาชนไม่ได้ถือเงินสด ได้แต่ไปจ่ายซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กและร้าน 7-11 ซึ่งถูกนิยามว่า เป็นร้านขนาดเล็ก ดังนั้น การกระตุ้นเศรษฐกิจจึงเป็นการกระตุ้นเจ้าสัวให้ร่ำรวยขึ้น

อีกทั้งกล่าวว่า การนำเงิน ธกส.มาใช้ เท่ากับการกู้เงินอยู่ดี แต่ใช้คำพูดซ่อนเอาไว้ เป็นการยืมมาสำรองใช้ก่อน ซึ่งไม่แตกต่างจากโครงการจำนำข้าวเป็นหนี้ ธกส.อยู่ และยังใช้ไม่หมด ยิ่งให้ซื้อที่ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก และ 7-11 ก็เป็นร้านขนาดเล็กกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ แล้วเงิน 5 แสนล้านเข้ากระเป๋าใคร

“เมื่อคนจนไม่ได้ถือเงิน มีแต่สิทธิ์ถูกสภาพบังคับให้ซื้อร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก โดยเจ้าของร้านขนาดเล็กก็คือเจ้าของร้านขนาดใหญ่ โรงงานที่ส่งสินค้าให้ร้านใหญ่กับขนาดเล็กก็เป็นเจ้าของเดียวกัน แล้วต่างกันอย่างไร ซึ่งเป็นการคิดบิดเบี้ยวถ่ายเทเงินให้เจ้าสัว”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทพไท อัด 'เพื่อไทย' ปากว่าตาขยิบ แก้ รธน.

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง แก้ไขรัฐธรรมนูญ : ปากว่าตาขยิบ ช่วงนี้มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยออกมาแก้ตัวเป็นพันวันเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นพดลวอนหยุดปั่นเกาะกูด ‘คำนูณ’ แนะชั่งข้อ ‘ดี-เสีย’

“นพดล” ย้ำ “เกาะกูด” เป็นของไทย เอ็มโอยู 44 ไม่ได้ทำให้เสียดินแดน วอนเลิกบิดเบือนหวังผลการเมือง “คำนูณ” ชำแหละบันทึกความตกลง เป็นคุณกับกัมพูชามากกว่า

อยู่เหนือการควบคุม พท.โยนบาปปมแก้ ‘รธน.’ ‘แม้ว-เนวิน’ คุมการเมือง

"พท." เล็งยื่นร่าง กม.นิรโทษกรรมเดือน ธ.ค.นี้ ยันไม่ล้างผิด ม.112-คดีทุจริต "นพดล" รับ กม.ประชามติงานยาก ต้องโน้มน้าว สว.เห็นตามเกณฑ์ชั้นเดียว แย้มใช้เกณฑ์ 20%