พล.ต.อ.เอกเผยการร้องเอาผิดทางวินัยตำรวจระดับสูง ใช้มาตรฐานกฎหมายเดียวกัน หากพบมีมูลผิดวินัยร้ายแรงมีกรอบระยะเวลาพิจารณา 390 วัน
04 เม.ย.2567 - พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ คณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวถึงประเด็นการร้องเรียนเอาผิดทางวินัยนายตำรวจระดับสูงว่า กระบวนการไม่ได้แตกต่างกันกับกรณีของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) มาตรฐานกฎหมายต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งการดำเนินคดีอาญาและการดำเนินการทางวินัย หลังจากที่นายษิทรา เบี้ยบังเกิดได้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษนายตำรวจระดับสูง รวมถึงตำรวจที่เกี่ยวข้อง และบุคคลอื่นๆ ตามแผนผังที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินจากบัญชีม้า โดยขั้นตอนหากพบว่ามีพยานหลักฐานที่จะกล่าวหาบุคคลใดทางพนักงานสอบสวนจะต้องไปขอออกหมายเรียก หรือหมายจับ ซึ่งจะต้องดำเนินการไปตามกระบวนการหากมีหลักฐานเพียงพอ
พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า อีกประเด็นได้มีการร้องเรียนเพื่อดำเนินการทางวินัยกับนายตำรวจระดับสูง โดยนายษิทธาได้ ไปร้องเรียนที่คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวมี 9 คน โดย 3 ใน 9 เป็นตำรวจที่ผ่านการคัดเลือกตามระบบ คือ พล.ต.ท.สรศักดิ์ เย็นเปรม เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ ส่วนอีก 2 ท่าน คือ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน และพล.ต.ท. เรวัช กลิ่นเกษร เป็นคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ ก.ร.ตร. นอกจากตำรวจ 3 ท่าน แล้วทางกฎหมายก็ยังกำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน คัดเลือกผู้แทนมาเป็นกรรมการ 1 คน ส่วนคนที่ 5 ให้สภาทนายความเลือกทนายความที่ว่าความมีประสบการณ์กว่า 20 ปี คือ เลขาสภาทนายความ ส่วนอีก 2 ท่านเป็นผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้คณะกรรมการตุลาการพิจารณาผู้พิพากษาระดับศาลอุทธรณ์ 1 ท่านมาร่วมในคณะนี้ และคณะกรรมการอัยการชั้นผู้ใหญ่ 1 ท่านเข้ามาร่วม แต่ยังขาดอยู่ อย่างไรก็ตามทางกฎหมายระบุว่าเมื่อมี 7 คนก็สามารถดำเนินการได้
พล.ต.อ.เอก ระบุว่า กรอบและระยะเวลาในการดำเนินการไต่สวนตรวจสอบข้อมูลหลักฐานหากไม่มีมูลก็สั่งยุติจบไป แต่ถ้ามีมูลสามารถไต่สวนพิจารณาหลักฐานต่างๆ ก่อนส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงโทษได้ มีกรอบระยะเวลา 120 วัน หากระหว่างการไต่สวนพบว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรงโทษสูงสุดอาจถึงไล่ออก ปลดออกมีระยะเวลา 270 วัน ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวไม่ได้มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจยังมีบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมในการพิจารณาด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ก.ตร.เอก’ เตือนผู้มีอำนาจ ตั้ง ‘รองผบช.-ผบก.’ 116 เก้าอี้ ยึดกฎระเบียบ ฝ่าฝืนโทษวินัย-อาญา
พล.ต.อ.เอก แจงยิบการแต่งตั้ง รอง ผบช.จำนวน 41 ผบก.75 ตำแหน่ง เตือนผู้มีอำนาจแต่งตั้งทุกระดับ ทั้งโทษวินัยและอาญา
เปิดเบื้องหลัง 'นายกฯอิ๊งค์' ตั้ง ‘บิ๊กต่าย’ นั่ง ผบ.ตร.
พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ กรรมการข้าราชการตำรวจ ผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
‘ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ’ เตือน ‘นายกฯอิ๊งค์’ เลือก ‘ผบ.ตร.’ ตามกม. หากไม่อยากโดนร้องเรียน
‘บิ๊กเอก’ เผยนายกฯอิ๊งค์ นัด 7 ต.ค.นี้ ประชุม ก.ตร. เชื่อจะเสนอชื่อ ผบ.ตร. ตามหลักเกณฑ์ เตือน ไม่อย่างนั้นมีปัญหาแน่ โดนร้องเรียน
ตั้ง ‘ผบ.ตร.' คนใหม่ พิสูจน์ผู้มีอำนาจ จะสร้างประวัติศาสตร์ หรือซากปรักหักพังเพิ่ม
บิ๊กเอก เผยได้รับเชิญจากสื่อตามช่องทางต่างๆเชิญไปพูดคุยเรื่องการแต่งตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ คำถามส่วนใหญ่มักจะเป็นไปในทำนองเดียวกัน
'บิ๊กโจ๊ก-บิ๊กต่าย' ยันเข้าชี้แจงด้วยวาจา ก.พ.ค.ตร. ปมคำสั่งออกราชการ คาดทราบผลสรุปในสัปดาห์นี้
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.อนุชา รมยะนันทน์ ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
‘บิ๊กเอก’ ยกเสียงสะท้อนจากตำรวจ เจ็บปวดผู้มีอำนาจข่มขืนองค์กร ถึงเวลาต้องปฏิรูปตร.
อีกเสียงสะท้อนจากนายตำรวจ ที่สื่อสารออกมา อย่างเจ็บปวด เปรียบเทียบให้เห็นภาพองค์กรตำรวจ ผู้มีอำนาจทางการเมือง อดีตผู้บังคับบัญชาสูงสุด ทำอะไรไว้ ควรที่จะปฏิรูปตำรวจอีกหรือไม่