'อดีตบิ๊กศรภ.' โต้ 'อ.สุลักษณ์' มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ ปฏิวัติ2475 ผิดพลาด

29 มี.ค.2567 - พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง "อ.สุลักษณ์ กับ รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ" 2475 มีเนื้อหาดังนี้

ถ้าจะไม่พูดถึงภาพยนต์แอมิเมชัน 2475 “รุ่งอรุณแห่งการปฏิวัติ“ แล้ว คงเชยเต็มทน โดยเฉพาะคนไทย ผมเองดูถึง 2 รอบ จึงมีความคิดว่า “ผู้สร้างภาพยนต์เรื่องนี้ตั้งใจจะวางสารัตถะของเรื่อง ในการสื่อสารเรื่องราวออกมาสู่ประชาชนให้เป็นกลาง อย่างเต็มที่” เพราะถ้าจะตั้งใจทำภาพยนต์โจมตีคณะราษฎรจริงๆ แล้ว ไม่น่าตกหล่นข้อมูลในทางลบที่ควรนำออกมาเสนอ ซึ่งยังมีอยู่อีกมากมาย ดังนั้นผมจึงขอรับประกันได้ว่าภาพยนต์เรื่องนี้ มีเนื้อหาสระ “ดีที่สุด และเหมาะสม ทั้งสำหรับคณะผู้ก่อการ 2475 และประชาชนในยุคนี้” แล้วครับ
ใครที่แสดงตนออกมาว่า เดือดร้อนจากภาพยนต์เรื่องนี้ คงจะได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์ผิดพลาดมา หรือแกล้งผิดพลาดก็มี เช่นกรณีของ อ.สุลักษณ์ ที่ออกมาพูดว่า

(1) รัฐธรรมนูญที่ ในหลวง ร.7 จะพระราชทานนั้น พระมหากษัตริย์ ยังทรงมีอำนาจอยู่ ซึ่งก็เป็นความจริงเพียงบางส่วน เพราะในช่วงนั้น ฝ่ายที่ต้องการเรียกร้องให้สยามมีรัฐธรรมนูญ ก็เนื่องมาจากส่วนใหญ่เห็นว่า ญี่ปุ่นก้าวหน้าเพราะมีรัฐธรรมนูญ จึงอยากมีรัฐธรรมนูญบ้าง โดยไม่รู้ว่ารัฐธรรมนูญญี่ปุ่นในตอนนั้น มีการปรับเปลี่ยนมาแล้วถึง 2 ครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาที่ประชาชนที่ยังไม่เข้าใจ “ประชาธิปไตย” ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งญี่ปุ่นก็เลียนแบบมาจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกของหลายประเทศในยุโรป

ที่เขียนไว้แบบนี้เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสียก่อน ดังนั้น องค์พระจักรพรรดิ์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจอยู่อย่างเต็มที่ทั้ง 2 ฉบับ แนวคิดนี้จึงอยู่ในรัฐธรรมนูณฉบับของในหลวง ร.7 เหมือนกัน ซึ่งก็มีครบมีทั้ง นายกรัฐมนตรี ครม. รัฐสภา และ ส.ส.ไม่ใช่มีแต่กษัตริย์ตามที่ อ.สุลักษณ์ออกมาพูดไว้
ถ้าคิดกันอย่างเป็นธรรมแล้ว รัฐธรรมนูญของในหลวง ร.7 น่าจะดีกว่ารัฐธรรมนูญของคณะราษฎรที่ใช้ประธานคณะราษฏร แทน นายกรัฐมนตรี และมี คณะกรรมการคณะราษฏร แทน คณะรัฐมนตรี

ต่อมา เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีการแก้ครั้งที่ 3 ให้พระจักรพรรดิ์ลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าญี่ปุ่นเจริญมาได้เพราะส่งคนไปเรียนที่ประเทศทางตะวันตก แล้วกลับมาพัฒนาประเทศ ของตัวเอง ไม่ใช่เจริญมาเพราะมีรัฐธรรมนูญ หรือเพราะมี”นายกรัฐมนตรี”บริหารประเทศ ตามที่คนบางส่วนในสยามยุคนั้นเชื่อ แต่อย่างใด

กรณีนี้ ทำให้มีนักวิชาการหลายคนกล่าวว่า “ญี่ปุ่น กับสยามเจริญก้าวหน้ามาใกล้เคียงกัน แข่งกันส่งคนไปศึกษาในประเทศตะวันตก ในจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เมื่อจบการศึกษาแล้ว “นักศึกษาของญี่ปุ่น กลับมาช่วยพัฒนาประเทศ แต่นักศึกษาทุนหลวงของไทย กลับมาปฏิวัติ “ ผู้ที่ส่งตัวเองไปเรียน

(2) เรื่องที่ 2 อ.สุลักษณ์ ระบุว่า จอมพล ป.ได้นิรโทษกรรมให้ พระองค์เจ้าบวรเดช ก็ไม่ถูกต้องอีก เพราะพระองค์ได้รับการนิรโทษกรรมมาตั้งแต่สมัยนายควง เป็น นายกฯ เมื่อปี 2488 ก่อนที่จอมพล ป. จะกลับมาเป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 ถึง 3 ปี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจอมพล ป.นั้น ในตอนที่พระองค์เสด็จกลับไทย(2492) จอมพล ป.ได้ถวายพระเกียรติ โดยมอบให้ พลโท กาจ กาจสงคราม รอง ผบ.ทบ และ ร.อ.พระองค์เจ้าเฉลิมทิฆัมพร ไปรับเสด็จถึงชายแดน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุ้ย! อดีตบิ๊กศรภ. บอกแบ่งงบซอฟต์พาวเวอร์แจก ’หมูเด้ง’ บ้าง จะได้มีผลงาน

อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ แนะนำเงิน Soft power จำนวนมหึมา ของนายก อุ๊งอิ๊ง นั้นควรแบ่งมาแจกให้ 'น้องหมูเด้ง'

'นายกฯอิ๊งค์' อยู่ได้เกิน 6 เดือนไหม! ขึ้นอยู่กับ 2 ทางรอด

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อุ๊งอิ๊งจะอยู่เกิน 6 เดือนไหม

'อดีตบิ๊กศรภ.' ชำแหละ 9 ข้อต่อสู้ 'ก้าวไกล' ดูเสมือนจะยอมรับว่าก้าวต่อไปอีกไม่ไหวแล้ว

พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ ก้าวไกล ดูเสมือนจะยอมรับว่าก้าวต่อไปอีกไม่ไหวแล้ว มีเนื้อหาดังนี้