เฒ่าส้มโยง 'พฤษภาทมิฬ 35-เผาบ้านเผาเมือง 53'อาชญากรรมโดยผู้ปกครองรัฐไทย

27 มี.ค.2567 - ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่าพฤษภา พฤษภา 2435 / 2453 Two Bloody Cruel Mays 1992 / 2010 สองอาชญากรรมโดยผู้ปกครองรัฐไทย

ก.เหตุการณ์ "พฤษภาเลือด 2535 หรือ Bloody Cruel May 1992 (ตรงกับสมัย ร.9 และรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร) วันนั้น ประชาชน คนชั้นกลาง ชาวกรุง จำนวนหลายหมื่น ซึ่งชุมนุมประท้วงเป็นประจำ ๆ
ณ บริเวณถนนราชดำเนิน กทม.ทำการเรียกร้องให้รัฐบาลของ นรม. พลเอกสุจินดา คราประยูร ที่
ไม่ได้ลงรับเลือกตั้ง รวมกับบรรดา "คณาธิปไตยทหารกับนักการเมือง" ลาออกจากตำแหน่ง

รัฐบาลสุจินดากระทำ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime) คือปราบปราบประชาชน อย่างหนักด้วยอาวุธและกระสุนปืนสงคราม ประชาชนไม่ยอมแพ้ ทำการขัดขืน ต่อสู้ด้วยรูปแบบต่าง ๆทำให้ รัชกาลที่ 9 เข้ามาห้ามทัพ คณาธิปไตยทหาร/รัฐบาลล้มครืน แต่หัวหน้าคณาธิปไตยได้รับอนุญาตให้ลาออกโดยไม่ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ

ครั้งนั้น มีผู้ถูกทำลายชีวิต 44 (?) ราย, บาดเจ็บ 600 (?) ผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้น คือ ชนชั้นกลางในเมือง กับชาวกรุง รวมทั้งสื่อมวลชนเอกชน นัก นสพ. และยังรวมทั้งมีเยาวชนคนหนุ่มสาว นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมด้วย

ข.อีก 18 ปีต่อมา เกิดเหตุการณ์ "เมษา/พฤษภาเลือด พ.ศ.2553 หรือ Bloody Cruel April-May 2010
(ตรงกับสมัย ร.9 และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

วันนั้น ประชาชน คนเสื้อแดง ชาวบ้าน (ที่ถูกตราว่า "โง่" และ "ถูกจ้าง") มาจากภาคอีสาน/ภาคเหนือ ได้เข้าร่วมกับคนชั้นกลาง ชาวกรุง รวมแล้วจำนวนหลายหมื่นดำเนินการชุมนุมประท้วงต่อเนื่องบนถนนราชดำเนิน และขยายไปถึงสี่แยกราชประสงค์ เรียกร้องให้ นรม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ประชาธิปัตย์) "ยุบสภา" และให้จัดมีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่

รัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพบก ใช้กำลังทหารกระทำ "อาชญากรรมรัฐ" อีกครั้งปราบปราบหนักด้วยอาวุธสงคราม พร้อมตั้งข้อกล่าวหาว่า "ก่อการร้าย" รวมทั้งอ้าง/อิง/สถาบันกษัตริย์ ว่าเพื่อรักษาไว้ซึ่ง ม. 112 ของประมวลกฎหมายอาญา

ครั้งนั้น มีผู้ถูกทำลายชีวิต 100 (?) กว่าราย บาดเจ็บ 2,000 (?) ผู้มีส่วนร่วม มีทั้ง "ชาวบ้าน" จากชนบทอีสาน/เหนือ ร่วมกับ "ชาวกรุง" คนชั้นกลาง รวมทั้งหญิงวัยกลางจำนวนมาก

เหตุการณ์ครั้งนี้ มีเยาวชนคนหนุ่มสาวเข้าร่วมบ้างจำนวนหนึ่ง ในเหตุการณ์นี้ สื่อมวลชนภาครัฐ และภาคเอกชนจำนวนมาก ที่ทำการรายงานข่าว เกิดความแตกแยก ขัดแย้ง รุนแรง ถือฝักถือฝ่าย เลือกข้าง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชาญวิทย์' ทุกข์ใจมาก! วิชาประวัติศาสตร์ไทยน่าเบื่อ ให้ท่องจำ ชื่อราชธานี-บรรดานามกษัตริย์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ The Subject of Histor