14 มี.ค.2567 - นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง ว่า วิทยานิพนธ์ของท่าน ดูทรงแล้วการถอดถอนวิทยานิพนธ์ และ ป.เอกของณัฐพล ใจจริง น่าจะยาก ด้วยเหตุที่กรรมการเองแม้วิพากษ์อย่างแรงกล้าถึง 2 ท่าน และอีก 1 ท่านก็ดูเลี่ยงๆในตอนหลัง แต่อีกท่านก็สนับสนุนสิ่งที่ณัฐพลเขียน ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์ที่ถูกนำมาใช้ก็มีกรรมวิธีตามพื้นฐานความรับรู้ของผู้ที่เรียนมา
เอาเข้าจริงการสร้างความเชื่อบนหลักวิชาการเช่นนี้ ดูๆไปก็มีผู้ที่สามารถมาแย้งได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เขาจึงเลือกที่จะพิจารณาหลักฐานชั้นต้นเป็นหลัก และเมื่อจะนำมาใช้ก็ต้องสังเคราะห์ วิเคราะห์ ตรวจสอบ และหาหลักฐานแวดล้อมมาช่วยยืนยัน
การใช้หลักฐานของณัฐพล ก็เหมือนนักวิชาการประวัติศาสตร์อย่างทุกวันนี้คือ เอาหลักฐานแต่ละชั้นมาจัดเรียงกัน พอเหมือนกันก็คือเชื่อว่าจริง โดยเฉพาะหนังสืออนุสรณ์งานศพทั้งหลายยังถือว่ามีปัญหาอยู่ เพราะถ้าเรื่องใดที่ผู้วายชนม์ไปมีส่วนเกี่ยวข้องก็หาได้มีความชั่วความเลวขีดเขียนออกมาได้ มีแต่คุณความดีพร้อมเหรียญตราเต็มแผง
จะว่าไปขบวนวิธีการทางประวัติศาสตร์มันก็ซับซ้อนถ้าจับได้ไล่ไม่ทันก็มีอันเป็นเหตุให้ปั่นป่วนยิ่งถ้าตีความว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ ตัวผู้ร้ายใครจะไปยอมรับว่าผิดเพราะถูกสังคมตีตราข้ามภพข้ามชาติ
เขียนประวัติศาสตร์วันนี้ต้องรับผิดชอบอนาคตของตนเอง
ตรงนี้แหละที่มันยากเหลือหลาย ยกเว้นเสียว่าจะจับผิดจนติดกับดิ้นไม่หลุด หรือผิดพลาดจนสังคมวิชาการยอมรับกันไม่ได้ แต่ตอนนี้ที่เห็นอยู่คือสังคมโลกคนรักสถาบันอย่างเราที่เห็นว่ามันผิดพลาดอย่างร้ายแรง…..แล้วนักวิชาการส่วนใหญ่เล่า!
เลยเถิดคิดไปไกลว่างานนี้ "ณัฐพล ใจจริง" รอด เพราะผู้เกี่ยวข้องในวงกรรมมันเยอะ ไหนจะอาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ สภามหาวิทยาลัยที่รับรองปริญญา บัณฑิตวิทยาลัย ที่เกี่ยวข้อง
กองทัพอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์จนถึง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่ณัฐพลสนิทชิดเชื้อ Connections มากมายในวงวิชาการข้างเขา
……ยกเว้นถ้าอธิการบดีกับนายกสภามหาวิทยาลัยจะดับเครื่องชน แต่ต้องบาดเจ็บแน่ๆครับ แต่ผมก็ไม่เชื่ออยู่ดีครับ…..
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
CU-ENGINEERING & MBA Chula จับมือ MIT LGO เปิดตัว Chula-LGO หลักสูตรปริญญาโทสุดล้ำ สร้างนักบริหารยุคใหม่ที่มีทั้งความรู้เชิงเทคนิคและทักษะการบริหารธุรกิจ
(กรุงเทพฯ – 25 มีนาคม 2568) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์และ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Chulalongkorn Business School: CBS) ประกาศความร่วมมือระดับนานาชาติกับ MIT Leaders for Global Operations (MIT LGO)
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 34 สาขา โดย QS University Rankings by Subject 2025
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก โดย QS University Rankings by Subject 2025 ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยมากที่สุดถึง 34 สาขา
เปิดเบื้องลึกสภาสูงตีตกชื่อ 'สิริพรรณ-ชาตรี' หลุดเก้าอี้ตุลาการศาล รธน.
เบื้องหลังห้องประชุมลับสภาสูง สว.สีน้ำเงิน สอยร่วง 'สิริพรรณ-ชาตรี'ปม 112 พ่นพิษ ทำ 'นกสวน จุฬาฯ' วืดตุลาการศาล รธน. เหตุหวั่นทัศนคติต่อสถาบันมีปัญหา ปล่อยให้ขึ้นนั่งบัลลังก์ไม่ได้
สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต