ชำแหละ เอ็มโอยู44 - แผนที่แนบท้าย กำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ลุกล้ำอธิปไตยไทย

'เทพมนตรี'ชำแหละ เอ็มโอยู 44 และแผนที่แนบท้าย ชี้การประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดต่อข้อบทของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลฯ ลุกล้ำอธิปไตยของไทย จนผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต

13 มี.ค.2567 - นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ เขตแดนทางบกและทางทะเล ตอนที่ 4 พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน มีเนื้อหาดังนี้

ก่อนอื่นเราควรเข้าใจเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเลโดยภาพรวมเสียก่อนเพื่อเป็นรากฐานให้กับผู้อ่านมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ไปศึกษาค้นคว้าหรือทำความเข้าใจกับข้อเขียนของนักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปที่กล่าวถึงเอ็มโอยู 44 หรือบันทึกความเข้าใจระหว่าง รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ในหลายทวีปทับซ้อนกันฉบับปีพ.ศ. 2544

ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการอ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อพ.ศ. 2515 ไม่มีหลักการ กฎเกณฑ์หรือกฎหมายทะเลรองรับแต่ประการใด รัฐบาลกัมพูชาในเวลานั้นจึงใช้จุดอ้างอิงที่หลักเขต 73 บนแหลมสารพัดพิษ เล็งไปยังจุดสูงสุดของเกาะกูดและลากเส้นลงไปในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยโดยพละการ การที่รัฐบาลกัมพูชาทำเช่นนั้นจึงส่งผลให้เราสูญเสียพื้นที่ทางทะเลด้วยการใช้วิธีการประกาศอ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว

เพื่อความเข้าใจของผู้อ่านรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยได้ส่งผู้แทนของฝ่ายไทยไปลงนามและอนุสัญญากรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่าด้วยกฎหมายทะเลรวมสี่ฉบับเมื่อวันที่ 29 เมษายนพ.ศ. 2501 กฎหมายทะเลสี่ฉบับประกอบไปด้วย
ข้อหนึ่ง อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง
ข้อสอง อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง
ข้อสาม อนุสัญญาว่าด้วยการประมงและการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลหลวง
และข้อสี่ อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป

การไปลงนามในครั้งนั้นได้รับความเห็นชอบของสภาร่าง รัฐธรรมนูญในคณะรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาพฤษภาคมพ.ศ. 2511 รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ลงสัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าวและได้มอบสัตยาบันสานต่อเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมพ.ศ. 2511 ตามข้อความในข้อบทวรรคสองของข้อ 29 34 18 และ 11 ของอนุสัญญาสี่ฉบับ และมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมพ.ศ. 2511 เป็นต้นมา และมีประกาศในวันที่ 29 เมษายนพ.ศ. 2512 ซึ่งตรงกับรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 20 พฤษภาคม 2512

กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศได้สรุปสาระสำคัญ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเลไว้ดังนี้

สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ
การกำหนดเขตทางทะเลต่าง ๆ สถานะทางกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของรัฐชายฝั่งและรัฐอื่น ๆ ในแต่ละเขตทางทะเล ได้แก่
น่านน้ำภายใน (internal waters) หมายถึง น่านน้ำที่อยู่ถัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตเข้ามาทางผืนแผ่นดินของรัฐชายฝั่ง ซึ่งรัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตยใน (หรือเหนือ) น่านน้ำภายในทะเลอาณาเขต (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต

เขตต่อเนื่อง (contiguous zone) โดยได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน 24 ไมล์ทะเล วัดจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต โดยในเขตต่อเนื่อง รัฐชายฝั่งมีอำนาจในการกำหนดมาตรการที่จำเป็นเพื่อป้องกันหรือลงโทษการละเมิดกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร การคลัง การเข้าเมือง และการสาธารณสุข

เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone - EEZ) ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขต มีความกว้างไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานที่ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต
ในเขต EEZ รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตย (sovereign rights) ซึ่งเป็นสิทธิที่จำกัดกว่าอำนาจอธิปไตย แต่ครอบคลุมเรื่องการสำรวจ การแสวงประโยชน์ การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหนือพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของพื้นดินท้องทะเล และในห้วงน้ำเหนือขึ้นไป รวมถึงการสร้างเกาะเทียม สิ่งก่อสร้าง และสิ่งติดตั้งในทะเล เป็นต้น

ไหล่ทวีป (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต และในบางกรณี ไหล่ทวีปสามารถขยายได้จนถึง 350 ไมล์ทะเลจากเส้นฐาน

ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป

ทะเลหลวง (high seas) หมายถึง ทะเลที่ไม่ใช่น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐใด ทั้งนี้ ในทะเลหลวง รัฐทั้งปวงมีเสรีภาพในการเดินเรือ การบินผ่าน การวางสายเคเบิล และท่อใต้ทะเล รวมทั้งเสรีภาพในการทำประมง เสรีภาพในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาตามกฏหมายทะเลโดยนำมาวิเคราะห์กับข้อบทในเอ็มโอยู 44 และแผนที่แนบท้าย ผลปรากฏว่าการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาไม่สอดคล้องต้องกันกับการกำหนด เขตไหล่ทวีป รวมถึงการลากเส้นประอ้อมเกาะกูดหรือผ่ากลางเกาะกูด ส่งผลกระทบ ต่อการประกาศ กำหนดเขตไหล่ทวีปของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อพ.ศ. 2516
การกระทำของรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ขัดต่อข้อบทของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลซึ่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออาณาเขตและเขตต่อเนื่องทางทะเล รุกล้ำเข้ามายังอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยทั้งห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต ตลอดจนพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของทะเลอาณาเขต

เป็นการลิดรอนสิทธิและอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยจนได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตในอนาคต

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักการเมืองไทยอย่าทะลึ่ง! ยก 4 เคส บัวแก้วเคยประท้วงกัมพูชา อ้างสิทธิ 'เกาะกูด'

นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คนกัมพูชาจำนวนไม่น้อยเคยเชื่อหรือยังเชื่อว่าเกาะกูดเป็นของเขา ไม่ทั้งหมดก็อย่างน้อยกึ่งหนึ่ง!

รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178

นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178