นายกฯ ย้ำใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศโดยรวม ให้ทุกส่วนราชการปรับลดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
07 มี.ค.2567 - นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศโดยรวม เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ให้มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า ไม่ซ้ำซ้อน มีการบูรณาการอย่างจริงจัง โดยให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพิจารณาปรับลดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และลดการบรรจุอัตรากำลังใหม่ โดยให้มีเฉพาะที่จำเป็นตามกรอบอัตรากำลัง ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้ เพื่อนำงบประมาณในส่วนที่ปรับลด ไปจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีย้ำว่าการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในด้านต่าง ๆ มีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งทั้งด้านภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ภาคการผลิต ภาคเกษตร การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ ด้านพลังงานสะอาด พลังงานสีเขียว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนดำเนินการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สอดคล้องกับบริบทและการพัฒนาของโลก รวมถึงให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและฐานะทางการเงินการคลังของประเทศ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 นายกฯ เสนอว่า ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และคณะอนุกรรมาธิการด้านต่าง ๆ ว่า ยังมีการตั้งงบประมาณซ้ำซ้อนกันในหลายหน่วยงาน เนื่องจากขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำยังคงมีสัดส่วนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับงบประมาณรายจ่ายลงทุน ดังนั้น ในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ ขอให้รองนายกฯ ที่กำกับดูแลแผนงานบูรณาการต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ให้มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า ไม่ซ้ำซ้อน และมีการบูรณาการกันอย่างจริงจัง
“สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำ นายกฯ ขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพิจารณาปรับลดงบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ งบประมาณด้านการฝึกอบรมและดูงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการเช่ายานพาหนะ โดยให้ใช้การส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการจัดประชุมผ่านระบบออนไลน์ให้มากขึ้น รวมทั้งการลดการบรรจุอัตรากำลังใหม่ โดยให้มีเฉพาะที่จำเป็นตามกรอบอัตรากำลัง ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดไว้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำงบประมาณในส่วนที่ปรับลดนี้ไปจัดสรรเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ” นายชัยกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
1พ.ย.นายกฯอิ๊งค์ลงร้อยเอ็ดตามติดนโยบายปราบยาเสพติด
โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯเร่งแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมบินร้อยเอ็ด 1 พ.ย. ตรวจการป้องกันและปราบปรามตามนโยบายรัฐบาล
นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการสนามบินเกือบ 120 ล้านคน
นายกฯ ปลื้มยอดผู้โดยสารใช้บริการท่าอากาศยาน 6 แห่ง เกือบ 120 ล้านคนในปีงบประมาณ 2567 พร้อมเปิดใช้งานเช็กอินระบบ Biometric นำร่องผู้โดยสารในประเทศก่อนเริ่ม 1 พ.ย.นี้
โฆษกรบ. โชว์สินค้าเกษตรของไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน
โฆษกรบ. เผย สินค้าเกษตรขึ้นแท่นที่ 1 อาเซียน ติดอันดับ 8 ของโลก หลัง 8 เดือน ส่งออกพุ่ง4.3แสนล้านบาท นายกฯสั่ง เร่งลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ดันติด Top5 โลกให้ได้ต้นปีหน้า
'จุลพันธ์' ยันงบเพียงพอใช้โครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง
'จุลพันธ์' ชี้งบอัพเกรดโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ไม่ถึง 2.4 หมื่นล้าน ยันรัฐบาลมีแหล่งเงินพอ โต้ดึงงบแจกเงินหมื่นเฟส 2 มาใช้
นายกฯอิ๊งค์ทัวร์ 'อุดรธานี-หนองคาย' 17 ต.ค.
นายกฯ บินหนองคาย 17 ต.ค. ตรวจฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำท่วมอีสาน พร้อมเปิดงานบั้งไฟพญานาค ชู 'ซอฟต์พาวเวอร์'
นายกฯ อิ๊งค์สั่งแรงงงานเยียวยา 'ผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน' ที่เจอน้ำท่วมใน 41 จังหวัด
นายกฯ กำชับแรงงานดูแลผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน ม. 33 ,39,40 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมใน 41 จังหวัด มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งเยียวยาผู้ประสบภัยได้อย่างตรงจุด