'นักวิชาการ' ยกรายงานสศช.ชี้คนหลายสิบล้านที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือเหยื่อที่ถูกล่า

6 มี.ค.2567 - ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ผลกระทบของ "อินฟลูเอนเซอร์" 2 ล้านคนที่มีต่อสังคมไทย มีเนื้อหาดังนี้

ไทยมี 'อินฟลู' 2 ล้าน แข่งกันทำคอนเท้นต์

สภาพัฒน์ห่วง 4 ประเด็น คือ เฟคนิวส์ พนันออนไลน์ ละเมิดสิทธิ สร้างค่านิยมอวดรวยให้เยาวชน
รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2566 ของสภาพัฒน์ อธิบายถึงสถานการณ์ 'Influencer เมื่อทุกคนในสังคมล้วนเป็นสื่อ' เอาไว้ว่า
ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวน 'อินฟลูเอนเซอร์' กว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับ 2 ในกลุ่มอาเซียนรองจากอินโดนีเซียอันดับ 1
โดย 'อินฟลูเอนเซอร์' หมายถึง บุคคลทั่วไปที่มีอิทธิพลต่อความคิดและมีกลุ่มผู้ติดตามจำนวนมาก โดยจะนำเสนอเนื้อหา (content) ดึงดูดผู้คนให้เข้ามามีส่วนร่วม (engagement) อย่างกดไลก์ กดแชร์ แสดงความคิดเห็น
ตอนนี้ 'อินฟลูเอนเซอร์' กลายเป็นอาชีพที่เด็กไทย หลายคนฝันอยากเป็น เพราะสามารถสร้างรายได้ค่อนข้างสูง จากการโฆษณาสินค้าและรีวิวสินค้า เริ่มตั้งแต่โพสต์ละ 800 จนถึงโพสต์ละ 700,000 บาทก็มี
แต่เพราะ 'อินฟลูเอนเซอร์' ต้องให้ความสำคัญกับ
- การแข่งขันกันทำ content
- ให้ความสำคัญกับ engagement
ส่วนหนึ่งจึงกลายเป็นการสร้างคอนเทนต์ โดยไม่คำนึงถึง 'ความถูกต้อง' ของเนื้อหาก่อนเผยแพร่

สภาพัฒน์ห่วงข่าวปลอม-พนัน-ละเมิดสิทธิ-สร้างค่านิยมอวดรวย
โดยสภาพัฒน์ ยกตัวอย่างเนื้อหาที่สร้างผลกระทบใน 'ทางลบ' ต่อสังคม 4 เรื่อง
(1) นำเสนอข้อมูลเท็จ ข่าวปลอม ไม่เป็นจริง
พบผู้โพสต์เข้าข่ายข่าวปลอม 7,394 บัญชี เป็นข่าวปลอมและข่าวบิดเบือนรวมกว่า 5 พันเรื่อง และเป็นเรื่อง 'สุขภาพ' มากถึง 2,213 เรื่อง
อย่างเช่นกรณี 'อินฟลูเอนเซอร์' เผยข้อมูล 'สูตรสมุนไพรล้างไต' ว่าน้ำต้มข่า ตะไคร้ และใบเตย ถ้าดื่มติดต่อกัน 7 วัน เว้น 7 วัน จะช่วยล้างไตและขับปัสสาวะได้
(2) ชักจูง-ชวนเชื่อผิดกฎหมาย 'พนันออนไลน์'
ตอนนี้คนรุ่นใหม่เล่นพนันออนไลน์กว่า 3 ล้านคน โดย 7.4 แสนคนเป็น 'นักพนันหน้าใหม่' และ 87.7% พบการโฆษณาหรือได้รับการชักชวนทางออนไลน์ กระทบแล้วกว่า 1 ล้านคน สะท้อนการโฆษณาเว็บพนันออนไลน์ผ่าน 'อินฟลูเอนเซอร์' บางส่วน
(3) ละเมิดสิทธิ บุคคล-เนื้อหา
แบ่งเป็นปัญหา 'ข้อมูล' ละเมิดสิทธิ เพราะนำข้อมูล ภาพ หรือวิดีโอของคนอื่นมาตัดต่อลงคอนเทนต์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีแหล่งที่มาที่ถูกต้อง
และอีกรูปแบบคือ ละเมิดสิทธิผ่านการนำเสนอ อย่างการนำเสนอข่าวอาชญากรรมราวกับละคร สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ แต่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้เสียหายหรือคนใกล้ชิด
(4) สร้างค่านิยม 'อวดรวย'
'อินฟลูเอนเซอร์' บางส่วนชอบเนื้อหาอวดความร่ำรวย และเช่นเดียวกันผู้บริโภคบางส่วนก็ชอบเช่นเดียวกัน โดยผู้บริโภคกว่า 51.2% ชอบการอวดแบบเปิดเผย
ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ยอดนิยมอย่างอวดสินค้าแบรนด์เนม การบริการประทับใจ และไลฟ์สไตล์ รวมถึงการแต่งภาพให้ดูดีเกินจริงกลายเป็น Unrealistic Beauty Standards ที่สภาพัฒน์บอกว่า อาจสร้างค่านิยมที่ผิดให้กัยเยาวชน และนำไปสู่การก่อหนี้มาซื้อสินค้าและบริการ

ต่างประเทศมี 'กฎหมายอินฟลู' สร้างบรรทัดฐาน
ในต่างประเทศหลายประเทศมี 'กฎหมายอินฟลูเอนเซอร์' ที่ความเข้มงวดจะแตกต่างกันออกไป
- จีน : ห้ามเผยแพร่เนื้อหาอวดความร่ำรวย และการใช้ชีวิตแบบกินหรูอยู่สบายเกินจริง อย่างโชว์เงินสด รถยนต์หรูหรา และการกินอาหารแบบทิ้งขว้าง
- UAE : ออกกฎหมายให้ผู้ที่เป็น Infuencer จะต้องจดทะเบียน และได้รับใบอนุญาตจากสภาสื่อแห่งชาติ (NMC) ป้องกันการโฆษณาเนื้อหาหรือกิจกรรม
ที่ผิดกฎหมายบนโซเชียลมีเดีย
- นอร์เวย์ : ออกกฎหมายกำหนดให้ Influencer ต้องแจ้งรายละเอียดภาพบุคคลที่ใช้สำหรับการขายและโฆษณาสินค้าบนโซเชียลมีเดีย ต่อหน่วยงานรัฐ นอกจากนั้น ยังกำหนดให้แสดงเครื่องหมายกำกับลงบนภาพหากผ่านการปรับแต่ง ลดปัญหาความกดดันทางสังคมต่อมาตรฐานความงามที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน
- สหราชอาณาจักร : อยู่ระหว่างพิจารณาร่างกฎหมายสำหรับรูปภาพที่ผ่านการปรับแต่งดิจิทัล (Digitally Altered Body Image Bill) กำหนดให้ผู้โฆษณา ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ รวมถึง Influencer ต้องแสดงเครื่องหมายลงบนภาพ ที่ได้มีการปรับแต่งส่วนหนึ่งส่วนใดบนร่างกาย
ส่วน 'ไทย' ยังไม่มีกำหนดกฎระเบียบสำหรับอินฟลูเอนเซอร์ที่ชัดเจน โดยตอนนี้มีแต่ พ.ร.บ. คอมฯ หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค และอยู่ระหว่างร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน แต่ถ้าจะขยายขอบเขตออกไป อาจต้องกำหนดนิยามสื่อออนไลน์และการกำกับดูแลใหม่ สภาพัฒน์อธิบาย
*****
อินฟลู 2 ล้านคนคือ ผู้ล่า ส่วนคนหลายสิบล้านคนที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือ เหยื่อที่ถูกล่า ... นี่คือกฏของป่าโซเชียล! ผู้ล่าได้เปรียบเหยื่อทุกทาง เหยื่อที่ไม่ตระหนักรู้แค่รอวันที่โดนขย้ำไม่ช้าก็เร็วเท่านั้น ผ่านการติดกับดักแห่งโลภะ-โทสะ-โมหะ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งหรือทั้งหมด
นี่คือโลกของป่าโซเชียลและกฏของป่าโซเชียลที่โหดร้าย โดยที่คนที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่จำกัดเพศ อายุ อาชีพ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ททท. จับมือ TikTok ปั้นบุคลากรสู่อินฟลูเอนเซอร์ท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ TikTok Thailand จัดกิจกรรมอบรม TikTok Content Creator ในหัวข้อ "วิธีการสร้างสรรค์เนื้อหาและแนวทางในการพัฒนาเนื้อหา Content" เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาความรู้ ความสามารถ ในเรื่องการพัฒนา Smart People และ Smart Economy ของบุคลากรในองศ์กร ททท.

'อนุทิน' แจงรูปคู่ 'ทนายตั้ม' บังเอิญเจอกันที่ฮ่องกง อย่าโยงมั่วเอี่ยวเว็บพนัน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ชี้แจงกรณีปรากฏภาพถ่ายกับทนายษิทรา เบี้ยบังเกิดที่ฮ่องกง ว่าเป็นภาพเก่าตั้งแต่ปีที่แล้วช่วงหลังเลือกตั้ง ซึ่งตั้งตนเดินทางไปกับครอบครัวและนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ

โพลชี้ ประชาชนไม่เชื่อสินค้าที่ ดารา - อินฟลูฯ รีวิว

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ใครจะคุ้มครองผู้บริโภค” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-16 ตุลาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'นักเศรษฐศาสตร์' เปิดสูตรคณิตศาสตร์แชร์ลูกโซ่ ทะลุหมื่นล้าน 'หัวหน้าบอส' ฮุบไป2พันล้าน

ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

เหล่าคนดังเคลื่อนไหว! หลังถูกโยงคดี 'แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์'

นาทีนี้ผู้ต้องหาในคดีฉ้อโกงประชาชนที่กำลังเป็นกระแสคงไม่พ้น "แม่ตั๊ก กรกนก-ป๋าเบียร์ กานต์พล" 2 สามี-ภรรยา ที่ถูกดำเนินคดีเหตุจากประเด็นการไลฟ์สดขายทองคำแต่ผลตรวจทองคำบางรายการต่ำกว่ามาตรฐาน มีทองคำอยู่เพียง 71.38% เท่านั้น แถมยังมีรายชื่อเหล่าดารา-คนดังที่เคยร่วมรีวิวสินค้าของทั้งคู่ออกมายาวเป็นหางว่าว

เตือนระวังข่าวปลอม ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “เปิดลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเพจ หน่วยงานคุ้มครองสิทธิ์อาชญากรรมทางออนไลน์” หวั่นปชช.สูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล