'วิรังรอง' ชี้เปรี้ยง 'อุเทนถวาย' รักและปกป้องสถาบัน ตรงข้ามกับนิสิตจุฬาฯส่วนหนึ่ง

1 มี.ค.2567 - นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีย้ายอุเทนถวายว่า ดิฉันอาจคิดไม่เหมือนคนอื่น: จุฬาฯ มีที่ดินพระราชทานนับพันไร่ ใช้เพื่อการศึกษาประมาณกึ่งหนึ่ง ที่เหลือใช้เชิงพาณิชย์ และให้หน่วยราชการ/สถานศึกษาต่าง ๆ เช่า

จุฬาฯ จะกรุณาแบ่งที่ดินให้น้อง ๆ อุเทนถวายได้ใช้เรียนหนังสือสัก ๒๐ ไร่ได้ไหม สังคมจะอยู่ได้ต้องเมตตากัน ประเทศจะเจริญต้องอาศัยเยาวชนนิสิตนักศึกษาการศึกษาทุกศาสตร์ทุกแขนงทุกชั้นเรียนสำคัญเท่ากันหมด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีมากอยู่แล้ว ควรให้โอกาสเยาวชนให้ได้เข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้มีสถานที่เรียน อย่าขับไล่ไสส่งพวกเขาเลย

จุฬาฯ เป็นสถาบันการศึกษา อุเทนถวายก็เป็นสถาบันการศึกษา เราควรคิดเรื่องความเท่าเทียมด้านการศึกษา การให้ความรู้เยาวชนเป็นหลักสำคัญ และคิดถึงพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๖

จุฬาฯ และอุเทนถวายก็เหมือนเป็นพี่เป็นน้องกัน ทรงอนุญาตให้ทั้ง ๒ สถาบัน ใช้ที่ดินผืนเดียวกัน เราควรระลึกถึงพระราชประสงค์เหนืออื่นใด จะอ้างว่าอุเทนถวาย ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ที่ดินในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ครั้นหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ทุกอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย อย่างนั้นแสดงว่า จุฬาฯ และกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ไม่ได้คิดถึงพระบรมราชโองการในรัชกาลที่ ๖ เลย

อุเทนถวายแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีและกตัญญูต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จนเป็นที่ประจักษ์ตลอดมา นี้ไม่ใช่หรือคือเยาวชนที่ชาติต้องการ เราจะแยกเขาแยกเราแยกเยาวชนส่วนหนึ่งออกไปให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจสร้างปัญหาในสังคมอีกหรือ เยาวชนที่ถูกล้างสมองให้เข้าใจสถาบันผิด ๆ ทุกวันนี้ยังเป็นปัญหาไม่พอหรือ อย่างน้อยนักศึกษาอุเทนถวายก็มีความจงรักภักดี ถือว่าเป็นหนึ่งในเสาหลักที่วางใจได้ ในขณะที่นิสิตจุฬาฯ ส่วนหนึ่งเสียอีกที่แสดงออกซึ่งความไม่เคารพสถาบันและประเพณีอันดีงามของจุฬาฯ เช่นต่อต้านการถวายบังคมในพิธีถวายราชสักการะและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้าเป็นนิสิตใหม่ ตลอดจนการรณรงค์ไม่รับปริญญา ดังนั้นในทุกสถาบันมีทั้งนิสิตนักศึกษาที่ดีและไม่ดี อุเทนถวายก็เช่นกัน เรื่องนักศึกษาอุเทนถวายส่วนน้อยที่มีปัญหาตีรันฟันแทงกัน เรื่องนี้น้อง ๆ อุเทนถวายก็ควรแก้ไข นับแต่วันนี้ขอให้เลิกยกพวกตะลุมบอนกันได้แล้ว

เราพูดกันมากและพูดกันมานานหลายศตวรรษเรื่องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเรื่องการสร้างความเท่าเทียมกัน พูดกันตั้งแต่หาเสียงเลือกตั้งจนไปถึงในสภา บ้างก็ขีดเขียนไว้ในแผนพัฒนา/แผนปฏิรูปประเทศ แม้ในจุฬาฯ ก็สอนเรื่องนี้ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นดูเหมือนจะกลายเป็นแค่เศษกระดาษหรือเป็นเพียงแค่น้ำลายปาก ครั้งนี้เป็นโอกาส จุฬาฯ จะได้เป็นส่วนหนึ่ง ที่จะได้ช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และช่วยสร้างความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา ถ้าจะต้องต่อสู้ฟาดฟันกันทางกฎหมาย อุเทนถวายก็คงจะสู้จุฬาฯ ไม่ได้ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้บริหารจุฬาฯ จะยอมถอยสักก้าวหนึ่ง เพื่อความปรองดองสงบสุขในสังคม และเพื่อน้อง ๆ อุเทนถวาย ตลอดจนเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไปได้มีโอกาสเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้มีสถานที่ศึกษาวิชาชีพ ณ สถาบันบนที่ดินที่เคยได้รับพระบรมราชานุญาตอย่างภาคภูมิใจ จุฬาฯ มีความภาคภูมิใจอย่างไรที่ได้รับพระราชทานที่ดินและพระนาม อุเทนถวายก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ใจเขาใจเรา

นางวิรังรอง โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าวอีกว่า ต่อให้ตีกันตายไปข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ก็ไม่เป็นภัยต่อสถาบันและความมั่นคง แต่การที่นิสิตจุฬาที่เอานักโทษคดี 112 มาปฐมนิเทศนิสิตใหม่ นั่นเหมือนเป็นขบวนการล้มล้างสถาบันเลย เรื่องนี้ทำไมสังคมไม่เห็นไม่มอง ไปดูแต่เรื่องเด็กส่วนหนึ่งตีกันและเด็กส่วนที่ดีๆที่สร้างสรรค์สังคมที่จบจากอุเทนถวายก็มีมาก ลำพังวิศวะจุฬาฯจะออกมาสร้างตึกสร้างบ้านได้ไหม เราจะหวังพึ่งแต่วิศวะจุฬาได้ไหม หรือว่าบ้านที่เราอยู่ทุกวันนี้ บอกได้ไหมว่าไม่มีผลงานของอุเทนถวายเลย

อุเทนถวายรักและปกป้องสถาบันตลอดมา ผิดกับบางสถาบันที่ได้รับถวายพระนามและที่ดิน แต่กลับไม่ปกป้องสถาบันแถมปล่อยให้มีการล่วงเกินตลอดมาหลายปี

ร. ๖ ทรงพระราชทานอนุญาตให้อุเทนถวายใช้ที่ดินและมอบเงินจำนวนหนึ่งเพื่อสนับสนุนการก่อสร้าง ดิฉันไม่คิดว่าจะมีในหลวงพระองค์ใด ไล่นักศึกษาออกจากสถานที่เรียน เผลอ ๆ จะพระราชทานที่ดินให้มากกว่าเดิมด้วยซ้ำ แล้วจุฬาฯ และกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เป็นใคร จะไปขับไล่ผู้ที่เคยได้รับพระบรมราชานุญาต เมื่อจุฬาฯ วางแผนที่จะพัฒนาพื้นที่อุเทนถวายเป็นพื้นที่ทางวิชาการ อุเทนถวายก็เป็นพื้นที่ทางวิชาการอยู่แล้ว ทำไมจุฬาฯ ไม่แบ่งพื้นที่ของจุฬาฯ ที่ใช้เชิงพาณิชย์ที่มีมากมายหลายร้อยไร่ มาใช้พัฒนาทางวิชาการแทนการไล่ที่อุเทนถวาย?

กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ควรเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและเป็นผู้เสริมสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษาโดยพิจารณาด้วยคุณธรรม ทำไมปัจจุบันโรงเรียนอื่นยังเช่าที่ดินจุฬาฯ ต่อไปได้ แต่อุเทนถวายอยู่ไม่ได้?

เพื่อประโยชน์แห่งการศึกษาของประเทศชาติ ที่ดินเพียง ๒๐ ไร่ จากพันกว่าไร่ที่ได้รับพระราชทานมา จุฬาฯ ที่เคยได้ชื่อว่า"เป็นเสาหลักของประเทศ " จะยอมเสียสละที่ดิน ๒๐ ไร่ ที่จุฬาฯ มิได้ต้องจ่ายเงินซื้อแม้สักบาทเดียว เพื่อการศึกษาของเยาวชนได้หรือไม่? ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและความเมตตาของผู้บริหารจุฬาฯ ล้วน ๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand

จุฬาฯ “เปิดแพลตฟอร์ม ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมเตือนพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ

จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 3 ด้าน จากการจัดอันดับโดย THE WUR 2025

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกโดย The Times Higher Education World University Rankings 2025 (THE WUR 2025) จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลกที่ได้รับการจัดอันดับกว่า 2,000 แห่ง กว่า 115 ประเทศ

เผยอาการป่วย 'พุฒิพงศ์ ศิริมาตย์' อดีตผู้ว่าฯเชียงราย ผ่าตัดเปลี่ยนไต เม.ย.67

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความตอนหนึ่งว่า ความจริงเกี่ยวกับการป่วยของ ท่านพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (เกษียณอายุราชการ 30 กันยายน 2567