'เสธ.นิด' ชี้ปมเกาะกูด นายกฯ-ครม.-ผบ.เหล่าทัพ ต้องอ่านจนขึ้นใจ ทหารทุกคนพร้อมรบ

26 ก.พ.2567 - พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Vachara Riddhagni ระบุว่า เรื่องเกาะกูด นายกรัฐมนตรี ครม.ทุกคน รมว.กห.ต้องอ่านจนขึ้นใจ ผบ.เหล่าทัพ ต้องตระหนัก ฝ่ายเสนาธิการทำแผนยุทธการได้เลย ทหารทุกคนพร้อมรบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพเรือ และ “กองบัญชาการนาวิกโยธิน”

เรื่องราวเกี่ยวกับเส้นเขตแดนไทย/กัมพูชา (เขมร) นั้นสับสนสืบเนื่องมาจากการล่าเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เพราะก่อนศตวรรษนั้น “แผ่นดินเขมร” เป็นของไทยหรืออยู่ในเขตอารักขาของไทยหรือเป็นเมืองขึ้นไทย (ต้องส่งบรรณาการ) ตั้งแต่ยุคนครวัด นครธมพ่ายแพ้ต่อกองทัพอยุธยาสมัย “พระเจ้าสามพระยาหรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยอดนักรบ นักปกครองพระองค์หนึ่ง (พ.ศ.๑๙๕๙-๑๙๙๔, ค.ศ.๑๔๑๖-๑๔๕๑) เขมรจึงย้ายเมืองหลวงไปละแวกอุดรมีชัยและพนมเปญ ตามลำดับ (เพราะกลัวสยาม)

ในยุคฝรั่งเศสล่าเมืองขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๐ (ค.ศ.๑๘๖๗) ไทยเริ่มเสียดินแดนเขมรในฐานะเมืองขึ้นไทยแต่โบราณจนในปี พ.ศ.๒๔๓๖ (ค.ศ.๑๘๙๓) ฝรั่งเศสส่งเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาแต่ถูกล้นเกล้า ร.๕ มีพระราชโองการให้ยิงเรือรบฝรั่งเศส ป้องกันพระนครไว้เบื้องต้นแต่ทรงยอมเจรจาและยอมรับใช้ค่าเสียหายแต่ฝรั่งเศสขู่ที่จะส่งกองทัพมารุกรานหากไทยไม่ยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ สยามจึงสูญเสียลาวและกัมพูชาในปีนั้น

ขณะที่ไทยกำลังชำระค่าเสียจมเรือรบฝรั่งเศสเป็นเงินประมาณ ๓ ล้านเหรียญเงิน (เงินถุงแดงของ ร.๓ ช่วยชาติ) ฝรั่งเศสเข้ายึดจันทบุรีและต่อมายึดตราด (หลังจากคืนตราดแล้วแต่ยึดเอา อำเภอเกาะกงไปจนทุกวันนี้) จนทำให้สยามต้องทำสัญญา พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) กับฝรั่งเศส ยกหลวงพระบางกับดินแดนทางใต้ของเทือกเขาพนมดงรักเพื่อแลกกับจันทบุรี สัญญานี้ไทยอ้างในข้อพิพาทว่าใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา

ในปี พ.ศ.๒๔๕๐(ค.ศ.๑๙๐๗) สยามก็ทำสัญญากับฝรั่งเศสอีกยกเสียมเรียบ พระตะบอง ศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองด่านซ้าย ตราดและเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงไปจนถึงเกาะกูดคืนมาเป็นของไทย (ข้อเท็จจริงนี้ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทยมาแต่โบราณจนฝรั่งเศสใช้อำนาจยึดไปอย่างโจร) สนธิสัญญานี้จึงเป็นหัวใจสำคัญในการประกาศว่า “เกาะกูด” เป็นของไทยมาแต่โบราณกาลและสยามโดยพระราโชบายอันแยบยลของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ทรงชนะสงครามการเมืองการทูตกับฝรั่งเศสเพราะทรงสร้างดุลสงครามโดยมี รัสเซียและเยอรมนีเข้าข้างไทยและห้ามไม่ให้ฝรั่งเศสรุกรานสยาม

และ “ข้อมูลที่สำคัญอีกประการหนึ่ง” คือ สัญญาไทยไฝรั่งเศส ฉบับ พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ (มีรายละเอียดในแฟ้มกองบรรณาสาร กระทรวงต่างประเทศ) มีรายละเอียดในข้อ ๒ ดังนี้

รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายแลเมืองตราษกับทั้งเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่กรุงสยามตามกำหนดเขตรแดนดังกล่าวมาแล้ว

(และมีสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตแดนติดท้ายหนังสือสัญญา ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๔๙ รายละเอียดสำคัญในข้อ ๑ คือ :-

เขตรแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดชินของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแลเป็นที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า แม้จะมีเหตุการอย่างไรๆ ก็ดี………….

สรุปง่ายๆ ว่า “เกาะกูดในสัญญาต่างๆ ของสยามกับฝรั่งเศสเป็นของไทยและเกาะกูดในสัญญานั้นๆ เป็นเพียงตำบลอ้างอิงทางเลขาคณิตภูมิศาสตร์ที่จะใช้ลากเส้นจากยอดเขาสูงสุดบนเกาะกูดไปยังพื้นที่บนแผ่นที่ภูมิศาสตร์กายภาพเท่านั้น

เขมรหรือว่าใครๆ อย่าได้อ้างอะไรๆ เลยว่า “เกาะกูด” เป็นของเขมรเพราะ “เกาะกูด” เป็นของคนไทยครับ

หมายเหตุ:- เขาเรือรบ เป็นเขาที่สำคัญและสูงที่สุดบนเกาะกูด ตั้งอยู่ที่ บ้านง่ามโข่ ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด บนยอดเขาใจกลางของเกาะกูด มีถ้ำลับแล ซึ่งเคยมีการค้นพบวัตถุโบราณจำนวนมาก แต่ขณะนี้ถ้ำได้ปิดตัวลงไป และไม่มีใครกล้าเข้า นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์มากที่สุดคือ แนวหินภูเขาที่มีอายุหลายพันปีเป็นรูปเรือรบหลวงจอดเรียงกัน จำนวน 3 ลำ ความสูงประมาณ 3-4 เมตร ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยด้านบนยังมีพระพุทธรูป หล่อจำลองเท่าองค์จริงของ กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) พระบิดาแห่งราชนาวีไทย ประดิษฐานอยู่กลางระหว่างเรือรบ 3 ลำ พร้อมด้วยพระพุทธประธานพรราชนาวี หน้าตัก 32 นิ้ว ศาลหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของเสด็จเตี่ย โดยเขาดังกล่าวเป็นที่เคารพนับถือของชาวประมงในระแวกนั้น เมื่อแล่นเรือออกทะเลหาปลา ก็จะต้องยกมือไหว้ขอพรให้แคล้วคลาดปลอดภัย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน

'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน

'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา

ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ

พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44

ดร.เสรี หวังศาลเป็นที่พึ่งปชช. ลุ้น 22 พ.ย. รับไม่รับคำร้อง ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างฯ

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถูกสงสัยว่าป่วยทิพย์ ณ ห้อง VVIP ชั้น 14 โรงพ