ไทยพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์เพิ่มอีก 3 สายพันธุ์

พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์เพิ่มอีก 3 สายพันธุ์ เป็นไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อ และสัตว์น้ำ ขอความร่วมมือทุกคนงดเข้าไปหยิบจับและเคลื่อนย้ายเด็ดขาด

21 ก.พ. 2567 - น.ส.ศศอร ขันสุภา นักวิชาการทรัพยากรธรณีชำนาญการพิเศษ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือพิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้การตรวจสอบชิ้นส่วนฟอสซิลที่ริมหนองน้ำ ใกล้สะพานข้ามลำน้ำพอง จากบ้านโนนพะยอมไปบ้านบึงกลาง ต.ม่วงหวาน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และได้นำชิ้นส่วนฟอสซิลไปตรวจสอบ ซึ่งผลการตรวจเบื้องต้นซึ่งเป็นชิ้นส่วนของกระดูกสันหลังส่วนคอโดยเป็นส่วนที่พบไม่สมบูรณ์เป็นไดโนเสาร์กินพืชเป็นกระดูกคอ 2 ท่อน แต่ว่ามีแนวเชื่อมกันก็เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่

"สำหรับระบุสายพันธุ์นั้นตอนนี้บอกได้แค่เป็นสายพันธุ์กินพืช 1 ชนิด อีกทั้งยังเจอฟันของไดโนเสาร์ spy no forest คือ สายพันธุ์กินเนื้อ พวกกินปลาเป็นอาหารทุกชนิด และก็ยังเจอซากดึกดำบรรพ์ของพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในท้องน้ำรวมเป็นชนิดที่ 3 ขณะนี้จึงสรุปได้ว่า บริเวณที่พบฟอสซิลนั้น ในเบื้องต้นคือเจอฟอสซิลของไดโนเสาร์ อยู่ 3 จำพวกด้วยกัน อย่างไรก็ตามหลังพบฟอสซิลแล้ว ทต.ม่วงหวานและอ.น้ำพอง ได้สั่งการลงมาให้ป้องกันพื้นที่ เพราะไม่อยากจะให้คนในท้องที่ไปรบกวนซึ่งตอนนี้มันค่อนข้างจะสุ่มเสี่ยง เพราะการเจอซากดึกดำบรรพ์อยู่พบในพื้นที่ ที่เป็นชั้นสะสมตัว ยังมีโอกาสเจอร่องรอยทั้งตลอดลำน้ำพองและใกล้เคียง ฉะนั้นอยากจะให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์ เพราะว่าเจอสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถือว่ามีความสำคัญ จะเพิ่มองค์ความรู้ในเรื่องซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ จะเป็นประโยชน์ต่อท้องที่”

น.ส.ศศอร กล่าวต่ออีกว่า จุดที่เจอสายพันธุ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ หรือซากดึกดำบรรพ์ในจุดนี้อยู่ในหมวดโคกกรวดในช่วงประมาณ 100-110 ล้านปีมาแล้ว ก็คือการที่พบซากดึกดำบรรพ์ตรงนี้มีความสำคัญตรงที่ว่า ทำให้เรารู้ถึงสภาพแวดล้อมและก็ความหลากหลายทางชีวภาพณบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์คือมียักษ์ใหญ่ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นและก็มีพวกนักล่าก็คือไดโนเสาร์กินปลาอยู่ตรงนั้นแสดงว่าก็มีทั้งพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามท้องน้ำซึ่งแสดงว่าบริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มีแหล่งอาหาร

"ส่วนการกั้นพื้นที่ จุดที่พบฟอสซิล ก็เพื่อให้นักธรณีวิทยลงพื้นที่สำรวจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ เพราะเมื่อเราเจอซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อที่จะพิสูจน์หรือว่าเก็บข้อมูลเราจะทำการปิดล้อมให้เป็นเครื่องหมาย เพื่อป้องกันไว้ก่อน คาดว่าทีมงานจะเข้าไปทำการอนุรักษ์ตัวอย่างที่โผล่พ้นออกมา หากไม่กั้นมันจะสุ่มเสี่ยงต่อการผุพัง เมื่อมันอยู่ในชั้นหินมันจะถูกเก็บในชั้นหินมันจะรักษาสภาพอยู่ แต่ถูกเปิดด้วยการกระทำของธรรมชาติหรือโดยมนุษย์ มันก็จะทำให้ซากดึกดำบรรพ์นั้นถูกทำลายและก็อาจจะสูญเสียลักษณะ ที่บ่งชี้ว่ามีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากสายพันธุ์อื่น"

น.ส.ศศอร กล่าวต่ออีกว่า ไดโนเสาร์กินพืช ในหมวดหินโคกกรวด และไดโนเสาร์กินปลา ที่พบนั้นยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับที่พบในหมวดหินเสาขัวในภูเวียงหรือไม่ อาจจะเป็นคนละชนิดหรืออาจจะเป็นชนิดเดียวกันก็ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้มีความสำคัญถึงเรื่องความหลากหลายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือที่ภูเวียงอายุเก่าแก่กว่าคือ 130 ล้านปีตรงนี้ร้อยล้านปีก็จะเป็นช่วงเวลาต่างกันช่วงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตก็จะหลากหลายอย่างพวกกินพืชก็จะมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้ที่สามารถจะนำไปเชื่อมโยงต่อการพัฒนาท้องถิ่นได้เยอะรวมทั้งองค์ความรู้ที่จะเผยแพร่ให้แก่คนในท้องถิ่นและผู้ที่สนใจต่อไปในอนาคตอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันเด็กทำเนียบฯ ปีนี้ไร้ไดโนเสาร์ 'อนุทิน' บอกไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดตลอดไป

รัฐบาลรับมอบ​ของขวัญวันเด็ก​มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง​เตรียมแจกเสาร์นี้​ ขอ​อย่าไปตีความทำเนียบฯไร้จัดแสดงไดโนเสาร์​ มองไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดตลอดไป​

เที่ยวกาฬสินธุ์ ถิ่นไดโนเสาร์

ททท. สำนักงานขอนแก่น เชิญชวนน้อง ๆ นักเรียน รวมถึงผู้ปกครองและนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวที่ชื่นชอบ ความสนุกและความตื่นเต้น ออกเดินทางไปท่องเที่ยวและเรียนรู้ เรื่องราวในยุคดึกดำบรรพ์ ที่จังหวัดกาฬสินธุ์

ฮือฮา! พบฟอสซิลปลาพันธุ์ใหม่ของโลก อายุ 115 ล้านปี ที่โคราช ตั้งชื่อ 'ปลาภัทราชัน'

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาสิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา อดีตรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดร.อรนุช หล่อเพ็ญศรีอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยามหาวิทยาลัยมหาสารคาม , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานรรต ใจสำราญ