'ผศ.ดร.อานนท์' ออกบทความว่าด้วยอภิสิทธิ์ฐานันดรที่ 4-บทบาท กสม.

15 ก.พ.2567 - ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กในรูปบทความเรื่อง “อภิสิทธิ์ในการทำผิดกฎหมายของฐานันดรสี่ที่สนับสนุนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ระบุว่า ผมอ่านแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยความรู้สึกไม่เห็นด้วยหลายอย่าง

ประการแรก เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหลักฐานชัดเจนว่านักข่าวสองคนที่ถูกจับกุมเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดจริงๆ คือมีส่วนร่วมในการพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว เพราะฉะนั้นนักข่าวนั้นทำผิดกฎหมายจริงๆ ครับ และนักข่าวก็เป็นประชาชนที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่อยู่เหนือกฎหมาย

ประการสอง เสรีภาพของสื่อ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่จะมาอ้างเสรีภาพของสื่อเป็นอภิสิทธิ์ชนฐานันดรที่ 4 แล้วจะอยู่เหนือกฎหมายจะกระทำผิดอะไรก็ได้

ประการสาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรมีความรู้เรื่องกฎหมายบ้าง และไม่ควรส่งเสริมให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพในการทำผิดกฎหมายเช่นนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำลังทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ชี้นำสังคมในทางที่ไม่ถูกต้อง

ประการสี่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อนแถลงอะไรควรศึกษาข้อมูลรอบด้าน เช่น ควรต้องขอหลักฐานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติเองก็หาได้ออกหมายจับได้เองแต่เป็นอำนาจของศาล ศาลพิจารณาหลักฐานที่พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินำเสนอขอออกหมายจับ ดังนั้นการที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแถลงเช่นนี้ อาจจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลได้ และในขณะเดียวกันก็ไปแทรกแซงการทำงานของศาลที่ควรเป็นอิสระอย่างที่ไม่เป็นการสมควร

ประการห้า ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) ในการออกแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

หนึ่งในนักข่าวถูกจับกุมใช้นามสกุลเมฆโสภณ และเป็นหลานชายของนักข่าวอาวุโส พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ พี่รุ่งเองก็ได้โพสต์ Facebook ให้กำลังใจหลานชายและค่อนข้างเข้าข้างหลานชาย ผมว่าในฐานะที่พี่รุ่งเป็นสื่อมวลชนอาวุโสก็ควรต้องศึกษาหลักฐานของทาง สตช. บ้าง และควรต้องระวังท่าทีของสื่อมวลชนอาวุโส เพราะสื่อเองก็ต้องไม่ทำผิดกฎหมาย

ปัญหาที่สังคมอาจจะถามได้คือ พี่รุ่ง เป็นภรรยาของพี่วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คำถามแรก คือก่อนออกแถลงการณ์ฉบับนี้ พี่วสันต์ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยหรือไม่ ได้เดินออกจากที่ประชุมหรือไม่

หากไม่ได้เดินออก สังคมก็อาจจะตั้งคำถามได้ว่าพี่วสันต์ลงมติให้ออกแถลงการณ์เพื่อช่วยปกป้องหลานชายของภรรยาตัวเองหรือไม่ อันนี้ก็จะเป็นเรื่องไม่งามเพราะจะกลายเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน

คำถามสองคือ พี่วสันต์ได้ลงมติโดยอิสระจริงๆ หรือไม่ได้เป็นคนเสนอให้ออกแถลงการณ์ฉบับนี้ซึ่งมีส่วนสนับสนุนหลานชายของพี่รุ่งผู้เป็นภรรยาหรือไม่? อันนี้พิสูจนได้ยากครับ แต่ก็ไม่งามเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในกรณีนี้การออกแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนนั้นออกมาภายหลังการแสดงท่าทีเข้าข้างและให้กำลังใจของพี่รุ่ง คำถามที่สังคมไทยอาจจะถามได้คือภรรยามีอิทธิพลหรือบังคับบัญชาสามีได้หรือไม่

คำถามสามคือ หากพี่วสันต์ไม่ได้เข้าประชุม ไม่ได้ลงมติ ไม่ได้นำเสนอให้ออกแถลงการณ์ฉบับนี้ แต่สังคมก็อาจจะถามได้อีกว่า พี่วสันต์ได้ lobby กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติท่านอื่นๆ หรือไม่ กรรมการสิทธิมนุษยชนท่านอื่นๆ เกรงใจบารมีพี่วสันต์จนต้องออกแถลงการณ์ปกป้องนักข่าวหลานชายของภรรยาพี่วสันต์ใช่หรือไม่

ผมเองก็เห็นใจพี่วสันต์เป็นอย่างยิ่งนะครับ ว่าคงตกอยู่ในที่นั่งลำบากเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเป็นผม ผมก็คงต้องเดินออกจากที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผมก็จะต้องขอให้บันทึกในรายงานการประชุมว่า ผมต้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนอื่นๆ ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ไม่ต้องเกรงใจใดๆ ผมเลยแม้แต่น้อย

ประการที่หก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ควรเน้นไปที่สิทธิเสรีภาพอย่างเดียว แต่ต้องอธิบายให้สังคมได้เข้าใจด้วยว่า การใช้สิทธิและเสรีภาพต้องไม่ผิดกฎหมาย ต้องไม่เป็นภัยความมั่นคงแห่งรัฐ ต้องไม่ผิดศีลธรรมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องตระหนักและให้ความสำคัญต่อการจำกัดสิทธิและเสรีภาพด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันโดยสงบของสังคม ทำให้สังคมไม่แตกหักวุ่นวาย ซึ่งรัฐธรรมนูญของทุกประเทศทั่วโลกก็จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งนั้นเพื่อความอยู่ดีของส่วนรวม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีบทบาทในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเท่าที่จะไม่เลยเถิดเกินไปกว่าความจำเป็นที่สังคมต้องจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ไม่สนับสนุนการใช้สิทธิและเสรีภาพจนไร้ขอบฟ้า บ้านเมืองจะกลายเป็นอนาธิปไตย (Anarchy) อันจะเกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองขึ้นมาได้

ประการที่เจ็ด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องมองโลกด้วยความเป็นจริง ว่าในสังคมมีทั้งคนดีและคนเลว ไม่ใช่จะโลกสวยไปทั้งหมด การสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพให้กับคนที่ทำไม่ถูกต้องเท่ากับเป็นการให้ท้ายโจรและสนับสนุนให้สังคมทำผิดมากๆ ตามๆ กัน เพราะเป็นสิทธิและเสรีภาพ

อยากฝากให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลองทบทวนบทบาทและท่าทีของตนเองดูบ้างครับจะขอขอบพระคุณมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด

นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้

'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา

ที่สำนักงาน​คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่ง​ชาติ​ (กสม.)​ นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ

'ดร.อานนท์' ยก MOU ไทย-มาเลเซีย เทียบ MOU44 ขัดรธน. เป็นโมฆะ การก้าวล่วงพระราชอำนาจ

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ