14 ก.พ.2567 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)ออกแถลงการณ์จากกรณีผู้สื่อข่าวสำนักข่าวออนไลน์ และช่างภาพ ถูกจับกุมตามหมายจับในฐานความผิดให้การสนับสนุนในการทำให้โบราณสถานเสียหายตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 จากการปฏิบัติหน้าที่ในการรายงานข่าวนักกิจกรรมทางการเมืองพ่นสีบนกำแพงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ซึ่งต่อมาได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างการสอบสวนโดยใช้หลักทรัพย์เป็นประกันนั้น
โดยกสม. ขอเน้นย้ำและยืนยันในหลักเสรีภาพของสื่อมวลชนที่ได้รับการรับรองและให้ความคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม
จากการติดตามสถานการณ์เสรีภาพของสื่อมวลชน ในปี 2566 พบว่า สื่อมวลชนยังคงถูกคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ทั้งการข่มขู่ทำร้ายร่างกายหรือดำเนินคดีในฐานต่าง ๆ ซึ่งรัฐต้องให้การคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก การรับและส่งต่อข้อมูลใด ๆ โดยอาจจำกัดเสรีภาพดังกล่าวได้ตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น อย่างไรก็ดี ความเห็นทั่วไปฉบับที่ 34 ของคณะกรรมการประจำกติกา ICCPR ย้ำว่าการออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพดังกล่าวต้องมีความสมดุลกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการรับและส่งต่อข้อมูล รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพดังกล่าวยังต้องมีความจำเป็นและได้สัดส่วนตามกฎหมาย โดยไม่กระทบสาระสำคัญของการทำหน้าที่สื่อมวลชน
นอกจากนี้ ในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคล รัฐมีหน้าที่ที่ต้องรับประกันสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาที่จะต้องได้รับทราบข้อกล่าวหาและได้รับการพิจารณาคดีโดยพลัน โดยมิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลในระหว่างการพิจารณาคดี ทั้งยังต้องมีสิทธิในการได้รับการประกันตัวตามหลักสันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วย
กสม. เห็นว่า รัฐบาลโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำชับผู้บังคับใช้กฎหมายให้เคารพต่อการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน การจำกัดหรือระงับเสรีภาพไม่ว่าด้วยวิธีการใดจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยเฉพาะการตั้งข้อกล่าวหาหรือดำเนินคดีต้องไม่สร้างข้อจำกัดหรือก่อให้เกิดความหวาดวิตกในการนำเสนอข่าวต่อสาธารณะและประชาชน ซึ่งต้องมีความเป็นอิสระ หลากหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา
ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ
กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ
กสม.ขยับ! ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ข้อในคดีตากใบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์
กสม. ชี้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ
กสม. ชี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะ ตร. อบรมเสริมความรู้ด้านการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ
จองเวรต่อ! ยกผลสอบ กสม. สอย 'นายกฯอิ๊งค์' พ่วง 2 รมต.
'เรืองไกร' จองเวรต่อ! ยกคำวินิจฉัย กสม. ร้อง กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญ สอย 'นายกฯอิ๊งค์' พ่วง 'สมศักดิ์-ทวี' ส่อขัด ม.160 ฝ่าฝืนจริยธรรมข้อ 8
เปิดฉบับเต็ม! รายงานกสม. มัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพ-รพ.ตำรวจ เลือกปฏิบัติช่วยทักษิณ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การเลือกปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องขัง กรณีร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น" กรณีผู้ร้อง(ปกปิดชื่อ) ผู้ถูกร้อง เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ 1โรงพยาบาลตำรวจที่ 2