"รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ" เตรียมพบ "ทักษิณ"ภายใน 21 ก.พ.นี้ แจงขั้นตอนพักโทษ ชี้อาจไม่ต้องใส่กำไลอีเอ็ม เนื่องจากเข้าข่ายสูงอายุ -เจ็บป่วย
13 ก.พ.2567 - พ.ต.ท.มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการรับตัวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากกรมราชทัณฑ์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพักโทษ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมคุมประพฤติ ว่า ภายหลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีได้รับการพักโทษเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ อายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปและเจ็บป่วย ซึ่งหากนับตามวันที่และเวลาที่อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าสู่กระบวนการรับโทษมาแล้วก่อนหน้านี้ คิดเป็น 1 ใน 3 หรือ 6 เดือน (180 วัน) จะทำให้ในวันที่ 18 ก.พ. นี้ นายทักษิณ ก็จะเข้าสู่กระบวนการพักโทษทันที แต่ก็ต้องรอดูใบแจ้งการพักโทษก่อนว่ามีรายละเอียดอย่างไร และผู้ได้รับการพักโทษไม่ว่าจะเป็นการพักโทษแบบกรณีปกติ หรือแบบกรณีมีเหตุพิเศษ ทุกรายมีเวลา 3 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการพักโทษ ในการเข้าพบและรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติ
โดยในกรณีของนายทักษิณ หรือบุคคลใดก็ตามซึ่งเป็นผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปและมีอาการเจ็บป่วยนั้น ตามมาตรฐานการปฏิบัติ ทางกรมคุมประพฤติ จะเป็นฝ่ายเดินทางเข้าพบด้วยตัวเองภายใน 3 วัน คือ ตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ.-วันที่ 21 ก.พ. ณ สถานที่พักโทษของแต่ละราย หรือสถานที่ที่ได้นัดหมาย เพื่อชี้แจงถึงกระบวนการพักโทษ เงื่อนไขการคุมความประพฤติ การปฐมนิเทศ และการดำเนินการเบื้องต้น แต่ก่อนจะเข้าพบ เจ้าหน้าที่กรมคุมประพฤติต้องได้รับการประสานยินยอมจากเจ้าตัวและญาติก่อนว่าสะดวกช่วงเวลาใด เราต้องเผื่อเวลาการให้การรักษาของแพทย์ด้วย เพื่อให้เกิดความสะดวกที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีการพักโทษแบบปกติ ผู้ได้รับการพักโทษจะต้องไปรายงานตัวที่สำนักงานคุมประพฤติด้วยตัวเอง ภายใน 3 วันเช่นเดียวกัน
พ.ต.ท.มนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับการเข้าพบผู้ได้รับการพักโทษกรณีมีเหตุพิเศษโดยเฉพาะบุคคลนั้น เป็นผู้เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง หรือเป็นบุคคลสำคัญของประเทศ ทางอธิบดีกรมคุมประพฤติจะมีการมอบหมายให้มีผู้บริหารระดับสูงเข้าพบพร้อมๆ กับเจ้าหน้าที่คุมประพฤติด้วย และกระบวนการแจ้งเงื่อนไขการพักโทษต่างๆ จะเป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการคุมความประพฤติ พ.ศ. 2560 อาทิการรับคดี เมื่อสำนักงานคุมประพฤติได้รับคำสั่งให้คุมความประพฤติผู้ถูกคุมความประพฤติที่เป็นผู้ใหญ่จากศาล ให้เจ้าหน้าที่ธุรการดำเนินการเบื้องต้น ดังนี้ 1.จัดทำทะเบียนคดี และตรวจสอบข้อมูลบุคคล (ขั้นตอนนี้ดำเนินการที่สำนักงานคุมความประพฤติได้) 2.ตรวจสอบประวัติการกระทำความผิด 3.จัดทำสำนวนคดีโดยการรวบรวมเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน 4.นำเข้าข้อมูลในระบบสารสนเทศ และสารบบคดีของสำนักงานคุมประพฤติ 5.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น
พ.ต.ท.มนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการติดหรือไม่ติดกำไล EM นั้น จะเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการพักการลงโทษที่จะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งในกรณีของนายทักษิณ ถือว่าเป็นผู้ได้รับการพักโทษกรณีมีเหตุพิเศษ เนื่องจากสูงอายุ มีอายุ 74 ปี และเจ็บป่วย ดังนั้น ตามหลักเกณฑ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มักจะไม่ให้ได้รับการติดกำไล EM เพราะต้องคำนึงถึงปัญหาเรื่องสุขภาพและอัตราความเสี่ยงน้อยที่จะไปก่อเหตุกระทำผิดซ้ำได้ ส่วนเรื่องเงื่อนไขพิเศษสำหรับกรณีที่นายทักษิณ เป็นผู้ต้องขังจากคดีทุจริตคอรัปชั่น เจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะมีการสืบเสาะข้อมูลมาอย่างครบถ้วนแล้ว และประเมินว่าหากได้รับการพักโทษ มีผู้อุปการะคือใคร บุคคลที่อุปการะหรือในภาษาปากอาจเรียกว่าผู้ค้ำประกัน มีอาชีพหรือมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งอย่างไรบ้าง และนายทักษิณเมื่อได้รับการพักโทษจะมีอาชีพอะไร ไปพักโทษยังสถานที่ใด มีเงินสำหรับดำรงชีพหรือไม่ และให้ความช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ ซึ่งถ้าข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบเสาะข้อมูลพบว่าไม่มีความสะดวกเพียงพอในด้านใดก็ตาม เจ้าหน้าที่คุมประพฤติก็ประเมินได้ว่าอาจไปก่อเหตุซ้ำได้ หรือทุจริตคอรัปชั่นได้ นี่เป็นหลักพื้นฐานสำหรับการสืบเสาะข้อเท็จจริง
ส่วนประเด็นการรายงานตัวของนายทักษิณหลังได้รับการพักโทษนั้น พ.ต.ท.มนตรี กล่าวว่า ปกติแล้วไม่ว่าผู้ได้รับการพักโทษจากกรณีปกติหรือแบบพิเศษฯ ก็จะต้องรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก ๆ เดือน ไปจนถึง 4 เดือน แต่หลังจาก 4 เดือน ถ้ามีการรายงานตัวตามปกติก็สามารถผ่อนปรนเป็นรายงานตัวทุก ๆ 2 เดือนได้ และถ้าผู้ได้รับการพักโทษยังมีอาการเจ็บป่วยไม่หายดี เจ้าหน้าที่คุมประพฤติก็จะเป็นฝ่ายเดินทางไปเข้าพบเช่นเดิม นอกจากนี้ แม้ระหว่างการพักโทษของผู้ที่ติดกำไล EM อยู่จะมีอาการปกติแต่ถ้ามีอาการเจ็บป่วยในภายหลัง เจ้าหน้าที่คุมประพฤติก็ต้องเดินทางไปพบเองเช่นกัน เราจะไม่ให้กระทบต่อเรื่องสุขภาพของผู้ได้รับการพักโทษเด็ดขาด และจะอนุมัติชงเรื่องให้ได้รับการถอดกำไล EM จากคณะกรรมการพักการลงโทษ
เมื่อถามถึงเรื่องเงื่อนไขหลังได้พักโทษไปแล้วนั้น พ.ต.ท.มนตรี กล่าวว่า หากสถานที่พักโทษอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากจะเดินทางข้ามเขตพื้นที่ไปยังอีกจังหวัดหนึ่ง ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องออกนอกพื้นที่เขตก็ให้แจ้งพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งการออกนอกพื้นที่เขตชั่วครั้งชั่วคราวสามารถทำได้ ส่วนการเดินทางออกต่างประเทศจะไม่สามารถทำได้ และการออกรายงานทีวีต่าง ๆ สามารถกระทำได้ และไม่ต้องแจ้งแก่เจ้าหน้าที่คุมประพฤติ เพียงเจ้าตัวต้องดูว่าเนื้อหาที่จะไปพูดนั้นจะกระทบอะไรหรือไม่ หรือสร้างความเสียหายหรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้นศาลรับคดีล้มล้าง ตุลาการถก6ประเด็น‘ทักษิณ-พท.’/ดันแก้ประชามติไม่รอ180วัน
"ทักษิณ-พท." ระทึก! 9 ตุลาการศาล รธน.ยืนยันนัดประชุมวาระพิเศษ 22 พ.ย.นี้
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
ดร.เสรี หวังศาลเป็นที่พึ่งปชช. ลุ้น 22 พ.ย. รับไม่รับคำร้อง ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างฯ
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถูกสงสัยว่าป่วยทิพย์ ณ ห้อง VVIP ชั้น 14 โรงพ
60ปีเฮได้เงินหมื่น จ่ายไร่ละพันพักหนี้
“นายกฯ อิ๊งค์” ชี้ “ทักษิณ” จ้อการเมืองแค่สีสันสนุกสนาน ไม่ฉุดเศรษฐกิจดิ่ง
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง