'วิรังรอง' ชวนชาวจุฬาฯทั้งเก่าและปัจจุบัน รวมตัวแสดงพลังปกป้อง 'กรมสมเด็จพระเทพฯ'

"วิรังรอง" ชวนชาวจุฬาฯทั้งนิสิตเก่าและปัจจุบันจุฬาฯ ออกมาแสดงพลังปกป้องกรมสมเด็จพระเทพฯ มองปมป่วนขบวนเสด็จไม่ควรเกิด ต้องมีการจัดการดีกว่านี้ เชื่อหากทะลุวังสำนึก-ขอโทษ คนไทยพร้อมให้อภัย

12 ก.พ. 2567 - นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะผู้ประสานงาน ‘กลุ่มจุฬาฯ รักพระเทพฯ’ กล่าวถึงกิจกรรมแสดงจุดยืนปกป้อง กรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ และน้อมถวายกำลังใจทูลกระหม่อมฯ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งประเทศ ซึ่งมีการเชิญชวนนิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน จุฬาฯ ออกมาแสดงพลังปกป้อง และถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน ที่ทรงเป็นนิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เนื่องจากไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของผู้ที่ลบหลู่พระเกียรติยศของพระองค์ด้วยการพยายามขับรถแทรกเข้าไปในขบวนเสด็จ

ทั้งนี้ กิจกรรมจะจัดขึ้น ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวลา 16.00 น. วันที่ 15 ก.พ.ที่จะถึงนี้ โดยแต่งกายสุภาพ ใช้ริบบิ้นหรือผ้าพันคอผืนเล็กสีม่วงพันแขนขวา หรือใส่เสื้อสีม่วง

โดยนางวิรังรอง กล่าวถึงเหตุผลของการเคลื่อนไหวในครัังนี้ ว่า เพราะเรารัก กรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ พวกเราเห็นท่านมาตั้งแต่ยังเยาว์ ท่านเป็นนิสิตจุฬาฯ อยู่กับพวกเราชาวจุฬามา เมื่อมีคนมาล่วงเกินท่านขนาดนี้ เราจึงอยากถวายพระกำลังใจ แสดงความรัก การปกป้อง ไม่ใช่กิจกรรมทางการเมือง โดยจะมีการร่วมร้องเพลงจุฬาฯ ถวายพวงมาลา ถ่ายภาพร่วมกัน และกิจกรรมอื่นๆ อีกเล็กน้อย

ส่วนความเห็นในกรณีที่นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ แกนนำกลุ่มทะลุวัง ขัดขวางขบวนเสด็จ 504 นั้น นางวิรังรอง กล่าวว่า ไม่สมควร แม้ว่าเขาจะอายุ 20 กว่าปี แต่ตนยังมองว่าเขายังเป็นเด็กอยู่ เป็นเยาวชน เป็นอนาคตของชาติ พอเห็นเขาทำอย่างนี้ ตนก็เป็นห่วงว่า ตอนนี้สังคมต่อต้านเขามาก ห่วงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเขาเอง เนื่องจากสังคมยังคงมองว่าสิ่งที่เขาทำไม่ถูกต้อง ตนไม่เห็นด้วยกับการกระทำนี้

นางวิรังรอง กล่าวต่อว่า แต่ตนคิดว่า เขาต้องได้รับข้อมูลผิดๆ มา เนื่องจากเมื่อฟังจากที่เขาพูด ไม่ใช่ข้อมูลจริงเลย อาจจะเริ่มจากคุณครูในโรงเรียนด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น เราต้องเริ่มแก้ไขตั้งแต่ในระดับโรงเรียน เด็กที่เป็นแบบนี้ส่วนหนึ่ง ต้องถามว่า ผู้ปกครองเขาเป็นด้วยหรือไม่ เพราะจากที่พบ หลายบ้านเป็นแบบนี้ ลูกเป็นเหมือนพ่อแม่ ขณะเดียวกัน บางบ้านที่มีลูกเป็นแบบนี้ แต่พ่อแม่เอาไม่อยู่ เป็นเรื่องน่าสงสาร เราจึงควรพยายามชักจูงพวกเขากลับมา พวกเราต้องช่วยกัน อย่าให้เด็กทำผิดแบบนี้ ชีวิตพวกเขาไม่ควรต้องไปจบในคุก หรือมีการขึ้นโรงขึ้นศาลตั้งแต่อายุเท่านี้

“ถ้าเราสูญเสียเด็กเหล่านี้ไป ถ้าเขาชิงชังประเทศ เขาโกรธไปทุกอย่าง เขาไม่มีความสุขที่จะอยู่ในประเทศนี้ อยากจะเป็นอย่างประเทศอื่น ไม่มีใจที่จะรักประเทศเรา แล้วอนาคตประเทศจะเดินต่อไปได้อย่างไร อยากให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหันมามองจุดนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่เพียงทำความเจริญด้านเศรฐกิจ หรือโครงสร้าง แต่ต้องอย่าลืมว่า เหตุการณ์นี้ก็เกิดจากปัญหาที่ไม่ได้แก้ไข ทั้งความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เข้าใจกัน ความสองมาตรฐาน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำการปฏิรูปการศึกษา เด็กดีไม่ใช่เก่งอย่างเดียว ต้องมีคุณธรรม มีจริยธรรมด้วย การนำวิชา หน้าที่ ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ กลับมาสอนในโรงเรียนเป็นเรื่องที่ดี แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือเนื้อหา และเวลา ที่จัดให้อย่างเพียงพอ ต่อการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว“ นางวิรังรอง กล่าว

นางวิรังรอง กล่าวถึงมาตรการการอารักขาว่า มาตรการการอารักขาน่าจะมีพร้อมอยู่แล้ว ทั้งขั้นตอนการปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และวิธีการนั้น เป็นหน้าที่อยู่แล้ว แต่ทำไมผู้บัญชาการตำรวจถึงออกมาช้า ถ้าท่านมีการจัดการที่ดี เรื่องการขับรถแทรกเข้าไปในขบวนเสด็จคงไม่เกิด และนั่นหมายความว่าเหตุการณ์การปะทะที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน

“แต่ประชาชน ที่รักกรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ รู้สึกว่า ผบ.ตร.ออกมาช้าเกินไป แล้วก็ยังไม่มีความชัดเจนในการที่ท่านจะแก้ปัญหาหรือแสดงความชัดเจน ถึงหน้าที่ ที่ท่านจะต้องป้องกันเหตุการณ์ในอนาคตมิให้เกิดขึ้นอีก เพื่อให้ประชาชนได้สบายใจ ทุกวันนี้กลายเป็นว่าประชาชนต้องออกไปปกป้องคุ้มครองขบวนเสด็จกันเอง ถ้าถึงกับขนาดเป็นแบบนี้ เรียกว่าบ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป แม้แต่นายกรัฐมนตรี ก็ดูจะแม้แต่นายกรัฐมนตรี ก็ดูเหมือนจะให้ความสนใจเรื่องนี้น้อยเกินไป ทั้งที่เหตุการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่และเป็นความรับผิดชอบของท่านเช่นกัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาสรุปว่า ไม่มีใครต้องรับผิดชอบอะไรเลย แล้วมันจะต้องเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกกี่ครั้ง” นางวิรังรอง กล่าว

นางวิรังรอง กล่าวย้ำว่า เรื่องพวกนี้ต้องทำทันที ไม่อย่างนั้นจะเพิ่มจำนวน และความรุนแรงไปเรื่อยๆ เนื่องจากประชาชนจำนวนมาก ก็มีพื้นฐานไม่พอใจตำรวจ และกระบวนการยุติธรรมที่มีการจับแล้วปล่อยไปเรื่อยๆ อยู่แล้ว ก็ไม่อยากจะโทษใคร แต่สิ่งที่เห็นจากข่าวคือ ไม่ควรมีภาพแบบนี้ออกมาแล้ว

สำหรับกรณีที่การปะทะกันระหว่าง กลุ่มทะลุวัง กับ ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และนักรบเลือดสีน้ำเงินปกป้องราชบัสลังก์ มีความรุนแรงมากเกินไปหรือไม่นั้น นางวิรังรอง กล่าวว่า ไม่มีใครพูดว่าไม่รุนแรง ไม่มีฝ่ายไหนออกมาชื่นชม แต่ประเด็นคือ ใครมองว่าฝ่ายไหนรุนแรงกว่ากันต่างหาก ถ้าคุณอยู่ฝ่ายนี้ คุณก็ไปโทษว่าฝ่ายนั้นรุนแรง โทษฝ่ายตรงข้าม

”ไม่มีใครอยากให้ความรุนแรงเกิดขึ้น ถ้าตำรวจทำตาม อำนาจหน้าที่ถวายการอารักขา จัดการทันที เหตุการณ์ก่อกวนขบวนเสด็จไม่เกิดขึ้น อย่างที่เห็นในคลิป แต่ก็ไม่อยากจะโทษตำรวจ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย ตั้งแต่ออกมาจากท้องพ่อท้องแม่ก็ไม่เคยคิดว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย ทางด้านตำรวจนั้น หากจะทำอะไรรุนแรงเกินไป ก็อาจจะเป็นการจุดชนวนความรุนแรงมากขึ้น เพราะผู้กระทำมีการถ่ายคลิป และเหมือนการทำคอนเทนต์ อันที่จริงก็ขอชมเชยคุณตำรวจที่ไปพูด ไปพยายามอธิบายด้วยความใจเย็น ทั้งๆ ที่ถูกยั่วยุทั้งคำพูดและการกระทำ แต่หลังจากนั้น ควรจะมีการประสานงานกัน ไม่ให้รถคันนั้นผ่านไปถึงขบวนเสด็จได้ น่าจะมีวิธีที่ทำได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ความรุนแรง และปลอดภัย“ นางวิรังรอง กล่าว

นางวิรังรอง กล่าวด้วยว่า ตนเห็นใจกลุ่มที่ไปปกป้องพระเกียรติ ท่านทั้งหลายเหล่านั้นไป เพราะความรัก กรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ รักสถาบัน เขาจึงทนไม่ได้ ถ้าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอีก ความรุนแรงจะน้อยลงหรือ แทบจะเป็นไปไม่ได้ คงจะมีความรุนแรงมากขึ้นๆ

“ถ้าดูจากหน้าบุคคลที่กระทำ เขาไม่ได้รู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นผิด แม้แต่การที่พูดว่าขอโทษ เขาขอโทษแค่ที่เขาขับรถเร็ว เขาไม่ได้ขอโทษที่บีบแตร หรือวิ่งเข้าไปในขบวนเสด็จ ไม่ได้ขอโทษในประเด็นที่เรารู้สึกว่าเขาไม่ควรทำ เป็นสิ่งที่ประชาชนโกรธ ไม่ได้กล่าวถึงตรงนั้น แล้วยังจะมีการทำกิจกรรม นำป้ายมาให้แปะอีก แล้วศาลปล่อยออกมาให้ทำผิดซ้ำซากได้อย่างไร“ นางวิรังรอง กล่าว

เมื่อถามว่า เหตุการณ์นี้จะบานปลายไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองได้หรือไม่ นางวิรังรอง กล่าวว่า ทุกคนเป็นห่วง แต่คิดว่าจะเป็นหรือไม่นั้น ถามตนคงไม่ได้ ต้องไปถามฝั่งนู้น เพราะเราไม่ใช่ฝ่ายเริ่ม ตนไม่อยากแบ่งฝ่าย แต่ต้องบอกตรงๆ ว่ามีฝ่ายที่เริ่มยั่วยุ พร้อมให้เกิดความรุนแรง ทำคอนเทนต์ แล้วนำไปแชร์ต่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิด

“ต้องถามว่า คุณเริ่มแบบนี้คุณจะทำอีกไหม ถ้าคุณทำอีก ตนคิดว่าบานปลาย แต่ถ้าคุณหยุด ตนเชื่อว่าคนที่เขาไม่พอใจตอนนี้ ก็หยุด เชื่อว่าคนไทย ไม่ใช่คนไม่มีเหตุผล หากคุณรู้สึกว่าคุณทำไม่ดี ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม แล้วคุณหยุดการกระทำนั้นเสีย คนไทยทุกคนให้อภัย คนที่ทำผิด สำนึก แล้วขอโทษ หรือแม้แต่คุณจะไม่ขอโทษก็ได้ ขอเพียงแค่คุณหยุด จาบจ้วง ล่วงเกินสถาบัน ทุกคนอยากที่เอาเวลาไปทำมาหารับประทาน มากกว่าที่จะออกมาตีรันฟันแทงกันกลางถนน“ นางวิรังรอง กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เผยอาการป่วย 'พุฒิพงศ์ ศิริมาตย์' อดีตผู้ว่าฯเชียงราย ผ่าตัดเปลี่ยนไต เม.ย.67

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความตอนหนึ่งว่า ความจริงเกี่ยวกับการป่วยของ ท่านพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (เกษียณอายุราชการ 30 กันยายน 2567

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงดนตรีไทยร่วมกับครูอาวุโสแห่งรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดพระเนตรและทรงดนตรีไทย ใน “การแสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสแห่งรัตนโกสินทร์” พุทธศักราช 2567 ณ

'วิรังรอง' ไล่บี้ 'นช.ทักษิณ' ถามใครขู่พนักงานสอบสวนทำคดี ม.112

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุข้อความว่าข้อเท็จจริงเรื่องพนัก

‘นิพิฏฐ์’ มองมุมการเมือง หรือ ‘ก้าวไกล’ จะก้าวพลาด กรณี ‘บุ้ง เนติพร’

ความตายที่มนุษย์ยอมรับ และ ให้เกียรติกัน คือ'ความตายในสงคราม' หากความตายของบุ้ง เป็นความตายในสงครามแห่งความเชื่อ เราก็ควรเคารพดวงวิญญาณของเธอ

'บุ้ง ทะลุวัง' สังเวยการเมือง บีบรัฐบาลเพื่อไทยเร่งคลี่คลายสถานการณ์

การเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร เสน่ห์ หรือ บุ้ง ทะลุวัง จากอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ระหว่างถูกคุมขังที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์