'กลุ่มทำทาง' ยื่นหนังสือถึง 'กมธ.สาธารณสุข' ขอให้ทำสถานที่ทำแท้งมีทั่วไทย ยันการทำแท้งไม่ได้สวนทางกับการเพิ่มประชากร ลั่น ดีกว่าเกิดเยอะแล้วด้อยคุณภาพ
07 ก.พ.2567 - ที่รัฐสภา กลุ่มทำทาง นำโดย น.ส.สุพีชา เบาทิพย์ ผู้ประสานงานกลุ่มนำทาง ยื่นหนังสือถึง นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสาธารณสุข เรื่องขอให้ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินการ และข้อเสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุขในการเพิ่มจำนวนสถานบริการทำแท้งปลอดภัยที่รับงบประมาณสนับสนุนค่าบริการจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงประกาศรายชื่อสถานบริการทำแท้งปลอดภัยตลอดจนให้ข้อมูลสิทธิสุขภาพในการได้รับการสนับสนุนค่าบริการทำแท้ง และข้อมูลเรื่องการทำแท้งที่ถูกต้องให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อบังคับใช้กฎหมายทำแท้งฉบับแก้ไขใหม่ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง
โดย น.ส.สุพีชา กล่าวว่า อยากฝากเรื่องนี้ไปถึง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ด้วยเพราะได้เห็น นพ.ชลน่านระบุว่าเรื่องทำแท้งต้องให้ลดลง เพราะต้องการเพิ่มประชากร จึงอยากขอเรียนว่าการทำแท้งไม่ได้สวนทางกับการเพิ่มประชากร แต่ปัญหาของประเทศไทยคือ เกิดน้อยด้อยคุณภาพ ซึ่งเราต้องการลดสิ่งที่เรียกว่าด้อยคุณภาพ แต่ไม่ได้บอกว่าการเกิดจากการท้องไม่พร้อมด้อยคุณภาพทุกกรณี คือศักยภาพที่ทำให้การเกิดด้อยคุณภาพ ดังนั้น ต้องเลือกว่าเมื่อไหร่ที่พร้อมจะมีบุตร ถึงแม้ว่าเกิดน้อย แต่ต้องให้มีคุณภาพ ดีกว่าเกิดเยอะแล้วด้อยคุณภาพ และในมาตรา 305 (5) ของกฎหมายอาญาฉบับใหม่ มีการระบุว่าการปรึกษาทางเลือกซึ่งแปลว่าหญิงที่มีอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ แล้วต้องการทำแท้งก็ต้องผ่านการให้คำปรึกษานี้ ซึ่งการให้คำปรึกษาจะมีให้ 2 ทางเลือก คือถ้าต้องการทำแท้ง สามารถทำได้และปลอดภัยจะต้องทำอย่างไรบ้าง และถ้าต้องการท้องต่อก็ต้องบอกว่ามีอะไรสนับสนุนบ้าง รัฐมีอะไรสนับสนุนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สังคมสงเคราะห์ หรือท้องถิ่นมีอะไรสนับสนุนบ้าง ซึ่งตรงนี้ตนคิดว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพของการเกิด และอาจะกระตุ้นทำให้การเกิดที่มีคุณภาพมากกขึ้นอย่างที่กระทรวงสาธารณสุขต้องการ
ด้าน นพ.ทศพร กล่าวว่า กมธ.ให้ความสำคัญเรื่องนี้ แต่การทำแท้งต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยจำจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ ดังนั้นทาง กมธ.จะเชิญกระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สปสช. และผู้ที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือ ถึงเรื่องดังกล่าวเพื่อที่จะพลักดันเรื่องนี้ส่งต่อให้เป็นนโยบายของรัฐบาล และของกระทรวงสาธารณสุข ที่ชัดเจนยิ่งเห็นว่าจะทำอย่างไรให้สามารถเข้าถึงการยุติการการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ