‘อดีตรองอธิการ มธ.’ หดหู่ รมช.กระทรวงใหญ่ ด้อยคุณภาพ ถามหมาตอบแมว

พรรคการเมืองที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ ปากบอกว่าต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่แท้ที่จริงล้วนต้องการแก้เพื่อให้พรรคตัวเองได้เปรียบพรรคคู่แข่งทั้งสิ้น

29 ม.ค.2567-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Harirak Sutabutr ระบุว่า ได้ดูและฟังรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงใหญ่กระทรวงหนึ่งออกรายการสนทนาทางโทรทัศน์รายการหนึ่ง ฟังแล้วหดหู่ใจ ยิ่งเห็นประวัติว่าท่านมาจาก ส.ส.เขตและจบถึงปริญญาเอกด้วย ยิ่งหดหู่ใจหนักขึ้นไปอีก

รัฐมนตรีท่านนี้ ตอบคำถามทุกข้อที่พิธีกรและผู้ร่วมรายการถาม แต่ท่านตอบตรงอยู่คำถามเดียวคือ ท่านได้รับมอบหมายงานในกระทรวงในด้านใดบ้าง นอกนั้นท่านตอบไม่ตรงแม้แต่คำถามเดียว อย่างที่โบราณเรียกว่า “ไปไหนมาสามวาสองศอก” หรือเดี๋ยวนี้อาจจะเรียกว่า “ถามหมาตอบแมว” นั่นทีเดียว มิใยที่ผู้ถามจะพยายามเรียบเรียงคำถามใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่ท่านก็ยังตอบแบบดำน้ำออกทะเลอยู่นั่นเอง

การตอบคำถามของรัฐมนตรีท่านนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านทั้งไม่เข้าใจคำถามแต่ทำเหมือนเข้าใจ และท่านไม่มีความรู้พอที่จะตอบคำถามได้แต่ก็ยังตอบ ไม่น่าเชื่อว่าจบถึงปริญญาเอก พิธีกรและผู้ร่วมรายการคงจะปวดหัวกับการตอบของท่าน และต้องใช้ความอดทนสูงมากเพราะรายการยาวเกือบ 1 ชั่วโมง

นี่คือผลพวงของระบอบประชาธิปไตยของไทย ทั้งที่มีการเลือกตั้งกันมานานกว่า 90 ปี แต่คนไทยเราก็คงยังเลือกคนที่ด้อยคุณภาพเข้ามาอยู่ในสภาเต็มไปหมด คำว่าด้อยคุณภาพในที่นี้หมายถึงทั้งคนที่ไม่มีความรู้แต่เป็นคนดี และคนที่มีความรู้แต่ก็เป็นคนเลว ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ส.ส. ทุกคนในสภาจะด้อยคุณภาพ แต่หมายความว่าในสภามีส.ส.ด้อยคุณภาพมากเกินไป

ที่น่าหดหู่อีกประการก็คือ การที่มหาวิทยาลัยบางแห่ง ซึ่งก็มีหลายแห่ง สร้างหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก ออกมารองรับนักการเมืองที่ต้องการยกสถานภาพทางการศึกษาของตัวเอง ซึ่งก็มีนักการเมืองจำนวนมากไปสมัครเข้าเรียนและก็จบปริญญาโท ปริญญาเอกมาหลายต่อหลายคน เราจึงเห็นนักการเมืองใช้คำนำหน้าว่าดอกเตอร์กันเกลื่อนไปหมด ไม่ทราบว่าเขาเรียนกันอย่างไร มีการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์กันหรือไม่ แต่มหาวิทยาลัยเหล่านี้น่าจะทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำจากหลักสูตรเหล่านี้

ผู้ที่กำลังจะทำการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งจะทำประชามติถึง 3 ครั้ง เฉพาะค่าทำประชามติก็ต้องใช้เงินกว่าหมื่นล้าน ยังไม่รวมค่าจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ค่าตอบแทน ส.ส.ร. ค่าจัดประชุม ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย รวมแล้วอาจจะถึง 2 หมื่นล้าน อยากถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้เราได้ส.ส.ที่มีคุณภาพสูงเป็นส่วนใหญ่เข้าสภาได้หรือไม่ ถ้าได้ แม้จะเสียเงินสักแสนล้านก็น่าจะต้องยอมเสีย หากไม่ได้ อย่าว่าแต่หมื่นล้าน ล้านเดียวก็ไม่ควรเสีย เพราะรัฐธรรมนูญฉบับเดิมก็ไม่มีอะไรเสียหาย สว.ที่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีก็กำลังจะหมดไปในเดือนพฤษภาคมและก็จะไม่มีสว.แต่งตั้งอีกแล้ว

ประเด็นเดียวที่ทำให้นักการเมืองไม่พอใจนอกจากกรณี สว.คือรัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ได้ยาก หมวดหนึ่งและหมวดสองแก้ไม่ได้เลย หากจะร่างใหม่ทั้งฉบับ ก็ต้องทำประชามติ ซึ่งก็สมควรแล้วมิใช่หรือ เพราะพรรคการเมืองที่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ ปากบอกว่าต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่แท้ที่จริงล้วนต้องการแก้เพื่อให้พรรคตัวเองได้เปรียบพรรคคู่แข่งทั้งสิ้น

น่าหดหู่ไหมครับ ประเทศไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วันนอร์' ลุยถกแก้รธน. 14-15 ม.ค. ถือเป็นข่าวดีปีใหม่ หวังทันเลือกตั้งปี 70

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวถึงการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ว่า ได้คุยกับวิป 3 ฝ่ายไปแล้วว่าเรามีร่างรัฐธรรมนูญที่แก้รายมาตรา 17 ฉบับ และยังมีร่างที่แก้ทั้งฉบับของพรรคประชาชน(ปชน.)

กดดันรางวัลเยอะ ‘แพทองธาร’ ดีใจนึกว่ามีแต่คนต่อว่าในโซเชียลมา 3 เดือน!

"อิ๊งค์" กดดันหนัก! บริหารประเทศ 3 เดือนได้รางวัลเพียบ ดีใจโพลสำรวจ ปชช.ให้เบอร์ 1 “นักการเมืองแห่งปี” นึกว่ามีแต่คนต่อว่าในโซเชียล "หมอวรงค์" เฉ่งยับ!

'อิ๊งค์' ปลื้มโพลยกเป็น 'นักการเมืองแห่งปี' รับปากปีใหม่จะไม่สร้างดรามา

น.ส.แพทองธาร ชินวัตรนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนอร์ทกรุงเทพโพล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เปิดผลสำรวจประชาชน หัวข้อ “นักการเมืองแห่งปี” โดยประชาชน 15.14% เลือกน.ส.แพทองธาร เป็นนักการ

‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน