'นักวิจัย' ฟันธง 'แลนด์บริดจ์' สร้างไม่เสร็จ ตกม้าตายตรง 'การประเมินความคุ้มทุนแบบลวกๆ'

24 ม.ค.2567 - ดร.สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงโครงการแลนด์บริดจ์ ว่า

วันนี้มีนักข่าวพยายามโทรหาผม ขอข้อคิดเห็นเรื่อง Landbridge.. ผมติดงานรับสายไม่ทันรวม 3 สาย
ไม่ต้องมาสัมภาษณ์ผมในประเด็นสิ่งแวดล้อมหรอก มันจะสร้างไม่เสร็จแน่นอน
เพราะตกม้าตายตรง "การประเมินความคุ้มทุน แบบลวกๆ" จากการพัฒนาโครงการฯ
(ที่ชอบหมกเม็ดกันไว้)
.
ลองไปอ่าน "รายงาน Landbridge ของ สนข." ดีๆ จะพบว่า :-

1) โครงการที่จะมาสร้าง ไม่แน่ชัดว่าจะมีโครงการอะไรบ้าง
อาทิ ท่อส่งน้ำมันในโครงการ ไม่มีอยู่รายงานของ สนข.
แต่ในร่างรายงาน กมธ วิสามัญศีกษาโครงการ Landbridge ของสภาผู้แทนฯ กลับมีท่อส่งน้ำมันโผล่มา

2) การคำนวณต้นทุนของภาครัฐ ในการจัดทำโครงการนี้ ไม่ได้มีการรวมรายได้จากภาษีที่รัฐต้องเสียไป (Tax Revenue Forgone) เนื่องจากการลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อดึงดูดการลงทุน
เช่น รายงาน สนข. ระบุว่า "โครงการ Landbridge มีความคุ้มค่ามาก โดยอ้างถึงโครงการฯ จะมีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 16.18%
และคืนทุนภายในระยะเวลา 40-49 ปี"
แต่ในความเป็นจริง สนข. ไม่ได้เอา Tax Revenue Forgone มาคำนวณร่วมด้วย ..
ลองคำนวณดีๆ จะพบว่า อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ จะต่ำเตี้ยติดดิน และอาจเข้าสู่ภาวะขาดทุนอย่างหนัก

3) ในโครงการ Landbridge สืบเนื่องจาก
ข้อมูลไม่เพียงพอและคลุมเครือ (Insufficient & Unclear Information)
ย่อมส่งผลให้ต้นทุนของภาครัฐในโครงการ Landbridge เป็น การประมาณการที่ต่ำกว่าความเป็นจริง (Underestimation)

4) ต่างชาติที่ไหนจะมาลงทุนในโครงการ Landbridge ต่อให้โครงการฯ สามารถก่อสร้างได้และเปิดทำการจนเต็มศักยภาพแล้ว โครงการนี้จะยังคงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมการเดินเรืออยู่หรือไม่?
หากเปรียบเทียบกับท่าเรือที่มีอยู่เดิมในมาเลเซียและสิงคโปร์
เมื่อ กฏของการแข่งขัน ที่สำคัญที่สุด คือ
"Better Never Than Later (BNTL)"
มันเป็น Fact มันเป็นสัจธรรม
ที่คนมาที่หลัง .. มักจะตกขบวนรถไฟก่อนใครเพื่อน
.
ฝากไว้ให้คิดต่อ!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแน่ 'คมนาคม' เร่งศึกษาค่าธรรมเนียมรถติด

“คมนาคม” เดินเครื่องศึกษามาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด เปิดโมเดล 4 ประเทศ “อังกฤษ-สิงคโปร์-สวีเดน-อิตาลี” พบช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดอย่างเป็นรูปธรรม ด้าน สนข. เร่งศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ชี้ช่วยดึงดูดประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น เชื่อมระบบฟีดเดอร์-ขนส่งหลัก หนุนนโยบายค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย