ร้อง 'สตง.' สอบ 'ผู้ว่าฯกทม.-ผอ.โยธา' พิรุธพัฒนาคลองช่องนนทรี

‘ศรีสุวรรณ’ บุก สตง. สอบ ‘ผู้ว่าฯกทม.- ผอ.โยธา’ จับพิรุธโครงการพัฒนาคลองช่องนนทรี 980 ล้านบาท

24 ธ.ค. 2564 – เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อผู้ว่า สตง. เพื่อขอให้ตรวจสอบและไต่สวนและวินิจฉัย กรณีกรุงเทพมหานคร โดยสำนักการโยธา ดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีและการพัฒนาสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี วงเงินประมาณ 980 ล้านบาท ว่าเป็นการใช้จ่ายเงินแผ่นดินไปในลักษณะที่คุ้มค่า มีผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพ หรือกระทำการอันอาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างฯหรือไม่

จากการตรวจสอบพบว่า การจัดทำโครงการดังกล่าวมีข้อพิรุธหมายประการที่เป็นข้อสงสัยของสังคม อาทิ การให้ที่ปรึกษาโครงการมาออกแบบโครงการให้ “ฟรีๆ” ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนหรือไม่, การเขียน TOR เพื่อเอื้อให้เอกชนบางรายชนะการประมูลหรือไม่, งบประมาณที่ใช้เมื่อเทียบกับเนื้องานแพงเกินไปหรือไม่ นอกจากนั้น เป็นข้อสงสัยและข้อครหาว่า การนำงบกลางมาใช้จ่ายในโครงการเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากไม่เป็นเหตุฉุกเฉินหรือกรณีฉุกเฉินที่ผู้ว่าฯจะสามารถใช้อำนาจในการอนุมัติใช้งบกลางมาเพื่อการดังกล่าวได้

ส่วนรูปแบบการก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้นั้น มีการก่อสร้าง “ถาดคอนกรีตขนาดยักษ์” วางคร่อมเหนือคลอง แม้ว่าการปิดหน้าคลองบางส่วนอาจไม่กระทบด้านคุณภาพน้ำโดยตรง แต่สิ่งที่น่ากังวลและไม่เคยมีคำอธิบายคือ การบำรุงรักษา ขยะ การอุดตัน การขุดลอก จะทำอย่างไร ส่วนต้นไม้เดิมทั้งใหญ่และเล็กที่ขุดล้อมเอาออกไปพักฟื้นดูแลที่สำนักงานเขตสาทรและสำนักงานเขตคลองสามวาตั้งแต่ 20 ส.ค.64 นั้น ไม่ได้ล้อมย้ายไปทั้งหมด มีบางต้นอาจไม่รอดทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งคำนวณเป็นมูลค่าทางทรัพย์สินของ กทม.ได้ เช่นนี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ที่สำคัญ ไม่ปรากฎว่ามีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (IEEหรือ EIA) เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเข้าข่ายเป็นอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 ที่มีความยาวกว่า 4.5 กิโลเมตร การออกแบบภูมิสถาปัตย์โดยมีตอม่อและโครงสร้างที่ทำด้วยปูนซีเมนต์ขัดขวางทางไหลของน้ำ และเป็นการปิดกั้นออกซิเจนและแสงแดดลงไปในน้ำ ผิดหลักชีวกลศาสตร์ และถือเป็นการบุกรุกขัดขวางทางเดินน้ำ แต่ทำไมไม่มีความผิด เมื่อเทียบเคียงกับกรณี กทม.ไล่รื้อชาวชุมชนที่ปลูกบ้านริมคลองที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ กทม.กลับกล่าวหาว่าเป็นการบุกรุก ฯลฯ จนเป็นคดีความกันอยู่ในศาลยุติธรรมและศาลปกครองมากกว่า 400 คดีในขณะนี้

“กรณีดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จำต้องนำความมาร้องเรียนต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อดำเนินการตรวจสอบ หากพบว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 รวมทั้งอาจมีการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 แล้วไซร้ให้เอาผิดผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไป” นายศรีสุวรรณ ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด