'ทนายยิ่งลักษณ์' ไขข้อข้องใจ ทำไมมีคำวินิจฉัย 2 ศาลแล้ว รอดความผิดทางอาญา

27 ธ.ค.2566 - นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความประจำตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกฟ้องไร้ความผิดทางอาญาและให้ถอนหมายจับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ว่า

หลายคน ยังตั้งคำถามแบบเอาเรื่อง
หลายคน ยังงงทำไม 2 ศาลแล้วรอด

ผมขอแสดงความเห็นจากที่ได้ฟังคำวินิจฉัยของศาลตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ และตามที่เราเข้าใจและได้ต่อสู้ไว้ในคดี มีสาระสำคัญว่า

แม้จะมีคำวินิจฉัยของ 2 ศาลมาแล้ว แต่โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ต้องประกอบด้วย การกระทำ ที่ต้องมีเจตนา และข้อหาปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริตนั้น จำต้องมีเจตนาพิเศษด้วย

ศาลฎีกาฯ ท่านจึงต้องพิจารณาและวินิจฉัยจากพยานในการไต่สวนของ ป.ป.ช. ให้ได้ข้อเท็จจริงและมีพยานหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ให้แน่ใจว่าจะลงโทษจำเลยได้ ด้วย
#ความน่าสนใจของทางนิติศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 ประการ คือ
1.นิติวิธีทางกฎหมาย
2.เจตนารมย์ของกฎหมาย

ทั้งสองประการส่งผลต่อการตีความและการให้เหตุผลในการวินิจฉัยของศาลที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนตัวมองว่าศาลรัฐธรรมนูญ อาจตัดสินตามกฎหมายและยังต้องมองมิติในด้านทางการเมืองในเวลานั้นด้วย

ข้อพิจารณาเพิ่มเติม (ความเห็นส่วนตัว)

ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 211 วรรค 4 บัญญัติให้ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสรพ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งขอบเขคของการมีผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนี้ แยกออกเป็น

1. ผลของคำวินิจฉัย ผูกพันทุกองค์กร

2.เหตุผลที่ศาลใช้จะผูกพันทุกองค์กร จะต้องเป็นเหตุผลที่เป็นสาระสำคัญในการวินิจฉัยเท่านั้น ไม่รวมถึงเหตุผลแวดล้อมหรือเหตุผลประกอบที่ศาลรัฐธรรมนูญหยิบยกเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยของตน

สำหรับกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 9/2557 ผลผูกพันคือ ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุด ส่วนเหตุผลที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการก้าวก่ายแทรกแซง เข้าใจว่าเป็นเพียงเหตุผลแวดล้อมหรือเหตุผลประกอบที่ศาลหยิบยกมาเพื่อสนับสนุนคำวินิจฉัยเท่านั้น

บางคดีสำคัญก่อนหน้านี้ ศาลยุติธรรม ก็รับฟังพยานหลักฐานจากการสอบสวนและทางนำสืบในชั้นพิจารณาจากพยานหลักฐาน แตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญ ที่จำเลยยกเอาคำวินิจฉัยที่เป็นคุณมาใช้ต่อสู้ในศาล แต่เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาถึงสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ส่วนศาลยุติธรรม จะพิจารณาวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาจากการกระทำในทางอาญาให้ชัดแจ้งจึงจะลงโทษหรือยกฟ้อง.

บันทึกหมายเหตุคดีนายกรัฐมนตรีใช้อำนาจโอนย้ายข้าราชการระดับสูง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธนกร' ฟาด 'พิธา' หยุดโยงมั่ว ซัดพรรคการเมืองจะอยู่หรือตายเพราะทำตัวเอง

'ธนกร' ฟาด 'พิธา' ตรรกวิบัติ ชี้ พรรคการเมืองไม่ได้ตายด้วยองค์กรอิสระ แต่ตายเพราะทำตัวเอง ชี้ กกต.-ศาลวินิจฉัย ยึดตามข้อกฎหมาย เชื่อ ถ้าไม่ทำผิดก็ไร้โทษ จี้ หยุดพ่นหลักการพิษ โยงไกลถึงรัฐประหาร ทำปชช.สับสน ไม่เชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมของประเทศได้

ย้อนตำนานจำนำข้าว 'ณัฐวุฒิ' ใช้โวหารตอบโต้ เป็นอุทาหรณ์ให้ 'อุ๊งอิ๊ง' จะจบแบบ 'ยิ่งลักษณ์'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กกรณี น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตผอ.ครอบครัวเพื่อไทย และอดีตแกนนำคนเสื้อแดง เป็นที่ปรึกษาของนายกฯ ว่า

อย่าทำผิดซ้ำ! ‘ถวิล’ เตือนตำแหน่ง ‘เลขาฯสมช.’ ไม่ใช่กิจการส่วนตัวใคร

อดีตเลขาฯสมช.เตือนตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่ใช่บริษัท หรือกิจการส่วนตัวของใครๆ  ที่จะบงการ หรือ แต่งตั้งกันตามอำเภอใจ

ต้านส.ส.เพื่อไทยแก้ประมวลจริยธรรม เหตุนักการเมืองไทยหน้าด้านไร้จิตสำนึกเยอะ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า นักการเมืองไทยหน้าด้านเยอะควรมีประมวลจริยธรรมนักการเมือง?

การเมืองไทยเปลี่ยนไปแล้ว 'อดีต40สว.' ภูมิใจปชต.สุจริตกำลังจะเกิดขึ้น จากคำวินิจฉัยศาลรธน.

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา 1ใน 40 สว.ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ถอดถอนนายเศรษฐา ทวีสิน และนายพิชิต ชื่นบาน ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี