'กมล' วิเคราะห์ อำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของไทย เตือนหากไม่เข้าร่วม BRICS ยังผูกอยู่กับดอลลาร์ เงินบาทจะไร้ค่าไปด้วย หายนะทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง จับตา องค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ SCO จะแทนยูเอ็น
27 ธ.ค.2566 - นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่อง อำนาจภูมิรัฐศาสตร์ของไทย มีเนื้อหาดังนี้
การเมืองระหว่างประเทศต้องรู้เท่าทันและไม่เลือกฝ่าย หรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดให้เป็นบ่วงรัดคอ
ยังไม่สายที่ไทยจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นตัวของตัวเองอย่างมีจุดยืนที่ชัดเจนในความถูกต้อง อย่างมีหลักการในการเมืองระหว่างประเทศ ไม่คลุมเครือ คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติที่ต้องมาก่อน
ต้องตระหนักในความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์( Geopolitics)ของชาติและรู้จักใช้เป็นอำนาจต่อรอง คือ ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ และ ASEAN มีชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน ด้านหนึ่งอ่าวไทย ซึ่งเชื่อมต่อถึงทะเลจีนใต้ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน ฟิลิปปินส์
ไทยไม่ควรตกขบวนกระแสโลกอนาคตในการรีบเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรนานาชาติซึ่งจะมามีบทบาททั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจแทนยูเอ็น เวิร์ลแบงค์และไอเอมเอฟ นั่นคือ กลุ่ม BRICS ( BRICS คือ องค์กรระหว่างประเทศที่เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2010 โดย ประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และอัฟริกาใต้ ต่อมามีอีกหลายประเทศเข้าร่วม จนกลายเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในปีหน้า วันที่ 1 มกราคม 2024 ประเทศอาเยนตินา อียิปต์ เอธิโอเปีย อิหร่าน ซาอุดิอาเรเบีย สหภาพอาหรับเอมิเรต จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกเต็มตัว และ BRICS เตรียมตัวออกเงินสกุล บริกส์ที่มีทองคำค้าประกัน และใช้ซื้อขายน้ำมันและการค้าระหว่างประเทศทั่วไปแทนเงินสกุลดอลลาร์มาร่วม 80 ปีในภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
หากไทยไม่เข้าร่วมองค์ บริกส์ และไม่เอาทุนสำรองไปซื้อเงินตราบริกส์มาเป็นทุนสำรองบ้าง แต่ยังมะงุมมะหงาหราผูกอยู่กับดอลลาร์ ซึ่งในอนาคตจะไม่มีประเทศไหนยอมรับอีกต่อไป เพราะไม่มีทองคำมาค้ำประกันเหมือนเงินตราบริกส์
ดอลลาร์จะไร้ค่า และเงินบาทก็จะไร้ค่าไปด้วย เพราะไปผูกกับเงินสกุลที่เสมือนเศษกระดาษ นำไปซื้อสินค้าหรือชำระหนี้ระหว่างประเทศไม่ได้
ภาพทัศน์นี้คือ หายนะทางเศรษฐกิจยิ่งเสียกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งเสียอีก
และ
อีกองค์กรหนึ่ง คือ องค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ SCO -The Shanghai Cooperation หรือ องค์กรความร่วมมือทางด้านความมั่นคงระหว่างประเทศร่วมกันทางด้านการทหาร การเมือง และ เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียและยุโรป ซึ่งก่อตั้งโดยประเทศจีนและรัสเซีย ในปี 2001
เป้าหมายขององค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้ คือ การร่วมมือกันรักษาเสถียรภาพในด้านความมั่นคงร่วมกัน โดยการต่อต้านการก่อการร้ายนานาชาติ ต่อต้านกลุ่มศาสนาสุดโต่ง ต่อต้านการแยกดินแดนของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่อต้านการค้ามนุษย์ การค้าอาวุธเถื่อน การค้ายาเสพย์ติดข้ามชาติ
องค์กรนี้กลายเป็นองค์กรภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลกในด้านขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร
SCO ใหญ่กว่าองค์การนาโต และจะมาถ่วงดุลองค์การนาโตในการร่วมกันรักษาสันติภาพในโลก
SCO ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80 ของยุโรปและเอเชีย - Eurasia มีประชากรรวมคิดเป็นร้อยละ 40 ของประชากรโลก มีจีดีพีคิดเป็นร้อยละ 20 ของโลก
ประเทศสมาชิกถาวรมียู่ 8 ประเทศ คือ
1. The Republic of India, 2.The Republic of Kazakhstan, 3. The People’s Republic of China, 4. The Kyrgyz Republic, 5 The Islamic Republic of Pakistan, 6. The Russian Federation, 7.The Republic of Tajikistan, และ 8. The Republic of Uzbekistan;
SCO มีประเทศเข้าร่วมสังเกตุการณ์ 4 ประเทศ ได้แก่ The Islamic Republic of Afghanistan, the Republic of Belarus, the Islamic Republic of Iran and the Republic of Mongolia;
SCO มีประเทศหุ้นส่วน 6 ประเทศ ได้แก่ the Republic of Azerbaijan, the Republic of Armenia, the Kingdom of Cambodia, the Federal Democratic Republic of Nepal, the Republic of Turkey, and the Democratic Socialist Republic of Sri Lanka.
ปี 1996 เวทีการเจรจานี้ได้ยกระดับขึ้นเป็นการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านความมั่นคงระหว่างประเทศภาคีภายใต้ชื่อกลุ่ม Shanghai Five
ยูเอ็นหรือ องค์การสหประชาชาติซึ่งถูกครอบงำด้วย สมาชิกสภาความมั่นคงถาวร 5 ประเทศที่มีสิทธิ Veto ทุกเรื่ิองทุกประเด็น ซึ่งไม่เป็นธรรมกับสมาชิกอื่นๆอีกกว่าร้อยประเทศ
บทบาทของยูเอ็นในการเป็นรัฐบาลโลกแสดงความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการมีมติให้อิสราเอลยุติการโจมตีพลเรือนในกาซา ซึ่งมีเด็กถูกฆ่าตายไปแล้วกว่า 7000 คนและบาดเจ็บอีกหลายพันคน และผู้หญิงอีกกว่า 4000 คน
ในอนาคตองค์กรความร่วมมือเชี่ยงไฮ้จะกลายเป็นเวทีในการจัดระเบียบโลกใหม่ที่ทุกๆประเทศมีเสียงเท่ากันแทนยูเอ็นอย่างแน่นอน
ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม อินเดีย กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และพม่าล้วนเข้าร่วมแล้วทั้งสิ้น รวมทั้งอิหร่าน
เวียดนามเป็นตัวอย่างที่ดีที่คบทั้งอเมริกา และจีน! แต่ไทยยังอิงกับอเมริกาไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม-ลาว ไทยจึงขาดมิตร รอบบ้าน ล้วนไม่ไว้วางใจไทย
เวียดนามถูกอเมริการุกราน ทำสงครามมากว่า 20 ปี ประชาชนถูกระเบิดนาปาล์มและระเบิดอื่นๆถล่มเละทั้งประเทศ มีประชาชนตายและบาดเจ็บไปกว่า 10 ล้านคน แต่ก็เอาชนะอเมริกาได้ ในขณะเดียวกันก็ถูกจีนทำสงครามสั่งสอนมีทหารเสียชีวิตไปไม่น้อย
เวียดนามเปิดสัมพันธ์กับอเมริกาใหม่ มีการลงทุนร่วมกัน และยอมให้กองทัพเรืออเมริกันมาใช้ฐานทัพเรือในเมืองดานัง และรับเงินช่วยเหลือทางทหารจากอเมริกา
ในขณะเดียวกันก็ขยายความสัมพันธ์กับจีนไปพร้อมๆกันด้วย มิตรแท้และศัตรูถาวรในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องล้าสมัยและตกยุคสงครามเย็น
ไทยกำลังเดินนโยบายที่ตกยุคของสงครามเย็น และอาจจะได้รับผลกระทบตามมาทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง เพราะจีนได้พัฒนาจนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองลำดับ 2 ของโลกอย่างที่ไม่มีใครปฏิเสธได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ย้อนวิกฤตต้มยำกุ้ง คนอื่นล่มจมแต่มันรวยคนเดียว
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก Nantiwat Samart หัวข้อ เก่งไม่กลัว กลัวโกง