หมอยงเตือน! ไข้ไวรัสซิกาอาละวาดหนักใน กทม.

27 ธ.ค.2566 - นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ซิกา (Zika) ขณะนี้พบได้มาก โดยเฉพาะใน กทม.” ระบุว่า โรคไข้ไวรัสซิกา นำโดยยุง ลักษณะคล้ายไข้เลือดออก ความรุนแรงน้อยกว่า แต่บางรายอาจทำให้เกิดเส้นประสาทอักเสบ และมีผลข้างเคียงที่รุนแรงถึงหยุดหายใจได้ และจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งในสตรีตั้งครรภ์ เด็กในท้องจะพิการทางสมอง มีศีรษะเล็ก

ขณะนี้มีการระบาดของโรคนี้ ค่อนข้างมากในเขตกรุงเทพฯ แม้กระทั่งในวัดก็ไม่เว้น และเข้าใจคิดว่าเป็นโรคหัด จริงๆ แล้วถ้าเป็นโรคหัดจะต้องมีอาการของทางเดินหายใจเช่นเจ็บคอ ไอ แต่ไวรัสซิกา จะไม่มีอาการดังกล่าว

กลุ่มอาการไข้ไวรัสซิกา ที่ต้องแยกจากไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้สูงรุนแรงและเกล็ดเลือดต่ำ ที่นำโดยเห็บ (Severe Fever with Thrombocytopenic syndrome)

ไข้ไวรัสซิกา ที่รุนแรง จะมีอาการที่เรียกว่า Guillain-Barre syndrome (GBS) อาการของเส้นประสาทอักเสบ มีการอ่อนแรง และรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้

โรคนี้นำโดยยุงลาย เช่นเดียวกับไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย

การป้องกันคือไม่ให้ยุงกัด ใส่เสื้อสีอ่อนปกคลุมให้มิดชิด ใช้ยาทากันยุง รวมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Siamsquare จัดเวที countdown ใหญ่ ให้วงเยาวชนไทยได้เป็นดาว!! ตอกย้ำการเป็นพื้นที่แห่งโอกาสของดาวดวงใหม่ของคนไทยทุกดวง

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมส่งท้ายปี 2024 กับเยาวชนและคนไทย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) , อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน