‘รสนา’ บี้ ’พีระพันธุ์’ คุย ‘พณ.’ แก้เผื่อเหลือเผื่อขาด อย่าให้ปั้มเอาเปรียบ ปชช.

25 ธ.ค.2566-น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพมหานคร โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า คำว่า“เผื่อเหลือเผื่อขาด “ มิได้มุ่งหมายให้ปั๊มเติมน้ำมันขาดได้ แต่มุ่งบังคับให้ปั๊มต้องสำรองน้ำมันเพิ่มเพื่อให้ลูกค้าได้น้ำมันเต็มตามจำนวนซื้อ ใช่หรือไม่

สื่อมวลชนลงข่าว อธิบดีกรมการค้าภายในอ้างปั๊มเติมน้ำมันไม่เต็มไม่ผิดกฎหมาย “ค้าภายใน”แจงดรามา เติมไม่เต็มลิตร ปั๊มน้ำมันแก่งคอย ไม่ผิดกฎหมาย ระบุขาดได้ไม่เกิน 1% ตามมาตรฐานสำนักงานชั่งตวงวัดโลก “ ดิฉันมีความเห็นว่ากระทรวงพาณิชย์น่าจะเข้าใจความหมายเผื่อเหลือเผื่อขาดผิดหรือไม่ ตามมาตรา26 ของพรบ.มาตรา ชั่ง ตวง วัด ที่บัญญัติว่า “มาตรา ๒๖ ความเที่ยงของเครื่องชั่งตวงวัดที่ใช้ในกิจการตามมาตรา ๒๕ ต้องอยู่ภายในอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามที่กําหนดในกฎกระทรวง”

อธิบดีออกมาให้สัมภาษณ์ว่าปั๊มเติมน้ำมันไม่เต็มไม่ผิดกฎหมาย ดิฉันไปเปิดพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน คำว่า “เผื่อเหลือเผื่อขาด” ซึ่งแปลชัดเจนโดยไม่ต้องตีความว่า ”ที่สำรองไว้อย่างพอเพียงป้องกันการขาด , ที่เตรียมไว้เผื่อขาดหรือไม่พอ” ดังนั้น สาระหลักของคำนี้ในพรบ.และในระเบียบของสำนักงานชั่งตวงวัดว่า”อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด” จึงควรหมายความว่า ในอัตราการไหลที่ทดสอบระหว่างใช้งาน เมื่อพบว่าน้ำมันที่ไหลจากหัวจ่าย ในจำนวน 5ลิตร จะขาดไป 50 มิลลิลิตร ในจำนวน 20 ลิตรจะหายไป 200 มิลลิลิตร และในจำนวน 50 ลิตร น้ำมันจะขาดหายไป 500 มิลลิลิตร หรือ 1% นั้น แสดงว่าต้องเผื่อไว้ 1%เพื่อให้ลูกค้าได้น้ำมันเต็มจำนวนต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ 1% ไม่ใช่ยอมรับว่าขาดได้1%

สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ต้องทำคือกำหนดคำนิยามให้ถูกต้องตามสาระที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้กฎกระทรวง และระเบียบสำนักชั่งตวงวัดปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป คือ ต้องควบคุมให้ผู้ประกอบการปั๊มน้ำมันต้องเผื่อจำนวนน้ำมันไว้ 1% เพิ่มเติมให้ลูกค้าที่มาซื้อน้ำมัน เพื่อให้ลูกค้าได้น้ำมันเต็มตามจำนวนที่จ่ายเงินซื้อ ตามความหมายของคำว่า ”เผื่อเหลือเผื่อขาด” ไม่ใช่ไปรับรองว่าปั๊มน้ำมันสามารถเติมน้ำมันขาดได้ 1% ตามกฎกระทรวง ที่น่าจะขัดกับพ.ร.บ.มาตรา ชั่ง ตวง วัด ที่เป็นกฎหมายหลัก ใช่หรือไม่

ดูความหมายของคำว่า ”เผื่อเหลือเผื่อขาด”ในกรณีการสรรหาบุคคล เช่น หากต้องการ 5คน อาจเผื่อเหลือเผื่อขาดอีก 3 คนในการเลือกเพื่อให้ได้5 คน เพราะจำนวนที่ต้องการคือ 5คน ไม่ใช่ 4คน ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อลูกค้าจ่ายเงินเต็มจำนวนเพื่อซื้อน้ำมัน 50 ลิตร ลูกค้ามีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมายที่ต้องได้รับน้ำมัน 50 ลิตรเต็มตามจำนวนเงินที่จ่าย สำนักชั่งตวงวัดต้องกำหนดวิธีการว่าจะต้องให้ลูกค้าได้น้ำมันตามสิทธิของเงินที่จ่ายอย่างไร จะมาอ้างว่าตามกฎหมายรับรองให้ผู้ค้าน้ำมันเติมน้ำมันขาดได้ 500 มิลลิลิตร หรือครึ่งลิตร แต่สามารถคิดเงินจากลูกค้าเต็มจำนวน จะถูกต้องชอบธรรมได้อย่างไร?!

ดิฉันเห็นว่าอธิบดีกรมการค้าภายในที่ออกมาป้องปั๊มน้ำมันว่าเติมน้ำมันไม่เต็ม ไม่ผิดกฎหมายนั้น เป็นการตีความกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ที่เอื้อผู้ประกอบการ แต่ไม่คุ้มครองผู้บริโภค และน่าจะขัดต่อมาตรา 26ในกฎหมายหลัก ใช่หรือไม่

มีอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาท่านหนึ่งได้ให้ความเห็นกับดิฉันว่า “จะอ้างพรบ.มาตราชั่งตวงวัดพ.ศ.2542 และกฎกระทรวงเป็นข้อต่อสู้ว่ากฏหมายดังกล่าวอนุญาตให้ปั๊มเติมน้ำมันขาดได้ 1% โดยคิดราคาเต็มนั้น ไม่ได้ เพราะ พรบ.และกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นเพียงกฏหมายอนุญาตให้ใช้มาตรวัดปริมาณน้ำมันที่มีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ได้เป็นกฎหมายอนุญาตให้เติมขาดแต่คิดเต็มราคาได้

ดังนั้น การเติมน้ำมันขาดจึงคิดเต็มราคาไม่ได้ หากขืนทำ นอกจากจะผิดสัญญาทางแพ่งแล้ว ยังมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนด้วย ซึ่งไม่ใช่มีความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาเท่านั้น แต่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่มีโทษหนักขึ้น เพราะไม่ได้เติมขาดและคิดราคาเต็มจากลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้น แต่ทำวันละหลายสิบราย และเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดที่ให้สัมภาษณ์ว่าปั๊มสามารถเติมน้ำมันขาดได้นั้น มีข้อพิจารณาว่ามีความผิดฐานสนับสนุนให้ฉ้อโกงประชาชนและผิดกฎหมายอาญา ,กฎหมายป.ป.ช. และวินัยข้าราชการฐานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยหรือไม่”

ท่านอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาท่านนั้นยังเสนอว่า “น่าจะทำเป็นคดีตัวอย่าง โดยลูกค้าที่ได้รับความเสียหายสัก 10 ราย พากันไปแจ้งความต่อตำรวจให้ดำเนินคดีกับปั๊มน้ำมัน  เมื่อมีการแจ้งความแล้ว ปั๊มน้ำมันน่าจะไม่กล้าทำอีกไป “ ในฐานะผู้บริโภค ดิฉันเห็นว่ากระทรวงพาณิชย์โดย สำนักชั่งตวงวัด ควรกำหนดให้ปั๊มน้ำมันต้องเผื่อปริมาณน้ำมันอีก1% เติมให้ลูกค้าเพื่อได้น้ำมันเต็มตามจำนวนที่ซื้อ จะได้ไม่ทำให้เกิดคดีฟ้องร้องกัน ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ปล่อยให้ปั๊มน้ำมันเอาเปรียบลูกค้าด้วยการเติมน้ำมันขาด แต่ได้เงินเต็มไปเท่าไหร่แล้ว ถึงเวลาต้องแก้ไขแล้ว

จึงขอเสนอให้รัฐมนตรีพีระพันธุ์ ในฐานะนักกฎหมาย ท่านควรพิจารณาความหมายของคำว่า “เผื่อเหลือเผื่อขาด” และหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เพื่อจะได้สั่งการแก้ไขให้ถูกต้อง อย่าให้ประชาชนต้องถูกเอาเปรียบโดยอ้างว่ากฎหมายรับรองเช่นนี้เลย ประชาชนต้องทนแบกรับการถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับราคาน้ำมันมานานเท่าไหร่แล้ว ต้องแบกรับราคาน้ำมันบวกราคาทิพย์ได้แก่ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าสูญเสียระหว่างทางจากสิงคโปร์มาประเทศไทย ทั้งที่น้ำมันทั้งหมดกลั่นในประเทศไทย ที่ระยอง ที่ศรีราชา และยังมีค่าการตลาดเบนซินลิตรละ2บาท ที่กระทรวงพลังงานปล่อยผู้ค้าน้ำมันสามารถรีดเงินประชาชนเกินไปถึงลิตรละ 3-4 บาท โดยกระทรวงพลังงานทำอะไรไม่ได้ 

กรณีปั๊มเติมน้ำมันไม่เต็มจำนวน แต่ให้เก็บเงินได้เต็มจำนวน รัฐบาลปล่อยให้ผู้ค้าน้ำมันเอาเปรียบประชาชนมานานมากแล้ว ควรต้องรีบแก้ไขโดยด่วนให้ความเป็นธรรมต่อประชาชนในเรื่องนี้ได้แล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“สุชาติ” จัดใหญ่ ติดอาวุธเสริมแกร่ง SMEs ไทย พร้อมมอบ 7 รางวัลSME ต้นแบบ, เร่งขับเคลื่อนสู่เป้า 40%GDP ในปี2570

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จัดงานมหกรรมความรู้ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ SMEs ไทย “Thailand Trade Exponential Fest 2024”

'ภูมิธรรม' นำภาครัฐ เอกชน ทำลายของกลางละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 1.2 ล้านชิ้น

“ภูมิธรรม”นำภาครัฐ เอกชน ทำลายของกลางละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา 1.2 ล้านชิ้น มูลค่า 325 ล้านบาท สร้างความเชื่อมั่นคู่ค้า นักลงทุน เจ้าของสิทธิ์ สินค้าปลอมจะไม่กลับคืนสู่ตลาดอีก และดูแลผู้บริโภคจากสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน

“ภูมิธรรม”ควง ”นภินทร-สุชาติ“ ฉลองพาณิชย์เข้าสู่ปีที่ 104 จัดงาน “เพิ่มมูลค่าฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วย Soft Power”

วันที่ 22 สิงหาคม 2567 เวลา 06.49 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยนายนภินทร ศรีสรรพางค์

‘สุชาติ’ จัดใหญ่ ยกทัพสินค้าพรีเมียมทั่วไทย ร่วมงาน ‘FTA Fair’ คึกคัก ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชน เพิ่มช่องทางจำหน่าย จับคู่ธุรกิจส่งออกตลาดการค้าเสรี

‘สุชาติ’ รมช.พาณิชย์ เปิดงาน “FTA Fair นำสินค้าไทย สู่ตลาดการค้าเสรี” ณ เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ยกทัพเกษตรกร สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ