24 ธ.ค.2566-สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ฉบับที่ 2 เรื่อง การปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง กติกาสากลและสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน
จดหมายระบุว่า ภายหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี มีความพยายามที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท โดยจะทยอยปรับแต่เริ่มต้นจะปรับขึ้นเป็นวันละ 400 บาท แม้ว่าอาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงกับค่าครองชีพของประชาชน เหตุเพราะราคาสินค้า ราคาสาธารณูปโภค ปรับราคาแพงขึ้นอย่างมาก และนโยบายเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาล และนายกรัฐมนตรีแถลงต่อสาธารณะนั้น ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง แต่ส่วนใหญ่ เห็นด้วยและรวมไปถึงการปรับค่าจ้างขั้นต่ำควรเท่ากันทั้งประเทศ
27 พฤศจิกายน 2566 สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เข้าพบรัฐมนตรี และได้มีการพูดคุยหารือในเรื่องนี้และบอกตัวเลขการปรับค่าจ้างว่าตัวเลขที่เหมาะสมน่าจะเป็นที่ 400 บาท ส่วนจะเท่ากันทั้งประเทศ ตามที่ สสรท. และ สรส. ต้องการหรือไม่นั้น อาจจะเป็นไปไม่ได้
ต่อมาวันที่ 8 ธันวาคม 2566 มีการประชุมคณะกรรมการไตรภาคีพิจารณา เรื่อง การปรับค่าจ้างและมีมติเอกฉันท์ตามที่ปลัดกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร แถลง คือ การปรับค่าจ้างจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 1 มกราคม 2567 โดย
จะมีการปรับในอัตรา 2-16 บาท ต่ำสุดอยู่ที่ 330 บาท สูงสุดอยู่ที่ 370 บาท ขยายจาก 13 ราคาในปี 2565 เป็น 17 ราคา โดยปลัดกระทรวงแรงงานแถลงว่าจะนำเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566
10 ธันวาคม 2566 สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล “เรียกร้องให้ทบทวนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องเป็นธรรม ต้องเลี้ยงคนในครอบครัวได้ตามหลักการสากลและต้องเท่ากันทั้งประเทศ พร้อมกับมาตรการควบคุมราคาสินค้า” จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างในทิศทางที่บอกว่าการปรับค่าจ้างนั้นน้อยเกินไป ไม่สอดคล้องกับภาวะการดำรงชีพของประชาชน แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีก็แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ไม่อาจยอมรับได้ปรับน้อยเกินไป “ปรับ 2 บาท ซื้อไข่ 1 ใบยังไม่ได้เลย” คือ คำกล่าวของนายกรัฐมนตรี และเรื่องการปรับค่าจ้างที่เสนอเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ถูกถอนออกไป และนายกรัฐมนตรีสั่งให้ทบวนใหม่
20 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการไตรภาคีพิจารณา เรื่อง การปรับค่าจ้างได้มีการประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง และปลัดกระทรวงแรงงานก็มีการแถลงอีกครั้งว่า “ว่าคณะกรรมการพิจารณาการปรับค่าจ้างมีมติเอกฉันท์ ยืนยันตามมติเดิมที่พิจารณาไปแล้ว ไม่ทบทวนตัวเลขใหม่”
สิ่งที่ต้องตั้งคำถามและตั้งข้อสังเกตต่อนายกรัฐมนตรี และ รัฐบาล คือ 1.ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมคณะกรรมการไตรภาคีในการพิจารณาการปรับค่าจ้าง สิ่งที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแถลงต่อสาธารณะ ตัวแทนรัฐบาลในไตรภาคีจึงไม่ได้นำไปเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งมีข้อมูลงานวิจัยและสภาพความเป็นจริงทางสังคมมากมาย 2.หากผู้แทนฝ่ายรัฐบาลนำสิ่งที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานแถลง ซึ่งเชื่อว่าตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง หากเป็นตัวแทนของคนงานที่แท้จริง และมีจิตสำนึกทางชนชั้นก็จะเห็นด้วยกับผู้แทนรัฐบาลแม้ว่าฝ่ายนายจ้างจะไม่เห็นด้วย เมื่อลงคะแนน 2 เสียง ต่อ 1 เสียง ก็ย่อมชนะอยู่แล้ว เหตุใดจึงไม่ทำ ไม่สนองนโยบายนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือไม่
3. หรือการหาเสียงของพรรคแกนนำรัฐบาลก่อนหน้านั้นเป็นเพียงนโยบายเพื่อให้ได้มาซึ่ง คะแนนเสียงหรือไม่ พอได้เป็นรัฐบาลแล้วก็ไม่พยายามที่จะสร้างความเป็นจริงให้เกิดขึ้นแต่กลับใช้กลไกในการสร้างเหตุผล หาความชอบธรรมในการไม่ทำตามนโยบาย 4. หากนายกรัฐมนตรีมีความจริงใจที่จะทำตามนโยบายและสิ่งที่แถลงไว้จริง อาจมีความเป็นไปได้ว่ามีการทำลายความน่าเชื่อถือทางการเมือง (ดิสเครดิต) ของพรรคร่วมรัฐบาล 5. การสั่งการของนายกรัฐมนตรี ที่สั่งการให้ทบทวนไม่มีผลในทางปฏิบัติ ผู้แทนฝ่ายรัฐในไตรภาคีไม่สนองนโยบาย ทั้งที่เป็นประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ของประเทศในภาพรวม และ6. ขอตั้งข้อสังเกตต่อฝ่ายลูกจ้างว่า ได้ยืนหยัดในจุดยืนเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานที่แท้จริง
หรือไม่
สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ซึ่งเป็นองค์กรของคนงานที่มีองค์กรสมาชิกทั้งแรงงานภาคเอกชน แรงงานนอกระบบ ลูกจ้างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และแรงงานข้ามชาติ จึงขอเรียกร้องไปถึงนายกรัฐมนตรี และ รัฐบาล หากมีความจริงใจ ที่จะแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานดังที่ได้ประกาศต่อสาธารณะขอให้ท่านมีความจริงจัง จริงใจ ในคำประกาศนั้น เพราะการปรับค่าจ้างให้สอดคล้องกับความเป็นจริงตามสภาพความเป็นอยู่ และการดำรงชีพของประชาชนก็จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่ง สสรท. และ สรส. ขอยึดมั่น ในข้อเสนอที่ปรากฏในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สุริยะ' ชี้ 'วิโรจน์' พูดให้ดูดี ไม่สนนามสกุลเดียวกับ 'ธนาธร' ก็จะตรวจสอบ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวกรณีฝ่ายค้านออกมาระบุว่าเตรียมจองคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทรวงคมนาคมว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะตรวจสอบรัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องปกติ
'ครูหยุย' แนะรัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ เป็นของขวัญวันเด็ก แทนให้คำขวัญ
'ครูหยุย' แนะรัฐบาลเปลี่ยนจากให้คำขวัญวันเด็ก เป็นมอบของขวัญที่มีค่า ประกาศเจตนารมณ์ 'ไม่โกง-ซื่อสัตย์สุจริต-ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ลวงเด็ก'
ข้องใจ! 'นายกฯอิ๊งค์-บิ๊กเพื่อไทย' ทำไมขยันลงพื้นที่ภูเก็ต
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "อุ๊งอิ๊ง หนีกระทู้สภา ไปกระทู้ภูเก็ต" โดยระบุว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เช็กเลย! ของเล่นประเภทไหนบ้าง ผู้ปกครองอย่าซื้อให้เด็ก
'คารม' เตือนผู้ปกครอง ระวังอย่าซื้อของเล่นที่เป็นอันตรายกับเด็ก พร้อมแนะเลือกของเล่นที่ช่วยเสริมทักษะการเรียนรู้-พัฒนาการ-จินตนาการ และผู้ปกครองควรแนะวิธีการเล่นของเล่นอย่างถูกต้อง
บี้รัฐบาล-ผบ.ตร. เร่งกวาดล้างแก๊งค้ามนุษย์ สแกนเข้มชายแดน ฟันทหารตำรวจนอกรีต
'ธนกร' ขอ 'รัฐบาล-ผบ.ตร.' เร่งกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์หลอกลวงคนหางาน ฝากสแกนเข้มตะเข็บชายแดน หวั่นใช้ไทยเป็นฐานนายหน้าส่งต่อเหยื่อ แนะจัดการเด็ดขาดทหาร-ตร.นอกรีด
'สว.อังคณา' ตบปาก 'พ่อนายกฯ' พล่อยเหยียดผิว บี้ขอโทษก่อนบานปลาย
'อังคณา' จี้ 'ทักษิณ' ขอโทษ หลังปราศรัยเหยียดผิว ช่วยหาเสียงเป็นสิทธิ แต่ไม่ควรพูดด้อยค่า-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์