21 ธ.ค.2566 - นางอังคณา นีละไพจิตร คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ องค์การสหประชาชาติ (UN Human Rights Expert- WGEID) โพสต์เฟซบุ๊กมีเนื้อหาว่า กรณีนอนนานชั้น14 ซึ่งจะครบกำหนด 120 วันในอีกไม่นาน และหากจะขยายต่อต้องมีการทบทวน และต้องเแจ้งรัฐมนตรียุติธรรมเพื่อทราบ ซึ่งในการชี้แจงต่อสังคมดูเหมือนจะมีความคลุมเครือโดยอ้างสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย จนหลายฝ่ายกังวลว่าอาจเป็นการสร้าง ความไม่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ ซึ่งกระทบต่อ หลักนิติธรรม อันเป็นหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
หลักการ right to privacy (สิทธิความเป็นส่วนตัว) ได้รับรองไว้ในกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR ข้อบทที่ 17) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี ต่อมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ได้ออกความเห็นทั่วไป ที่ 16 (General Comment No.16) เพื่ออธิบายความหมายของ สิทธิความเป็นส่วนตัว ซึ่งรัฐไม่มีอำนาจแทรกแซงความเป็นส่วนตัวโดยพลการของบุคคล แต่สิทธินี้ก็ไม่ใช่ สิทธิสัมบูรณ์ (absolute right) ในข้อ 7 ของ GC 16 จึงกล่าวถึงข้อยกเว้นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวไว้ว่า
“เนื่องจากทุกคนอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวจึงจำเป็นต้องสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สาธารณะผู้มีอำนาจควรจะสามารถเรียกร้องข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของบุคคลซึ่งมีความจำเป็นต่อ ผลประโยชน์ของสังคม ตามที่เข้าใจภายใต้กติกานี้เท่านั้น ดังนั้น คณะกรรมการจึงแนะนำให้รัฐต่างๆ ควรระบุในรายงานของตนถึงกฎหมายและข้อบังคับที่ควบคุมการแทรกแซงที่ได้รับอนุญาตต่อชีวิตส่วนตัว” (https://www.refworld.org/docid/453883f922.html)
ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 ที่ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ”
ความเป็นส่วนตัว เป็นเรื่องซับซ้อน เกี่ยวพันกับหลายสิทธิ นักวิชาการสิทธิมนุษยชนบางคน เชื่อว่าความเป็นส่วนตัวจะต้องมีข้อจำกัดบางประการเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันการอ้างที่ไม่ชอบธรรม โดยเห็นว่าบุคคลควรสละการอ้างสิทธิความเป็นส่วนตัวเท่าที่จำเป็น เพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ กรณีนอนนานชั้น14 กระทรวงยุติธรรมจึงควรพิจารณาด้วยความรอบคอบและระมัดระวังในการคุ้มครองครองความเป็นส่วนตัว กับการคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะการยืนยันหลักความเท่าเทียม การไม่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อรักษาหลักใหญ่ของหลักนิติธรรม (Rule of Law)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความจริง 'ชั้น 14' ชี้ชะตา 'รัฐบาลอิ๊งค์'
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อายุรัฐบาลขึ้นกับความจริงบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)
สอน 'เพื่อไทย' หัดเอาอย่าง 'อภิสิทธิ์' นักการเมืองรักษาสัจวาจา
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เพื่อไทย ไม่นิรโทษ มาตรา 112 ไม่แคร์มวลชน แต่แคร์พรรคร่วม
'นิกร' รับสภาพกฎหมายประชามติไม่ทันเลือกตั้งครั้งหน้าใช้ รธน.เดิม!
'นิกร' ระบุ พ.ร.บ.ประชามติ ไม่ทันเลือกตั้งท้องถิ่นต้นปีหน้า พ้อเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ยังใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน
'อังคณา' ชวนนายกฯไปนั่งฟังความทุกข์ทรมานของแม่ๆที่สูญเสียจากเหตุการณ์ 'ตากใบ'
นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
'เพื่อไทย' ย้อนแย้งปากด่ารัฐธรรมนูญเผด็จการแต่เอาประโยชน์เต็มๆ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส. นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กว่า ปากด่ารัฐธรรมนูญเผด็จการ แต่เอาประโยชน์เต็มๆ
'มือกม.เพื่อไทย' ไม่ให้ราคา 'ธีรยุทธ' ข้อหาเกินจริง ซัด 'พปชร.' อยู่เบื้องหลัง
'ชูศักดิ์' ไม่ให้ค่า 'ธีรยุทธ' ฟ้องข้อหาล้มล้างปกครอง ไกลกว่าเหตุไปมาก เนื้อหาคำร้องชี้ชัด พปชร. อยู่เบื้องหลัง พร้อมเป็นหัวหน้าทีมแจงศาล