20 ธ.ค.2566 - เพจโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) หรือไอลอว์ โพสต์เนื้อหาระบุว่า 19 ธันวาคม เศรษฐา ทวีสิน ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่าครม. จะเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสภาวันที่ 21 ธันวาคม
นอกจากร่างที่ ครม. เสนอ ยังมีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่เสนอโดย สส. และร่างฉบับภาคประชาชน รวมสามฉบับ
1.ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับภาคประชาชน : ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมหลายองค์กรในนาม ภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม ใช้กลไกการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย รวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 ชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมาย ได้รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 ชื่อแล้ว บรรจุวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 20 ธันวาคม 2566 แล้ว
2.ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับเสนอโดย สส. พรรคก้าวไกล : เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 สส.พรรคก้าวไกลเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยเนื้อหาร่างเป็นฉบับเดียวกันกับที่เคยเสนอสภาชุดก่อนที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2562 โดยร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับนี้ ก็ถูกบรรจุในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้วเช่นกัน รอเข้าสู่การพิจารณาวาระหนึ่ง
3.ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับกระทรวงยุติธรรม เสนอโดย ครม. : ฟากกรมคุ้มครองสิทธิเสรีและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ก็ผลักดันร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยกับสื่อหลังการประชุม ครม. ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบให้เสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อสภาในวันที่ 21 ธันวาคม 2566
ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 21 ธันวาคม 2566 ก็มีนัดสำคัญน่าจะจับตาคือการพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม สามฉบับจากสามภาคส่วนที่เสนอ เนื่องจากร่างกฎหมายทั้งสามฉบับมีหลักการทำนองเดียวกัน สภาสามารถพิจารณาไปพร้อมกันได้ และสามารถลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการร่างทุกฉบับในวาระหนึ่งได้ หากสภาลงมติรับหลักการร่างกฎหมายแล้ว ลำดับถัดไปก็จะเป็นการลงมติว่าจะใช้ร่างใดเป็นร่างหลักในการพิจารณาในวาระสอง (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ข้อ 117)
หากสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทุกฉบับไปพร้อมกันและมีมติรับหลักการร่างทุกฉบับ เนื่องจากมีร่างภาคประชาชนด้วย ก็จะส่งผลให้ตัวแทนภาคประชาชนได้โควตาเข้าไปเป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดด้วย (ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ข้อ 122)
ต้องจับตากันต่อไปว่า ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม จะเข้าสภาทันวันที่ 21 ธันวาคม 2566 หรือไม่และ สส. ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จะลงมติออกเสียงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
ศาลรธน.ยืนยัน ‘อุดม’ ไม่เสียดสี แค่ตอบ ‘ข้อกม.’
ศาลรัฐธรรมนูญทำหนังสือตอบกลับสภาผู้แทนฯ ยืนยัน "อุดม สิทธิวิรัชธรรม" ตุลาการศาล รธน. แสดงความเห็นหลังยุบพรรคก้าวไกล "ยุบ 3 วันตั้งพรรค"
'ชัยธวัช' ยกอดีตมี 'นิรโทษกรรม ม.112' จี้พรรคการเมืองตกผลึกได้แล้ว
'ชัยธวัช' จี้ 'พรรคการเมือง' ควรรีบตกผลึก 'นิรโทษกรรม' เหตุ ปปช.รออยู่ ชี้ ในอดีตก็มี 'นิรโทษกรรม ม.112' มาแล้ว ไม่เกี่ยวกับความจงรักหรือไม่จงรักภักดี บอกของ กมธ. เป็นแค่รายงานศึกษา ขอ 'รัฐบาล' อย่ากังวลจนเกินไป
เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน ประธานศาลรธน. 1 ใน 4 ตุลาการ : ความเป็นรมต.ของ 'เศรษฐา' ไม่สิ้นสุดลง
สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพา
ยี้ปชป.ผสมพันธุ์พท. เสื้อแดง-ชวนซัดทรยศปชช./เด็กป้อมจองเวรอิ๊งค์
"เพื่อไทย" ส่งเทียบเชิญ "ประชาธิปัตย์" ร่วมรัฐบาล อ้างผลประโยชน์ชาติ