อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

06 ธ.ค.2566 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ทีมวิจัยใน Ireland ค้นพบว่า โรคสมองเสื่อม Alzheimer's อาจถูกควบคุมจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ของผู้ป่วย (Gut microbiome) ในงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Brain ทีมวิจัยได้ทำการทดลองนำแบคทีเรียที่แยกมาจากอุจจาระผู้ป่วย Alzheimer's เทียบกับแบคทีเรียจากคนปกติที่ไม่ได้ป่วย นำไปให้เจริญเติบโตในลำไส้ของหนูที่ถูกทำลายแบคทีเรียเดิมที่อยู่ในลำไส้ของหนูก่อนหน้านี้ออกไป เพื่อดูบทบาทของแบคทีเรียชุดใหม่ต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นกับหนูเหล่านั้น

ทีมวิจัยรายงานว่า หนูกลุ่มที่ได้รับแบคทีเรียจากผู้ป่วยไปเจริญเติบโตในลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากหนูกลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำของหนูลดลง และ ส่วนของสมองที่ชื่อว่า hippocampus ก็มีขนาดเล็กกว่าหนูปกติ ซึ่งสมองส่วนนี้มีหน้าที่โดยตรงต่อความทรงจำ และ การเรียนรู้ต่างๆ

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดความผิดปกติในอวัยวะอื่นที่แบคทีเรียดังกล่าวไม่ได้อาศัยอยู่อย่างในสมอง การป้องกันการเกิด Alzheimer's อาจจำเป็นต้องเน้นไปที่จุลินทรีย์ในลำไส้ให้มาก เพราะต้นเหตุของโรคอาจมาจากตรงนั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า