จัดหนักอาชญากรข้ามชาติ 'อสส.' ตามติดริบทรัพย์คืน วางเครือข่ายคลุม 28 ประเทศ

แฟ้มภาพ

อสส.ยกระดับกฎหมายผนึก 28 ประเทศเครือข่ายภูมิภาคแปซิฟิก ตามติดริบทรัพย์อาชญากรข้ามชาติ กระทำความผิดข้ามแดน

3 ธ.ค.2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย. – 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ โรงแรมเรเนอร์ซองส์ ราชประสงค์กรุงเทพมหานคร ทางสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญประจำปีของเครือข่ายประสานงานด้านการติดตามทรัพย์สินคืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asset Recovery Interagency Network Asia Pacific (ARIN-AP)) ครั้งที่ 8  ซึ่งเครือข่าย ARIN-AP นี้ประเทศไทยได้ร่วมกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2556

โดยมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดในการตรวจสอบ ติดตาม และริบทรัพย์สินของอาชญากรข้ามชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ บรูไน ศรีลังกา กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ไต้หวัน อินเดีย หมู่เกาะคุ๊ก ปากีสถาน เมียนมา  มองโกเลีย คาซัคสถาน เวียดนาม เกาหลีใต้ ปาปัวนิวกินี ปาเลา เนปาล เตอร์กิสถาน ตองกา ฟิลิปปินส์ ตูวาลู มัลดิฟส์ และประเทศไทย และมีสมาชิกผู้สังเกตการณ์จากภูมิภาคอื่นจำนวนหนึ่ง 

ในการประชุมครั้งนี้นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด ได้ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะบริหารของ ARIN-AP และประธานการประชุมสามัญประจำปี คณะผู้บริหารของ ARIN-AP ได้มีมติกำหนดแผนงานการจัดกิจกรรมต่างๆของเครือข่าย การฝึกอบรมสัมมนาด้านการติดตามทรัพย์สิน การหาสมาชิกเพิ่ม และการรับเป็นเจ้าภาพการประชุมสามัญประจำปีสมัยต่อไปของออสเตรเลียและมองโกเลียตามลำดับ

การประชุมสามัญประจำปีและประชุมเชิงปฏิบัติการปีนี้ ได้ประชุมในหัวข้อ Synergy for Effective Confiscation of the Proceeds of Crime 

โดยสมาชิกของเครือข่ายและผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และธนาคารโลก ได้นำเสนอพัฒนาการปรับปรุงกฎหมายด้านการฟอกเงินและการติดตามคืนทรัพย์สินของประเทศตนเอง บทเรียนความสำเร็จจากการดำเนินคดีต่างๆ การเก็บรักษาและจำหน่ายทรัพย์สินที่ริบได้ การตรวจสอบติดตามยึดทรัพย์สินดิจิตอล cryptocurrency การแบ่งปันทรัพย์สินระหว่างประเทศที่ร่วมมือกันในการติดตามทรัพย์สินนอกจากนั้นสมาชิกบางประเทศได้ใช้โอกาสประชุมทวิภาคีเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือในการหาพยานหลักฐานในต่างประเทศ และแนวทางการดำเนินคดีติดตามริบทรัพย์สินข้ามแดนที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน

ในวันสุดท้ายของการประชุม นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยทำพิธีส่งมอบการเป็นประธานการประชุมครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2567 ให้แก่ผู้แทนของประเทศออสเตรเลีย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัยการคดีพิเศษ พิจารณายื่นศาล ขอริบทรัพย์ 'โจ๊ก' และพวก ตกเป็นของเเผ่นดิน

มีรายงานว่า พนักงานสอบสวน ปปง.ได้ยื่นคำร้องขอให้พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษยื่นคำร้องต่อศาลขอยึดทรัพย์สิน พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล และพวกรวม 3

'เหยื่อเมาแล้วขับ' นั่งวีลแชร์ ร้อง อสส. สั่งคดีฟ้องศาลลงโทษสถานหนัก

'เหยื่อเมาแล้วขับ' นั่งวีลแชร์ ร้องอัยการสูงสุด สั่งคดีเมาแล้วขับทั่วประเทศ ฟ้องศาลลงโทษสถานหนัก พบช่องโหว่กฎหมาย ตำรวจนอกรีตตบทรัพย์ขี้เมา

'เท้ง' จี้นายกฯ อิ๊งค์คุยแดนปลาดิบส่งจำเลยคดีตากใบเป็นผู้ร้ายข้ามแดน!

'ผู้นำฝ่านค้าน' จี้ 'นายกฯ' คุยนอกรอบกับญี่ปุ่น ส่งตัวจำเลยคดีตากใบกลับมาดำเนินการ ก่อนหมดอายุความ ชี้ต้องแสดงเจตจำนงทางการเมืองเยียวยาพี่น้องชายแดนใต้

เปิดโปรไฟล์ 'ไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ' อัยการสูงสุด คนที่ 19

ประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 9 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ได้มีมติให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ตามมาตรา 10 แห่ง พรบ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553

ก.อ. ไม่รับคำร้อง 'เนตร นาคสุข' ยื่นสอบอัยการสูงสุด สั่งฟ้องคดีช่วย 'บอส อยู่วิทยา'

ที่ห้องประชุมคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ชั้น 8 สำนักงานอียการสูงสุด ถนนเเจ้งวัฒนะ นายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ ประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เป็นประธานการประชุม ก.อ.ครั้งที่ 12/2567