ร้อง กมธ.ความมั่นคงฯคุมพฤติกรรม 'แอมเนสตี้' หยุดก้าวก่ายกิจการภายในไทย

29 พ.ย.2566 - ที่รัฐสภา ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และกลุ่มนักรบเลือดสีน้ำเงินปกป้องราชบัลลังก์ นำโดย นายอานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส. เข้ายื่นหนังสือถึงนายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกร้องให้องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้หยุดก้าวก่ายกิจการภายในประเทศไทย

ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรณีเมื่อ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ได้เข้ายื่นร้องเรียน เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังคดีการเมืองให้ได้รับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราว และสิทธิในการพักโทษ หลังบางคนถูกคุมขังนานกว่า 3 ปี โดยมีนายปิยะพงษ์ วาณิช นักวิชาการสนับสนุนงานนิติบัญญัติ ฝ่ายเลขานุการ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เป็นผู้รับแทน

นายอานนท์ กล่าวว่า ศปปส. และนักรบเลือดสีน้ำเงินฯ ได้ติดตามแล้วเกิดความกังวลใจ และข้อสงสัยในการทำงานของแอมเนสตี้ และผู้ต้องขังที่อ้างว่าโดนละเมิดกลุ่มนี้ เพราะตลอดระยะเวลาหลายปี ตั้งแต่ ปี 63 เป็นต้นมา ไม่เคยหยุดการเคลื่อนไหว ในการอ้างว่า มีกลุ่มบุลคลในประเทศไทยคนถูกละเมิด

สิทธิมนุษยชน ซึ่งความเป็นจริงนั้น กลุ่มบุคคลที่อ้างว่าถูกละเมิดเหล่านี้ ทำผิดต่อข้อกฎหมายของประเทศไทย ที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่นมาตรา 112, มาตรา 116 และมาตราอื่นๆ ที่ละเมิดสิทธิแก่ผู้อื่นอีกด้วย ซึ่งกลุ่มบุคคล และผู้ต้องขังที่อ้างว่าถูกละเมิดกลุ่มนี้ ไม่เคยเคารพกฎหมาย พร้อมทั้งมีการละเมิดต่อผู้อื่นอีก เมื่อมีการดำเนินคดีตามกฎหมายขึ้น กลุ่มบุคคล และผู้ต้องขังคดีที่อ้างว่าถูกละเมิดเหล่านี้ ได้ออกมาเรียกร้องให้หลายองค์กรช่วยเหลือ เพื่อยกเลิก แก้ไขกฎหมายที่ตนทำผิด อีกทั้งเรียกร้องการนิรโทษกรรม

ทั้งนี้ กฎหมายได้บัญญัติผู้ที่มีการกระทำความผิดไม่ว่าเยาวชน หรือผู้ใหญ่ มีกฎหมายคุ้มครอง และมีบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดแห่งคดีตามสมควรอยู่แล้ว เพราะในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นประชาชนธรรมดา หรือพระมหากษัตริย์ต้องมีกฎหมายคุ้มครองเช่นเดียวกัน โดยกฎหมายทุกมาตราได้บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ซึ่งมีข้อบัญญัติว่า ใครไม่สามารถทำละเมิดผู้อื่นได้

ดังนั้น ศปปส. และนักรบเลือดสีน้ำเงินฯ จึงขอให้แอมเนสตี้ กลุ่มบุคคล และผู้ต้องขังคดีที่อ้างว่าถูกละเมิดเหล่านี้ หยุดการเคลื่อนไหว ในการสร้างความสับสนให้กับสังคม เคารพต่อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย และท้ายที่สุดนี้ แอมเนสตี้อาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่ควรก้าวล่วง ก้าวก่าย ต่อกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ศปปส. และนักรบเลือดสีน้ำเงินฯ จึงขอให้ประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ไม่ควรนำเรื่องที่แอมเนสตี้เรียกร้องขึ้นมาพิจารณา เพราะยังมีเรื่องอื่น ที่ควรนำมาพิจารณา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสืบต่อไทย

นายอานนท์ ยังได้ทวงถามความคืบหน้าในกรณีที่ ศปปส. และนักรบเลือดสีน้ำเงินฯ เคยยื่นร้องเรียนต่อ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ให้ตรวจสอบนายรังสิมันต์ กรณี ‘ตั๋วปารีส’ ด้วยว่า “วันนี้เราจะถามท่านว่า ท่านได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตั๋วปารีสแล้วหรือยัง”

ด้านนายปิยะพงษ์ กล่าวว่า จะรีบดำเนินการนำหนังสือไปส่งต่อให้ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ได้พิจารณาต่อไป พร้อมชี้แจงในกรณีตั๋วปารีส ว่า เรื่องนี้ถูกบรรจุเข้าระเบียบวาระในการประชุม ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา และ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ได้มีมติรับเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในการออกหนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุม เพื่อดำเนินการตามกรอบอำนาจ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ

แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง

จำคุก 'ไบร์ท ชินวัตร' คดีม.112 อีก 3 ปี ก่อนลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา

จำคุก 'ไบร์ท ชินวัตร' อีก 3 ปี ก่อนลดเหลือ 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา คดีให้สัมภาษณ์สื่อปมบังคับใช้ ม.112 เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

แอมเนสตี้ ชี้ออกหมายจับนักข่าวและช่างภาพสั่นคลอนเสรีภาพสื่อ

จากกรณีที่ผู้สื่อข่าวประชาไท-ช่างภาพอิสระถูกจับกุม วันที่ 12 ก.พ. 2567 เนื่องจากการรายงานข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566

'ชาดา' ทุบ แอมเนสตี้ฯ

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีแอมเนสตี้ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายอานนท์ นำพา นักกิจกรรมและทนายความ ถือว่า