'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ชี้ปรองดองต้องไม่สองมาตรฐานห้ามมีคดี 112-ทุจริต

อดีตบิ๊กข่าวกรองซัดกฎหมายปรองดอง บอกเห็นด้วยแต่ต้องไม่ทำสองมาตรฐาน ซ้ำร้ายต้องไม่นิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 และคดีโกง

27 พ.ย.2566 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวอข้อ “ปรองดอง?” ระบุว่า นักการเมืองเคลื่อนไหวเสนอกฏหมายปรองดอง ถามว่าการปรองดองดีไหม ดีแน่นอน ทำตามพระบรมราชโองการของในหลวง ร.9 ให้คนไทยรู้รักสามัคคี

แต่การปรองดองต้องไม่สองมาตรฐาน ความขัดแย้งทางการเมืองคุยกันได้ ก็เห็นนักการเมืองต่างพรรคคุยกันหลังประชุม รัฐสภาเป็นบ่อนในการล๊อบบี้อยู่แล้ว สภาเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน ไม่มีอะไรคุยกันไม่ได้

ประชาชนคัดค้านการนิรโทษกรรม ความผิด ม.112 ที่เป็นคดีความมั่นคง ที่มุ่งทำลายสถาบันหลักของชาติ

ขอคัดค้านการนิรโทษกรรมคดีทุจริต ที่ทุกพรรคบอกว่าต้องกำจัดการทุจริต หากยกโทษคดีทุจริตคราวนี้ได้ มั่นใจได้ว่า ไทยจะมีการทุจริตไม่จบสิ้น นักการเมืองทำผิดก็ยกโทษกันเอง สนุกดี

ตราบใดที่ใช้สองมาตรฐาน คนหนึ่งผิดต่อแผ่นดินนอนโรงพยาบาล เพราะคนมีอำนาจนิ่งเฉย อีกคนหนีคุกหัวซุกหัวซุน ถูกไล่ล่า

นี่คือความแตกแยกที่ชัดเจน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนดังแห่เตือน กก.สรรหา เลือก ‘ปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ’ อย่าให้การเมืองแทรกแซง

หากมีหายนะที่จะเกิดขึ้นกับธนาคารชาติ อันเป็นผลมาจากการตัดสินใจ เลือกคนที่ฝ่ายการเมืองฝากฝังให้เป็นประธารบอร์ด เสียงสาปแช่งจากคนไทยทั้งประเทศจะตกแก่ท่าน

'โรม' ทุบโต๊ะต้องนิรโทษกรรมเหมาเข่ง! เหน็บถ้าได้เป็น 'คุณอ้วน ภูมิธรรม' วันนี้ คงรับตัวเองไม่ได้

ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรั

‘ธนกร’ ย้ำพรรคร่วมรบ.ปิดประตูตายไม่นิรโทษ 112 ฮึ่ม! ปชน.ไม่ลดเพดานโดนคว่ำในสภาแน่

‘ธนกร’ ยัน พรรคร่วมรบ.จุดยืนชัดปิดประตูตายไม่นิรโทษฯคดีม.112 ลั่น หากพรรคปชน.รั้นไม่ลดเพดาน เตรียมผิดหวังถูกคว่ำในสภาแน่ เหตุขัดรธน. ความมั่นคงของรัฐ ย้ำไม่มีพรรคไหนเห็นด้วย แนะ คิดใหม่พลิกหนุนร่างเสริมสร้างสันติสุขของรทสช. ถ้าเห็นแก่ปท.ชาติจริง ไม่ได้จ้องช่วยบางกลุ่ม

'ชูศักดิ์' ไม่ถอยถอนผลศึกษาร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขอสภาเดินหน้าลงมติ

'ชูศักดิ์' ไม่ถอย ถอนผลศึกษาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขอสภาเดินหน้าลงมติ ยืนยันไม่ใช่ขั้นตอนออกกฎหมาย-ใครไม่เห็นด้วยก็ไปค้าน ม.112 ในชั้นยกร่าง