‘ปานเทพ’ เบิกความปากสุดท้ายคดีพันธมิตรชุดสองปิดสนามบิน ยันไม่ได้กระทำผิด ศาลนัดพิพากษามี.ค.ปีหน้า

21 พ.ย. 2566 - ที่ห้องพิจารณา 901 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดสืบพยานจำเลยปากสุดท้าย คดีหมายเลขอ.1083/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด กับพวกรวม 67 คน เป็นจำเลยในคดีพันธมิตรบุกชุมนุมสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551

ในความผิดฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชานด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพี่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ, ร่วมกันเข้าไปรบกวนการครอบครอง เข้าไปซ่อนตัวในอาคารสำนักงานของผู้อื่นและไม่ยอมออกไปจากสถานที่นั้น โดยใช้กำลงประทุษร้าย, ร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปฝ่าฝืนคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

โดยวันนี้ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จำเลยที่ 18 และทนายความ เดินทางมาศาลเพื่อเบิกความเป็นพยานจำเลยปากสุดท้าย

นายปานเทพ กล่าวว่า มาเบิกความในฐานะจำเลยที่ 18 คดีพันธมิตรฯชุดที่สอง ชุมนุมในสนามบินท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมาก็ได้มีโอกาสซักค้านพนักงานสอบสวน ซึ่งพยานฝ่ายโจทก์ที่พาดพิงถึงตนเองไปแล้ว และแม้ว่าจะไม่ได้เป็นแกนนำพันมิตรฯในช่วงนั้น แต่ในวันนี้จะได้นำพยานหลักฐานที่รวบรวมมาหลายปีในฐานะนักวิชาการและสื่อมวลชน ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้เห็นภาพรวมว่าเกิดอะไรขึ้นเพื่อจะแถลงต่อศาลไว้จำนวน 100 หน้า ทำให้มั่นใจว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ส่วนจะไม่กระทำผิดอย่างไรก็จะขอเบิกความในชั้นศาล ส่วนคดีแกนนำพันมิตรฯชุมนุมบุกสนามบินชุดแรก มีจำเลย 36 คน ศาลนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.

นายปานเทพกล่าวว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการใช้สิทธิต่อต้านการได้มาซึ่งอำนาจโดยมิชอบตามรัฐธรรมนูญของรัฐบาลในยุคนั้น ที่ทำให้มีการยุบพรรคพลังประชาชน 2 ธ.ค.2551 และหยุดยั้งการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างคดีทุจริตคอร์รัปชัน ยกเลิกคดียุบพรรคการเมืองหลังจากที่ผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว ส่วนการชุมนุมในเหตุการณ์นั้นจะเป็นอย่างไร ก็จะมีรายละเอียดในคำเบิกความ แต่การชุมนุมในช่วงนั้นประสบความสำเร็จเป็นที่มีมาของการทำให้คดีทุจริตคอร์รัปชันเดินหน้าไปได้ จนยุติไปแล้ว 12 คดีมีผู้ถูกจำคุกหลายคน รวมทั้งนายทักษิณ ชินวัตร ด้วย เราจึงเชื่อด้วยความบริสุทธิ์ใจว่าทำหน้าต่อต้านการได้มาซึ่งอำนาจโดยมิชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เราเชื่อและมั่นใจว่าสิ่งที่เราทำไม่ได้เป็นเพียงเสรีภาพการชุมนุมแต่เป็นการทำหน้าที่รักษาประโยชน์ของชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

ภายหลังยื่นคำเบิกความแล้ว นายปานเทพ กล่าวว่า ได้ยื่นคำเบิกความซึ่งวันนี้พนักงานอัยการได้อ่านและมีการซักค้านเป็นที่เรียบร้อย โดยศาลนัดพร้อมจำเลยทุกคนในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ เพื่อจะนัดฟังพิพากษาคาดว่าจะเป็นช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า สำหรับรายละเอียดคำเบิกความเป็นลายลักษณ์อักษรที่ยื่นต่อศาลในวันนี้ เป็นเอกสารจำนวน 100 กว่าหน้า แบ่งเป็น 10 ข้อ

ข้อแรกคือ การต่อต้านของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการต่อต้านพรรคพลังประชาชนที่สืบทอดอำนาจจากพรรคไทยรักไทย เพราะมีการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งมีคำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวข้องกับนายทักษิณ กับพวกรวม 12 คดี มูลค่านับเกือบ 1 แสนล้านบาท ฉะนั้นการที่พันธมิตรฯ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ยกเลิกอำนาจ คตส.ที่เคยตรวจสอบเอาไว้ จึงเท่ากับพันธมิตรฯ คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้างความผิดให้กับนายทักษิณ เท่ากับว่าพันธมิตรฯทำหน้าที่ของประชาชนชาวไทย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 71

ข้อที่ 2 การที่พันธมิตรฯต่อต้านทั้งสองพรรคดังกล่าว เพราะได้อำนาจโดยไม่เป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ กลุ่มพันธมิตรจึงอาศัยสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามมาตรา 69 ต่อต้านผู้ได้อำนาจมาจากการโกงเลือกตั้ง ซึ่งมีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคพลังประชาชน และก่อนหน้านั้นก็ยุบพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหาเดียวกัน

ข้อที่ 3 กลุ่มพันธมิตรฯ ต่อต้านรัฐบาลเป็นไปโดยสุจริตและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่นายทักษิณยื่นฟ้องพันธมิตรฯ 2 คดี เมื่อปี 2551 ซึ่งเราชนะทั้งสองคดี โดยคำพิพากษาระบุว่าสิ่งที่เราได้แถลงไม่เกินเลยจากความเป็นจริง นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ให้พันธมิตรฯชนะคดีการสลายการชุมนุม 7 ตุลา 2551 และคดีที่อัยการฟ้องพันธมิตรฯชุมนุมที่รัฐสภา ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้อง

ข้อที่ 4 กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมโดยมีเนื้อหาปกป้อง 3 สถาบันหลัก เช่นการปกป้องอธิปไตยของชาติโดยการแถลงคัดค้านแถลงการร่วมไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2551 ที่กระทำโดยมิชอบ สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียอาณาเขต คดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าเป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ แปลว่าเราทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

ข้อที่ 5 การใช้สิทธิในการต่อต้านรัฐบาล เราใช้เครื่องมือด้วยการชุมนุมสาธารณะเมื่อปี 2551 ที่ยังไม่มีพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ถ้าไม่มีกฎหมายเฉพาะกาล และจะอาศัยกฎหมายฉบับอื่นมาลงโทษ เพราะไม่มีพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะจะกระทำไม่ได้

ข้อที่ 6 มีใช้อำนาจบิดเบือน แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม เช่นแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฟ้องกลุ่มพันธมิตรฯ โยกย้ายอธิบดีดีเอสไอ ข้าราชการตำรวจ และคดีถุงขนมละเมิดอำนาจศาล และคดีปลอดแปลงเอกสารก.ก.ต.หวังช่วยคดีซื้อเสียง การที่พันธมิตรฯชุมนุมและแถลงการณ์จึงสมควรแก่เหตุ

ข้อที่ 7 กลุ่มพันธมิตรฯ ทำตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแถลงการณ์ 29 ฉบับของพันธมิตรฯ ยึดสันติวิธี ปราศจากอาวุธและเรียกร้องให้ตำรวจจับกุมผู้กระทำความผิด

ข้อที่ 8 กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้ความคุ้มครองสิทธิ และความปลอดภัยในการชุมนุม เนื่องมีระเบิดเอ็ม 79 และยิงปืนอาก้า ทำร้ายผู้ชุมนุมบาดเจ็บ แขน ขาขาด และเสียชีวิตจำนวนมาก

ข้อที่ 9 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่เป็นเหตุผลที่แท้จริงของการปิดสนามบินทั้งทางกายภาพในการใช้พื้นที่ทั้งสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เป็นพื้นที่จราจรหน้าอาคารผู้โดยสาร ไม่กระทบต่อการบิน รวมถึงมีหนังสือของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขอให้มีการเปิดสนามบิน เพราะพื้นที่การชุมนุมไม่กระทบต่อการบิน ดังนั้นเราได้พบว่าหลังจากนั้นก็ยังมีการใช้พื้นที่เดียวกันชุมนุมอีก 5 ครั้ง แต่ไม่เคยมีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

ข้อที่ 10 พนักงานสอบสวนไม่ได้รวบรวมพยานหลักฐานรอบด้าน รวมถึงมีการเปลี่ยนหัวหน้าพนักงานสอบสวนที่เห็นว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯไม่ได้กระทำผิด จากการซักค้านเรายังได้พบอีกว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาภายใน 48 ชั่วโมง ฉะนั้นจะมาเอาผิดผู้ชุมนุมตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินได้อย่างไร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หิ้ว 'ชาคิต' โชเฟอร์พาจ่าเอ็มหนี ฝากขัง ไร้ญาติประกัน ส่งตัวนอนเรือนจำ

ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้ควบคุมตัวนายชาคิต บัวปลี หรือ อายุ 47 ปี ผู้ต้องหาที่ขับรถพา นายเอกลักษณ์ หรือพ.จ.

'เกลิน ธัญรดี' ฟาดกลับ เตรียมฟ้องกู้ชื่อเสียงคืน!

ดาราสาว เกลิน-ธัญรดี ชาญชนินท์กุล พร้อมด้วยทนายวัฒนา ศักขี ได้เดินทางมายังศาลอาญา เพื่อยื่นฟ้อง หมอดูคู่กรณี ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ โดยเรียกร้องค่าเสียหายเป็นจำนวนหลักล้านบาท หลังจากที่อดทนเงียบและเก็บเรื่องราวนี้ไว้เป็นเวลานาน

เปิดพฤติการณ์ 'จ่าเอ็ม' ฆ่าโหด 'ลิมคินยา' นวดก่อนลงมือ

เปิดพฤติการณ์ฆ่าโหด ‘ลิมคินยา’ พบ ‘จ่าเอ็ม' นวดผ่อนคลายก่อนลงมือสังหาร เจ้าตัวสารภาพทุกข้อกล่าวหา ศาลอาญาออกหมายจับ ‘คิมรินพิช’ มือชี้เป้าถือพาสปอร์ตกัมพูชา

ศาลสืบพยานล่วงหน้าคดีสังหาร 'ลิม คิม ยา' ภรรยาเบิกความชัดเห็น 'จ่าเอ็ม' ในที่เกิดเหตุ

ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 7 ได้ยื่นคำร้องขอสืบพยานบุคคลก่อนฟ้องในคดีที่ พนักงานอัยการ นายเอกลักษณ์ แพน้อย

รู้ว่ายาก! ‘ปานเทพ’ เผยการตั้งเป้าความสำเร็จในคดีแตงโม

มีบางคนแสดงความเห็นว่า ไม่ควรทำเรื่องคดีแตงโม เพราะยากที่จะสำเร็จ   ความคิดเช่นนี้คือการตั้งเป้าหมายจากคนอื่นๆที่เราอาจควบคุมไม่ได้

'เบิร์ดไม่ว่าง' นอนคุก! ศาลไม่ให้ประกัน หวั่นหนีคดีแกล้ง 'แบงค์ เลสเตอร์'

ศาลอาญาไม่ให้ประกัน ‘เบิร์ดวันว่างๆ’ หลังตำรวจไซเบอร์ฝากขังศาลอาญา นำเข้าคลิปลามก 'เเบงค์ เลสเตอร์‘ ชี้เห็นควรรอสอบสวนเสร็จสิ้นค่อยพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดี