'นักวิชาการ' งง 'หมอเลี้ยบ' ปูด 'สภาพคล่องทางการเงินติดลบกว่า 1 ล้านล้านบาท'

15 พ.ย.2566- จากกรณี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรมว.คลัง กรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความใน X ว่า
เศรษฐกิจไทยเหมือนคนไข้อ่อนแอที่เลือดกำลังไหลไม่หยุด
1. จีดีพี 66 จะโตต่ำกว่า 2%
2. สภาพคล่องทางการเงินติดลบกว่า 1 ล้านล้านบาทตั้งแต่สิงหาคม 66
3. 11% ของหนี้ครัวเรือนจะเป็น NPL
#ดิจิทัลวอลเล็ต
#ดิจิตอลวอลเล็ต

น.ส. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องดังกล่าว ว่า

1. “สภาพคล่องทางการเงินติดลบ” แปลว่าอะไรคะ เดาว่าหมายถึงการขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ ? (มันไม่ใช่ “สภาพคล่อง” เลยนะ) แล้วใครบอกจะถึง 1 ล้านล้าน ?

2. จีดีพีปี 66 จะโตต่ำกว่า 2% ได้ยังไงในเมื่อนี่ก็เดือน พ.ย. เข้าไปแล้ว เหลืออีกเดือนกว่า ดูจากจีดีพีสองไตรมาสแรกทุกสำนักคาดการณ์ว่าทั้งปีน่าจะโต 2.5-3% หรือเกินกว่านั้นเล็กน้อย (ตัวเลขจริงจีดีพีไตรมาสแรกโต 2.6% ไตรมาสสอง 1.8%) ใครเป็นคนประเมินว่าทั้งปีจะโตต่ำกว่า 2% และประเมินจากอะไร ?

3. ตัวเลข NPL ตอนจบไตรมาสสองในระบบธนาคารยังไม่ถึง 3% มันจะปูดขึ้นมาถึง 11% ในเวลาครึ่งปีหลังเพราะ ? [อัพเดท: อันนี้มีคนมาเม้นแล้วว่า 11% คือตัวเลขคาดการณ์ของเครดิตบูโรค่ะ ตัวเลขนี้รวมหนี้สถาบันการเงินทุกประเภทไม่ใช่เฉพาะธนาคาร]

หรือว่าหมอเลี้ยบรู้ข้อมูลอะไรที่ประชาชนไม่รู้ ? (เช่นจะเกิดเหตุการณ์อะไรใหญ่ๆ ที่ฉุดจีดีพีอย่างแรงในสองเดือนสุดท้ายของปี ?)

รบกวนนักเศรษฐศาสตร์หรือนักการเงินท่านอื่นๆ ช่วยอธิบายเป็นวิทยาทานหน่อยค่ะ
ป.ล. เวลาคนในรัฐบาลจะทวีตหรือให้สัมภาษณ์อะไรเกี่ยวกับสถิติ รบกวนอ้างแหล่งที่มาหน่อยค่ะ ประชาชนจะได้ไปเช็คได้

ป.ป.ล. หมอเลี้ยบมีโพสเฟซบุ๊กที่เหมือนจะ “อธิบาย” ทวีตนี้ แต่อ่านแล้วก็งงแหล่งอ้างอิงอยู่ดีค่ะ — https://mobile.facebook.com/story.php?story_fbid=907090567469317&id=100045051471048&mibextid=9R9pXO&_rdc=1&_rdr&wtsid=rdr_0tvFNQpfIudoc90iG

มีหลายท่านกรุณาส่งบทความมาให้ทั้งในเม้นและหลังไมค์ (ขอบคุณค่ะ ) เขียนโดย ดร. ชาติชัย พาราสุข เมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ตีพิมพ์ใน Bangkok Post พบว่าเป็นที่มาของตัวเลขการคาดการณ์จีดีพี และคำว่า “สภาพคล่องทางการเงินติดลบ” ที่อยู่ในทวีตและโพสเฟซบุ๊กของหมอเลี้ยบค่ะ

อ่านแล้วก็ยังงงอยู่ดี 55 แต่คิดว่าตัวเลขการเติบโตของจีดีพีไตรมาสสาม อีกไม่นานเราก็รู้แล้ว ส่วนเรื่อง “สภาพคล่องทางการเงินติดลบ” นั้น เหมือนผู้เขียนบทความจะสื่อว่า สินเชื่อทั้งระบบสูงกว่าเงินฝากทั้งระบบ = “สภาพคล่องติดลบ” —> แบงก์ไม่มีเงินปล่อยกู้(?) ค่ะ ซึ่งอ่านแล้วก็งงว่าเป็นปัญหาจริงไหม เพราะอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของไทยมันเกิน 1.00 (สินเชื่อ > เงินฝาก) มาเกินสิบปีแล้วค่ะ ก็ไม่เห็นแบงก์ไหนบ่นว่าขาดสภาพคล่องนะ (ดูสถิติย้อนหลัง https://app.bot.or.th/BTWS.../statistics/BOTWEBSTAT.aspx...)
แต่ต่อให้เราคิดว่าเรื่องนี้ “เป็นปัญหา” การกู้เงิน 6 แสนล้านมาแจกนี่ก็น่าจะทำให้ “ปัญหา” นี้แย่ลงแทนที่จะดีขึ้นนะ เพราะเงินกู้ระดับนี้โดยรัฐจะเบียดขับเอกชน (crowding out) ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้นทั้งระบบ ธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อยากกว่าเดิมอีก

สรุปว่าในบรรดา “ปัญหา” สามเรื่องที่หมอเลี้ยบพูดถึง คือ 1. “สภาพคล่องทางการเงินติดลบ” (?) 2. แนวโน้มจีดีพีปี 66 โตไม่ถึง 2% และ 3. หนี้ครัวเรือนอาจเกิด NPL สูงถึง 11% ณ สิ้นปี 66 (ตัวเลขคาดการณ์ของเครดิตบูโร) — การกู้เงินหลายแสนล้านมาแจกมีแนวโน้มจะทำให้ข้อ 1. แย่ลง ไม่ช่วยข้อ 3. (เงินดิจิทัลไม่ให้เอาไปใช้หนี้) ส่วนข้อ 2. ก็ไม่ช่วยเพราะกว่าจะได้ใช้เงินเร็วสุดก็ พ.ค. 67 ถึงเวลานั้นก็ต้องมาลุ้น “พายุหมุน” อีกที ว่าจะช่วยสร้างจีดีพี 67 แค่ไหน :>

ใครอยากอ่านบทความต้นทางของ ดร. ชาติชัย อยู่ทางนี้นะคะ — https://www.bangkokpost.com/.../a-tale-of-liquidity-and...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หอมกลิ่นความเจริญ! 'ทักษิณ' ประกาศปั้น GDP ประเทศไทยให้ถึง 4-5 %

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยายพิเศษหัวข้อ อนาคตอีสาน โอกาสประเทศไทย ในงานสัมมนา ISAN NEXT : พลิกเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤตโลก ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับเครือมติชน