ผอ.วิจัยฯทีดีอาร์ไอ ตั้งคำถามพรบ.เงินกู้ แจกเงินดิจิทัล หากรายได้ภาษีส่วนเพิ่มไม่มากเท่าที่รัฐบาลพยายามชวนเชื่อ ใครจะรับผิดชอบ
15พ.ย.2566- ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวกรณีรัฐบาลจะออกพ.ร.บ..เงินกู้ เพื่อใช้ในโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต ว่า
สิ่งหนึ่งที่รัฐบาล 'พร่ำ' บอกอย่างเชื่อมั่นมาตลอดจนกล้าตัดสินใจกู้เงินจำนวนมหาศาลนี้ คือการแจกเงินดิจิทัลเป็นการแก้ปัญหาการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าศักยภาพอย่างเบ็ดเสร็จ และระบุตัวเลขว่าเงินที่แจกจะทำให้เศรษฐกิจไทยโต 5% หรือมากกว่าต่อเนื่องกันหลายปี (ซึ่งสูงกว่าการประมาณการทั่วไปกรณีไม่มีโครงการนี้ประมาณ 1.5-2%) ผลสืบเนื่องคือวินัยการคลังไม่สูญเสีย เพราะรัฐบาลจะมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นมากจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงและต่อเนื่อง และรายได้ที่เพิ่มนี้เพียงพอสำหรับการใช้หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น 5 แสนล้านได้ภายในอายุรัฐบาลด้วย ไม่ทิ้งให้เป็นภาระของประชาชนและของรัฐบาลชุดต่อไป
ผมลองทำตัวเลขและพบว่าจริงอย่างที่ตัวแทนรัฐบาลพูด คือรัฐบาลจะชำระหนี้ได้ภายใน 4 ปีจริง ดังตารางที่ใส่ตัวเลขคร่าว ๆ ข้างล่าง ว่ารายได้ภาษีในระยะ 3-4 ปีที่รัฐบาลนี้จะบริหารเพิ่มขึ้นถึง 5.36 แสนล้าน พอจ่ายหนี้ก้อนนี้พร้อมดอกเบี้ย (ที่รัฐบาลประมาณไว้ 3.8 หมื่นล้านบาท) หากนับถึงรายได้ภาษีที่อาจเพิ่มขึ้นกว่านี้อีกถ้าโครงการนี้ทำให้เงินเฟ้อสูงกว่าที่ผมสมมติไว้ในตารางเพียงเล็กน้อย
ผมคิดว่า เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อ 'ความเชื่อ' ตัวเอง และที่สำคัญความรับผิดชอบต่อการเอาเงินของประชาชนมาใช้ ผมอยากเสนอว่า (credit ความคิด อ. สมเกียรติ Somkiat Tangkitvanich)
1.รัฐบาลกู้ตามที่ตั้งใจ และพรรคร่วมรัฐบาลยกมือผ่าน พรบ. กู้เงินนี้ (เพราะนโยบายตัวเองไม่ถูกกระทบเนื่องจากงบประมาณไม่ถูกตัดรอนมาใช้คืนเงินกู้นี้)
2. รัฐบาลทำบัญชีเงินกู้ก้อนนี้แยกต่างหากจากหนี้สาธารณะทั้งหมดที่มีก่อนหน้า
3. รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาชำระหนี้ก้อนนี้ทั้งต้นและดอก โดยยังคงต้องชำระหนี้ก้อนเดิมไม่ต่างไปจากเดิม (ห้ามลด) ซึ่งทำได้สบาย ๆ เพราะรัฐบาลจะมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นเพียงพอตามที่คำนวณไว้นี้
อาจมีคำถามว่าหากรายได้ภาษีส่วนเพิ่มไม่มากเท่าที่รัฐบาลพยายามชวนเชื่อ ใครจะรับผิดชอบ ผมคิดเราคงไม่สามารถเรียกร้องให้ผู้บริหารรัฐบาลเอาเงินตัวเองมาชำระส่วนที่ขาดได้ แต่ขอให้เป็นความรับผิดชอบทางการเมืองของพรรคแกนนำ และเป็นบทเรียนให้ประชาชนผู้เลือกตั้งต่อไป
(แต่ด่านแรกคงต้องทำให้พรรคร่วมเชื่อตัวเลขนี้ก่อน จะได้สบายใจว่าโครงการของตัวเองไม่ถูกตัดทอน)
#หนี้หมดในรัฐบาลนี้?#
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แพทองธาร' ยังไม่เคาะแจกเงินดิจิทัล มั่นใจไม่มีคดีติดตัวซ้ำรอยพ่อ-อา
”แพทองธาร” เปิดใจหลังรับตำแหน่งนายกฯ ระบุ แจกเงินดิจิทัลต้องรับฟังความเห็นเพิ่ม จ่อแถลงนโยบาย ก.ย. นี้ปัด“ทักษิณ”ครอบงำ บอก เจ้าตัวไม่ต้องการตำแหน่งหวังให้ช่วยงานโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีคดีติดตัวซ้ำรอยพ่อ-อา
'ศิริกัญญา' รอบอร์ดดิจิทัลเคาะนิยาม 'วิกฤตเศรษฐกิจ' ยันใช้สภาขวางทุกวิถีทาง
'ศิริกัญญา' ชี้มัวรอดิจิทัลวอลเล็ตคลอด ทำโครงการอื่นสะดุด เสียโอกาสพยุงเศรษฐกิจ เชื่อรายงานป.ป.ช. สารตั้งต้นฟ้องศาล ยันก้าวไกลไม่ร้องแน่ ลั่นใช้วิธีการสภาฯ สกัดทุกวิถีทาง
ซูเปอร์โพลชี้ ประชาชนรอคอย รัฐแจกเงินดิจิทัล
จากกรณีนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของรัฐบาลโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางทั่วไปนั้น ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลการศึกษาเรื่อง เงินดิจิทัลที่ประชาชนเชื่อมั่นและรอคอย
ดับฝันเงินหมื่น! 'จตุพร' ฟันธง คำตอบจากกฤษฎีกา รัฐบาลไม่สามารถกู้เงินมาแจกได้
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า กรณีที่นายเศรษฐา บอกว่า คณะกรรมการกฤษฎีส่งความเห็นการกู้เงิน 5 แส
'เศรษฐา' ยันสัปดาห์นี้แน่! ส่งกฤษฎีกาตีความ 'พรบ.กู้เงิน' แจกหมื่นดิจิทัล
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร)
'หญิงหน่อย' ชี้ 'กู้มาแจก' ไม่ใช่ยาวิเศษ เตือนหนี้ครัวเรือน ระเบิดเวลา ศก.ไทย
'ไทยสร้างไทย' เตือนรัฐบาล หนี้ครัวเรือน-หนี้ SMEs ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย จี้เร่งช่วยคนตัวเล็ก 'แจกเครดิต' ให้ทำทุน ชี้ 'กู้เงินมาแจก' ไม่ใช่ยาวิเศษ ย้ำต้องเป็นเงินให้เฉพาะผู้มีรายได้น้อย