เปิดความเห็นเเย้ง ‘ชูชัย วิริยะสุนทรวงศ์’ ปธ.ศาลอุทธรณ์ คดียกฟ้อง 20 แกนนำพันธมิตร ปิดล้อมอาคารรัฐสภาขวางสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แถลงนโยบาย ชี้ชัดกลุ่มจำเลยเป็นการกระทำละเมิด รธน.ผิดกฎหมายอาญา 116 เเละข้อหาอื่นๆ
6 พ.ย.2566- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นยกฟ้อง 21 อดีตแกนนำและแนวร่วมพันธมิตรฯชุมนุมบริเวณรัฐสภา วันที่ 5-7 ตุลาคมปี2551 นั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว นายชูชัย วิริยะสุนทรวงศ์ ประธานศาลอุทธรณ์ในขณะนั้นได้ทำความเห็นเเย้งไว้ 32 หน้ากระดาษสรุปใจความว่า ตามข้อเท็จจริงที่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยฟังมาดังกล่าว เห็นได้ว่าการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรมีการ จัดตั้งอย่างมีแผนงาน เป็นกลุ่มบุคคลจัดตั้งที่มีระบบบริหารจัดการอย่างดี มีการตั้งผู้บริหารจัดการการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกว่าแกนนำ ซึ่งตามพฤติการณ์ตามทางนำสืบของคู่ความ กลุ่มผู้ชุมนุมยินยอมเชื่อฟังแกนนำ เมื่อแกนนำรุ่นแรกถูกออกหมายจับ ก็มีการเลือกแกนนำรุ่นที่ 2 ดำเนินงานแทนได้ในทันที อันแสดงถึงการจัดการอย่างมีระเบียบแบบแผน มีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน แกนนำจึงเป็นผู้รับผิดชอบสั่งการกลุ่มพันธมิตรได้
โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงถึงการปราศรัยของฝ่ายจำเลยที่ปลุกระดมให้ปิดล้อมรัฐสภาเพื่อขัดขวางการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี โดยโจทก์มีพยานหลักฐานเป็นภาพว่า การปราศรัยที่ทำเนียบรัฐบาล จำเลยที่ 1-5,,19 เป็นผู้พูดปราศรัย
และที่เวทีหน้ารัฐสภา จำเลยที่ 4,9-13เป็นผู้พูดปราศรัย โจทก์นำสืบพยานบุคคลหลายปาก มีพยานบุคคลนำสืบถึงเหตุการณ์ว่า จำเลหมุนเวียนกันปราศรัยปลุกระดมผู้ชุมนุมเคลื่อนไปปิดล้อมบริเวณอาคารรัฐสภารวมทั้งการตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณอาคารรัฐสภา มีพยานสื่อมวลชน ตำรวจอีกหลายปาก นำสืบถึงการใช้อาวุธของกลุ่มผู้ชุมนุมใช้ไม้ และลูกเหล็กยิงจากหนังสติ๊กและแทงด้วยไม้คันธงปลายแหลม ได้ยินเสียงปืนจากกลุ่มผู้ชุมนุม มีพยานเบิกความยืนยันว่าจำเลยมีการควบคุมการปิดถนนแยกการเรือนและถนนราชวิถี แยกขัตติยานี กลุ่มผู้ชุมนุมได้ตัดน้ำ ตัดกระแสไฟฟ้าของรัฐสภา พยานปากนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เบิกความยืนยันว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้อาวุธปืนยิงเจ้าพนักงานตำรวจ
ขณะเคลื่อนย้ายผู้อยู่ในอาคารรัฐสภาให้ออกไปจนพยานกับเจ้าพนักงานตำรวจต้องหลบเข้าไปในอาคาร ซึ่งโจทก์มีพยานหลักฐานทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง ของสื่อมวลชนจำนวนมาก อ้างส่งประกอบคำเบิกความพยานโจทก์
โดยวัตถุประสงค์ของกลุ่มผู้ชุมนุมโดยเฉพาะเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค.51 ในการปิดล้อมอาคารรัฐสภาไม่ให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายก่อนเข้ารับ หน้าที่ อันเป็นภารกิจและหน้าที่ของ ครม.ตามรัฐธรรมนูญ และการปิดล้อมไม่ให้ ส.ส., ส.ว. และ ครม.ออกจาก
รัฐสภาด้วยการล็อกกุญแจ ล่ามโช่และขึงลวดหนามที่ประตูปราสาทเทวฤทธิ์ และด้วยการใช้กลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมบริเวณดังกล่าว นั้น เห็นว่า แม้เสรีภาพในการชุมนุมเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่เสรีภาพในการชุมนุมย่อมต้องมีขอบเขตและข้อจำกัดเช่นเดียวกับเสรีภาพอื่น ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันบัญญัติไว้ ที่ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเเละประโยชน์สังคมส่วนรวมควบคู่กันไป การใช้เสรีภาพอย่างปราศจากขอบเขตตามอำเภอใจ ผลกระทบต่อเสรีภาพของผู้อื่นย่อมมิใช่เจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญเช่นกัน การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรมีพยานหลักฐานชัดเจนว่าเป็นผู้ควบคุมสั่งการกลุ่มผู้ชุมนุมมีเป้าหมายชัดแจ้งว่า เพื่อขัดขวางมิให้ ครม.ในรัฐบาลของนายสมชายเข้าแถลงนโยบายต่อรัฐสภาได้ อันเป็นหน้าที่ของครม.ที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินจึงเป็นการใช้สิทธิเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจกล่าวอ้างได้ว่าเป็นการใช้สิทธิชุมนุมโดยสุจริต เป็นการกระทำที่มีเจตนาชัดแจ้งเพื่อกระทำการอันขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยมิให้ดำเนินไปได้ถึงขนาดที่ถือได้ว่าเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของระบอบการปกครองแล้ว
นอกจากนั้น การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร มีการแบ่งหน้าที่กันทำ แบ่งกันควบคุมพื้นที่และควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมมีการแต่งตั้งฝ่ายที่ทำหน้าที่ควบคุม เรียกตนเองว่า นักรบศรีวิชัย มีลักษณะเป็นขบวนการ พูดข่มขู่เจ้าพน้างานตำรวจระดับปู้บังคับการว่า หากผ่านเข้าไปในเขตที่พวกกลุ่มพันธมิตรตั้งสิ่งกีดขวางถนนและการจราจรไว้ จะไม่รับรองความปลอดภัยนั้น เป็นการชุมนุมที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น แม้การชุมนุมเมื่อเดือน พ.ค.51เพื่อขับไล่นายสมัครจะผ่านไปด้วยเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อนายสมชายกับครม.ใหม่จะเข้าทำหน้าที่ กลุ่มพันธมิตร ยังจัดการชุมนุมต่อเนื่องเพื่อขัดขวางการแถลงนโยบาย การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรจึงมีลักษณะเป็นขบวนการจัดตั้งที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นปฏิปักษ์กับ
กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามโดยใช้วิธีจัดการชุมนุมที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ กีดขวางการสัญจรในทางสาธารณะอันมีลักษณะเป็นการกระทำซ้ำด้วยการใช้การ ปลุกระดม และมีลักษณะที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงในสังคมขึ้น ก่อให้เกิด การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรภายใต้การนำและกำกับ ควบคุม สั่งการ วางแผนยุทธศาสตร์ โดยมีกองกำลังจัดตั้งเรียกว่า นักรบศรีวิชัย ควบคุมทางสัญจรอันเป็นทางสาธารณะมิให้บุคคลอื่นใช้ผ่านไปมาได้ตามปกติ โดยไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายรองรับพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่นนี้ ส่อแสดงถึงเจตนาที่จะชุมนุม โดยผ่าฝืนกฎหมาย การกระทำเช่นนี้ย่อมเข้าลักษณะกฎหมายปิดปาก กล่าวคือไม่อาจอ้างได้ว่าใช้สิทธิโดยสุจริต จึงไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมตามรัฐธรรมนูญดังที่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยทั้งองค์คณะ ผู้พิพากษาได้วินิจฉัยในหน้า 44ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีไม้กระบอง ธงด้ามยาวและหนังสติ๊ก และฟังข้อเท็จจริงเชื่อว่า กลุ่มผู้ชุมนุมใช้อุปกรณ์ดังกล่าวยิงและตี
เจ้าพนักงานตำรวจจึงเป็นอาวุธอุปกรณ์ที่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยเห็นได้อยู่ในตัวว่า เป็นสิ่งที่มีการเตรียมการไว้ก่อน มิฉะนั้น ย่อมไม่อาจจัดหาได้ในทันที ในขณะเจ้าพนักงานตำรวจผลักดันเพื่อสลายการชุมนุม อันแสดงชัดว่า การชุมนุมนั้นมีอาวุธ
ข้อที่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยในหลายแห่งว่า แกนนำกลุ่มประกาศให้ชุมนุมโดยสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่ก่อความวุ่นวายแล้วนำมาเป็นเหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่า การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ เพื่อนำไปสู่บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63วรรคหนึ่ง ที่ให้สิทธิชุมนุมนั้น การประกาศดังกล่าว
ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงตามที่รับฟังได้ว่า การชุมนุมมีวัตถุประสงค์เพื่อเป้าหมายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญมาแต่ต้น และมิใช่การชุมนุมโดยสงบ ทั้งเป็นการชุมนุมโดยมีอาวุธ
ที่องค์คณะผู้พิพากษาฟังว่า แม้มีการตอบโต้จากผู้ร่วมชุมนุมบางคนบ้างโดยใช้หนังสติ๊กยิงหัวนอตโลหะ ขว้างลูกเหล็ก ขว้างประทัด และใช้ท่อนไม้ตี เจ้าพนักงานตำรวจ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว จะถือเอาเป็นเจตนาร่วมของผู้ร่วมชุมนุมทุกคนไม่ได้ ทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่อาจชี้ได้ว่ากลุ่มจำเลยเป็นตัวการสั่งการและที่องค์คณะผู้พิพากษาฟังว่า หลังเกิดเหตุ กสม.ทำรายงานว่า การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อ หลักการปฏิบัติและเกินความจำเป็นเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน ศาลปกครองสูงสุดก็วินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานตำรวจสลายการชุมนุมไม่เป็นไปตามขั้นตอนและไม่เหมาะสม มีการใช้แก๊สน้ำตามากเกินกว่าที่จะใช้โดยปกติ ทำให้เกิดการปั่นป่วนชุลมุนมีผู้บาดเจ็บ ถือว่า จำเลยและกลุ่มพันธมิตรมีเสรีภาพในการชุมนุมตามสิทธิขั้นพื้นฐาน ฟังไม่ได้ว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบอุทธรณ์โจทก์ในปัญหานี้ฟังไม่ขึ้น นั้น
ข้าพเจ้าไม่เห็นพ้องด้วย โดยเห็นว่า ข้อเท็จจริงคดีนี้ มูลเหตุ การชุมนุมเกิดจากสาเหตุทางการเมือง ข้อเท็จจริงที่องค์คณะผู้พิพากษาพังยุติได้ความว่าผู้จัดชุมนุมมีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรขึ้นมาก่อนเกิดเหตุเป็นระยะ เวลายาวนานประกาศตนเป็นกลุ่มต่อสู้ทางการเมือง มีการจัดตั้งที่มีการบริหารจัดการ มีการวางแผนงานล่วงหน้า โดยมีเป้าหมายกดดันนายสมัคร นายกรัฐมนตรี ที่มาจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ให้ลาออกจากตำแหน่ง มีการชุมนุมที่ยืดเยื้อ
จัดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ย่อมต้องมีการบังคับบัญชาสั่งการ ซึ่งได้ความว่ากระทำโดยกลุ่มแกนนำ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้นายสมัคร พ้นจากนายกรัฐมนตรี แกนนำและผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรถูกออกหมายจับ ก็มีการผลัดเปลี่ยนแกนนำโดยจำเลยที่ 9-11ได้รับเลือกเป็นแกนนำรุ่นที่ 2
เมื่อคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย นายกรัฐมนตรี กำหนดแถลงนโยบาย แกนนำกลุ่มพันธมิตรปราศรัยให้ผู้ชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลรวมตัวปิดล้อมอาคารรัฐสภา เพื่อคัดค้านการแถลงนโยบาย ปิดล้อมทางเข้าออกรัฐสภา ไม่ให้ ครม.และสมาชิกรัฐสภาเดินทางออกได้ จนเจ้าพนักงานตำรวจต้องผลักดันสลายการชุมนุม
ข้อเท็จจริงคดีนี้จึงเป็นเหตุการณ์ชุมนุมที่มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวคราวเดียว แต่เป็นการชุมนุมยืดเยื้อเป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือน เป้าหมายการชุมนุมมิได้มีกิจกรรมเดียว แต่มีกิจกรรมหลายครั้งต่อเนื่องกัน ตั้งแต่เรียกร้องให้นายสมัครลาออกจนถึงการสกัดกั้นขัดขวางมิให้นายสมชายกับ ครม.เข้าแถลงนโยบาย มีการจัดตั้งกลุ่มเป็นระบบ มีการควบคุม
กลุ่มผู้ชุมนุมอย่างดีด้วยการบริหารจัดการ มีการใช้ยุทธศาสตร์ในการบริหารการชุมนุม มีผู้ควบคุมการชุมนุมในแต่ละแห่งแยกกันโดยมีการประสานงานหารือกันให้เป็นไปอย่างที่แกนนำต้องการ ดังคำเบิกความพยานโจทก์ ที่เบิกความจำเลยที่ 21 อ้างว่าไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ต้องประสานขออนุญาต กลุ่มแกนนำก่อน
ส่วนที่องค์คณะผู้พิพากษาอ้างคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ศาลปกครองสูงสุดและรายงาน กสม.ประกอบการวินิจฉัยนั้น ไม่มีกฎหมายรองรับว่า ศาลยุติธรรมต้องผูกพันในผลแห่งการวินิจฉัยดังกล่าว ต่างกับกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติให้ผูกพันทุกองค์กร
นอกจากนี้ แม้ได้ความว่า การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานตำรวจในการสลาย การชุมนุมเป็นการเกินความจำเป็นโดยใช้ขั้นตอนที่ไม่เหมาะสม ใช้แก๊สน้ำตามากเกินกว่าปกติตามรายงานการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ตามการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าพนักงานตำรวจก็เป็นเหตุการณ์อันเกิดขึ้นภายหลัง
จากการขัดขวางการแถลงนโยบายโดยกลุ่มพันธมิตรภายใต้การนำของจำเลย หามีผลต่อการชุมนุมโดยไม่ชอบ ของฝ่ายจำเลยที่เกิดขึ้นก่อนแล้วให้กลายเป็นความชอบธรรมและกลายเป็นการชุมนุมโดยชอบตามรัฐธรรมนูญไม่ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับที่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัย
โดยเห็นว่า การชุมนุมของจำเลยที่ 1,2และที่ 4-21ใน ไม่ใช่การชุมนุมโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ ในประเด็นความผิดตาม ป.อาญามาตรา116
ที่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1,2,4-21 ไม่มีความผิด ข้าพเจ้าไม่เห็นพ้องด้วย โดยเห็นว่าเมื่อการชุมนุมมีเป้าหมายเพื่อกระทำการฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญดังความเห็นแย้งข้างต้น และกรณีไม่ใช่การชุมนุมโดยสุจริตที่จะอ้าง
สิทธิตามรัฐธรรมนูญได้ การกระทำย่อมเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำการด้วยการ ปราศรัยด้วยวาจาหรือการกำกับสั่งการควบคุมด้วยวิธีการอันปกปิดในกลุ่มตนเพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมกระทำการปิดล้อมอาคารรัฐสภาในตอนต้นมิให้การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
กระทำได้ และเมื่อขัดขวางไม่สำเร็จก็ปิดล้อมมิให้ผู้ที่อยู่ในอาคารรัฐส ภาออกไปได้อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต โดยมีเจตนาพิเศษโดยมุ่งหมายให้ครม.ไม่อาจทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญได้ จึงเป็นการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลโดยใช้กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลัง
ประทุษร้าย ทั้งเป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงกฎหมาย เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรอยู่ในตัว และเป็นการกระทำเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน จึงเป็น
ความผิดตามมาตรา 116แล้ว
โดยเห็นว่าดังความเห็นแย้งข้อ 2 และไม่ใช่การชุมนุมโดยสุจริตที่จะอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญได้ ดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1,2,4-21 ย่อมเป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำการเพื่อให้เกิดการวุ่นวายขึ้น ในบ้านเมือง นำไปสู่เหตุปะทะกันกับเจ้าพนักงานตำรวจจนเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นจึงเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 215 ข้อเท็จจริงได้ความว่า เจ้าพนักงานสั่งให้กลุ่มพันธมิตร (ที่ขัดขวางการเข้ารัฐสภาเพื่อไม่ให้ผู้ใดเข้าไปและปิดล้อมรัฐสภาในภายหลังเพื่อไม่ให้ผู้ใดออก)ให้เลิกกระทำแล้ว แต่กลุ่มพันธมิตรภายใต้การกำกับดูแลกลุ่มจำเลย จึงมีความผิดตามมาตรา 216ด้วย
ในส่วนความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309และ 310 ข้าพเจ้าเห็นว่า เมื่อองค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัย ฟังว่า กลุ่มผู้ชุมนุมมีการกระทำปิดล้อมขวางทางเข้าออกจนผู้เสียหายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกบางคนไม่สามารถเข้าออกอาคารรัฐสภาได้ ซึ่งการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ใต้การบังคับบัญชา สั่งการและควบคุมของจำเลยที่ 1,2เเละ4-21ดังกล่าวแล้ว อันเป็นการก่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมกระทำความผิด
มาแต่ต้น จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าจะเกิดการปะทะกับเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมาย แม้กรณีเป็นการที่ผู้ชุมนุมตอบโต้เจ้าพนักงานตำรวจที่ใช้แก๊สน้ำตาจนเกิดเหตุบานปลายไม่อาจควบคุมผู้ชุมนุมให้อยู่ในความสงบได้ ผู้ชุมนุมระบาย
ความโกรธแค้นด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังที่องค์คณะวินิจฉัยก็ตาม จำเลยย่อมถูกปิดปากมิให้อ้างว่ามิใช่การกระทำอันเกิดแต่การก่อใช้หรือสั่งการของตนมาแต่ต้นหาได้ไม่ เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมใช้กำลังคนที่เข้าชุมนุมจำนวนมากปิดล้อมอาคารรัฐสภาจนผู้เสียหายบางคนไม่สามารถเข้าออกอาคารรัฐสภาได้เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมปิดล้อมทางเข้าออกและตะโกนว่า “ฆ่ามัน ฆ่ามัน”
จนเหล่าพยานติดค้างอยู่ในอาคารหลายชั่วโมง โดยกลุ่มผู้ชุมนุมมีพฤติการณ์ทำให้พยานโจทก์เกิดความกลัวภัยจนไม่เข้าร่วมประชุมรัฐสภาและต้องถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังจนเสียเสรีภาพไม่อาจเดินทางออกจากอาคาร อันล้วนเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ชุมนุมที่เกิดแต่การก่อหรือใช้หรือควบคุมสั่งการบังคับบัญชาของกลุ่มจำเลยจำเลยที่ 1,2 เเละ4-21จึงมีความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309,310
ข้าพเจ้าจึงทำความเห็นแย้งนี้ไว้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอาแล้ว! นัดรวมพลหน้าแบงก์ชาติ 4 พ.ย.ต้าน ‘เสี่ยโต้ง’ ยึดธปท.
นัดรวมพลหน้าแบงก์ชาติจันทร์นี้ ต้าน'เสี่ยโต้ง'ยึดธปท. ประชาชนลงชื่อเกือบห้าพัน เตือนหากปล่อยให้การเมืองครอบงำธปท.กรรมการสรรหาประธานบอร์ดฯ ต้องรับผิดชอบ
คปท. ประกาศเตรียมรองเท้าผ้าใบ พร้อมลงถนนทันที!
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่าเ
ศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 'นิว จตุพร' 2 ปี ไม่รอลงอาญา คดีหมิ่นเบื้องสูง
ที่ศาลอาญา กรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีดูหมิ่นสถาบัน หมายเลขดำ อ.1265/2564 ที่พนักงานอัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ฟ้องน.ส.จตุพร แซ่อึง หรือ นิว อายุ 25 ปี แนวร่วมกลุ่มบุรีรัมย์ปลดแอก
ศาลแพ่ง สั่ง 'คปท.-ศปปส.' เลิกชุมนุมภายใน 7 วัน
ศาลเเพ่งออกเอกสารข่าวกรณีเมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการ
'สุเทพ' ไร้กังวลไม่รอลงอาญา สู้คดีต่อในชั้นศาลฎีกา
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำกปปส. กล่าวถึงกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาเเก้ลดโทษจำคุกเเต่ไม่รอลงอาญาว่า ทุกอย่างเป็นกระบวนการยุติธรรม เป็นไปตามดุลพินิจของศาลพวกตนที่เป็นจำเลย ตั้งใจมา
ศาลฯพิพากษาคดี กปปส. จำคุก 14 ราย ยกฟ้อง 19 ราย รอลงอาญา 4 ราย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ลดโทษจำคุก ‘สุเทพ’ เเกนนำ กปปส.เพียงปีเดียว ไม่รอลงอาญา คดีนำมวลชัตดาวน์กรุงเทพ ปี 57 ส่วนพวกแกนนำอีก 14 ราย รับโทษหลั่นกันไป ไม่รอลงอาญาอยู่ระหว่างลุ้นประกันตัว รอลงอาญา 4 ราย ส่วนที่เหลืออีก 19 รายยกฟ้อง