เลขา ครป. เรียกร้องรัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ตั้ง ส.ส.ร. ไม่ต้องรอประชามติ พิสูจน์ตนเองไม่ต้องการสืบทอดอำนาจระบอบเดิม
5 พ.ย.66 – ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) มีการจัดเวทีอภิปรายเรื่อง “กระบวนการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย แก้ไข-ร่างใหม่-ประชามติ?” นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า 50 ปี 14 ตุลาผ่านไป คนไทยยังเรียกร้องรัฐธรรมนูญอยู่เหมือนเดิมตนเห็นว่าส่วนประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชนมีอยู่ 5 ส่วนในขณะนี้คือ
1.คณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ ประกอบด้วยทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคก้าวไกลเข้าร่วม คณะกรรมการแต่งตั้งอนุกรรมรับฟังความคิดเห็น และอนุกรรมการกำหนดจำนวนการประชามติ ซึ่งวันนี้มีการนำเสนอ 1 ครั้ง 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ซึ่งตนเห็นว่าประชามติแค่ครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 วรรค 8 หลังจากมีคณะ ส.ส.ร.ร่างฉบับใหม่เรียบร้อยแล้วจะประชามติอีกรอบก็ได้
2.การประชามติ ตามคำพิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่ารัฐสภามีอำนาจและหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ต้องจัดทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ประชาชนลงมติว่าต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเก่าผ่านประชามติมาในสมัยคสช. และครั้งที่ 2 เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต้องจัดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่นั่นคือการพิจารณาการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในระบบกฎหมายมหาชน ในระหว่างนั้น ไม่เกี่ยวกับการเสนอร่างกฏหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 (8) ซึ่งรัฐบาลสามารถเสนอกฎหมายนี้ได้เลยตามที่หาเสียงไว้ จะเสนอคำถามพ่วงยกเลิก ส.ว.แต่งตั้งที่ค้ำบัลลังก์อำนาจหลังจากการเลือกตั้งร่วมด้วยเลยก็ได้
3.พรรคการเมือง ตอนนี้ประชาชนมีความหวังกับพรรครัฐบาล 2 พรรคที่มีนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชาติ พรรคเพื่อไทยมีนโยบายให้มี ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้ง และผ่านประชามติประชาชน รวมถึงออกกฎหมายให้รัฐประหารเป็นความผิดฐานกบฎ พรรคเคยชูจุดเด่นแก้รัฐธรรมนูญ ผลักดันให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ขจัดการสืบทอดอำนาจเผด็จการ สร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน และแก้ปมแรกของทุกปัญหา ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องทวงถามความจริงใจจากพรรคเพื่อไทยในเรื่องดังกล่าว ซึ่งตนอยากให้เวลารัฐบาลได้ทำงานก่อน 3 เดือน แต่วันนี้มีคนพูดว่า “Pheuthai will not do now they think that they will replace Prayuth and will inherit everything from the present system” พรรคเพื่อไทยต้องพิสูจน์ข้อกล่าวหานี้ให้ได้
ส่วนพรรคประชาชาติมีนโยบายให้ทำประชามติการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนด้วยเช่นกัน โดยให้ประชามติเรื่องจังหวัดจัดการตัวเองหรือเลือกตั้งผู้ว่าราชการด้วย
4.โจทย์ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยนั้น ปัจจุบันตั้งอยู่บนวิกฤตการเมืองที่มีข้อเสนอว่า
1) ต้องจัดวางความสัมพันธ์ทางอำนาจ ความสัมพันธ์ของรัฐท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางใหม่ ความเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐเดียวแบ่งแยกมิได้ แต่มีการแบ่งเขตการปกครองและการบริหารเป็นจังหวัด ที่มาด้วยการกระจายอำนาจ
2) การได้มาซึ่งรัฐบาล หลายคนเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีโดยตรง ให้มีการเลือกตั้งรอบสอง เพื่อแยกฝ่ายบริหารออกจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายรัฐสภา เพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองมีความเป็นเผด็จการเสียงข้างมาก โดยคุมทั้งฝ่ายคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา และแก้ปัญหานายทุนครอบพรรคด้วย รวมถึงที่มาของฝ่ายตุลาการต้องยึดโยงประชาชนผ่านระบบรัฐสภา แก้ ระบบการเลือกตั้ง และกฎหมายพรรคการเมืองให้สอดคล้อง
3) สิทธิเสรีภาพของประชาชน และชุมชน การศึกษา การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ล้าหลัง การปฏิรูปตำรวจและกองทัพ เป็นต้น
4) ที่มาและอำนาจหน้าที่องค์กรอิสระ ต้องยึดโยงกับประชาชนผ่านกลไกรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตย และ 5) การจัดการเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาด การจัดการทรัพยากรสาธารณะของรัฐและประชาชน ต้องสร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและรัฐสวัสดิการ
5.การนิรโทษกรรมประชาชนในคดีการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นเป็นคู่ขนานของการผลักดันรัฐธรรมนูญเนื่องจากภายหลังพล.อ.ประยุทธ์ ยึดอำนาจฉีกรัฐธรรมนูญก็มีการนิรโทษกรรมตนเองด้วย การปรองดองและความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ควรจะต้องเกิดขึ้นในรัฐบาลเพื่อไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ
ดิ้นทุกทาง!บอกประชามติเป็น กม.การเงินไม่ต้องรอ 180 วัน
'ชูศักดิ์' งัด รธน. มาตรา 137 อ้างกฎหมายประชามติเข้าข่ายกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน จ่อถกวิปรัฐบาล เชื่อฝ่ายค้านเอาด้วย
'เพื่อไทย' อยู่เป็นปรับตัวเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม ถอยนิรโทษฯ มาตรา 110 และ 112
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เทพไท - คุยการเมือง" ระบุว่า… เพื่อไทย อยู่เป็น!!!
'เพื่อไทย' ย้อนแย้งปากด่ารัฐธรรมนูญเผด็จการแต่เอาประโยชน์เต็มๆ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส. นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กว่า ปากด่ารัฐธรรมนูญเผด็จการ แต่เอาประโยชน์เต็มๆ
ดร.ณัฏฐ์ มือกม.มหาชน ฟันเปรี้ยง 'ประชามติชั้นเดียว' เจอด่านหิน! เป้าแก้รธน.ทั้งฉบับไม่ง่าย
สืบเนื่องจากตามที่ร่างพระราชบัญญัติประชามติ ในการแก้ไขหลักการประชามติชั้นเดียว ไม่ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ทำให้ร่างดังกล่าวย้อนกลับมาพิจารณาของ สส.อีกครั้ง