'รอมฎอน' ปั่นพรรคร่วมรัฐบาลอย่าปล่อยเรื่องยุบ กอ.รมน.ให้เงียบหาย

'รอมฎอน' ชี้'เศรษฐา'ควรให้สภาถกเถียงเรื่องยุบ กอ.รมน. ไม่ใช่ปัดทิ้ง พร้อมเสี้ยม 'ประธานวิปรัฐบาล-พรรคประชาชาติ และ สส. 12 คนจาก 13 เขตเลือกตั้งภาคใต้' ทำไมเงียบ

01 พ.ย.2566 - นายรอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) หรือร่าง พ.ร.บ.ยุบ กอ.รมน.โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า นายกฯ เศรษฐาระบุว่าหากจะดันกฎหมายยุบ กอ.รมน.จะต้องเข็นกันเอาเอง แต่การเข็นขึ้นหรือไม่ขึ้นนั้นตอนนี้อยู่ในมือของนายกฯ ที่ชื่อเศรษฐาเองนะครับ ร่าง พ.ร.บ.ยุบ กอ.รมน. นั้นถูกประธานสภาตีความว่าเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 133 นายกรัฐมนตรีจะต้องใช้ดุลพินิจให้คำรับรอง ต่อร่างกฎหมายโดยเปิดทางให้สภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายและถกเถียงกัน

การตัดสินใจเรื่องนี้ของเศรษฐาในโมเมนต์นี้จึงสำคัญมากกว่าคำให้สัมภาษณ์หรือคำแถลงใด ๆ การจะยุบไม่ยุบ กอ.รมน. นั้นอาจเห็นแตกต่างกันได้ แต่ละพรรคการเมืองก็มีนโยบายแตกต่างกัน แต่การเปิดโอกาสให้มีการให้เหตุผลโต้แย้งกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่ควรกระทำครับ

ผมคิดว่าท่านนายกฯ ไม่ควรต้องกังวลใจหรือหวั่นเกรงต่ออำนาจและอิทธิพลใดๆ เพราะอย่างน้อย ๆ คะแนนโหวตในสภานั้นจะเป็นตัวตัดสินครับ

แต่ถ้านายกฯ เศรษฐาตัดสินใจตัดตอนโดยการไม่ให้คำรับรองตามความเห็นของ กอ.รมน.ที่เสนอมาเป็นการภายในนั้น ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีพลเรือนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพจะโดดเด่นเห็นชัดมากยิ่งขึ้น โจทย์ใหญ่ยังตกอยู่กับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลหลายพรรคที่สมาชิกพรรคอาจมีท่าทีแตกต่างกันเกี่ยวกับสถานะของ กอ.รมน.

อย่างน้อยๆ ก็ประธานวิปรัฐบาลที่ออกตัวชัดเจนว่าจำเป็นต้องโละทิ้งองค์กรที่เป็นรัฐซ้อนรัฐอันเป็นมรดกของสงครามเย็น การยุบ กอ.รมน.ถือเป็นให้เกียรติทหาร คืนกลับสู่กรม กอง คืนทหารให้ทหาร คืนเสรีภาพให้ประชาชน คืนอำนาจให้หน่วยราชการ

คำถามโต ๆ ยังปะทะไปยังพรรคประชาชาติ ที่มีฐานเสียงสำคัญในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าจะมีจุดยืนอย่างไร ชายแดนใต้เป็นพื้นที่ความขัดแย้งที่เป็นทั้งจุดกำเนิดและฐานที่มั่นสำคัญของ กอ.รมน.ในเวอร์ชั่นที่เราเห็นในทุกวันนี้ สิบกว่าปีมานี้และโดยเฉพาะหลังการรัฐประหาร งบประมาณและอำนาจที่ขยายตัวมากขึ้นของกองทัพในนามของ กอ.รมน.ได้สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ที่สำคัญ แนวทางของ กอ.รมน. ยังได้จำกัดทางเลือกในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติวิธีและเปิดกว้าง เป็นเพียงความพยายามสร้างความภักดีแบบบีบบังคับ สกัดกั้นการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมือง โดยทึกทักว่าวิธีการเหล่านั้นจะสร้างสันติสุขที่สงบราบคาบได้ แต่เปล่าเลย ความไม่เชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่รัฐและความอึดอัดใจของประชาชนแพร่กระจายอยู่เต็มไปหมด นี่คือที่มาของแรงสนับสนุนของผู้คนในพื้นที่ชายแดนใต้ให้ยุบ กอ.รมน.

หากนายกรัฐมนตรีไม่แยแส ต่อความรู้สึกเช่นนี้ และปิดกั้นไม่ให้มีการอภิปรายเรื่องนี้ในสภาผู้แทนราษฎร สส.เขตในพรรคร่วมรัฐบาล 12 คนจากทั้งหมด 13 เขตเลือกตั้ง จะตอบคำถามประชาชนอย่างไร?

เปิดให้สภาได้ถกเถียงเถิดครับ!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' อย่าสับสน! โพลวัดผลงาน ไม่ใช่เรตติ้งนายกฯ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าสับสน !!! ระหว่างผลงาน กับการเลือกนายกฯ คนต่อไป

'อนาคตไกล' รับซื้อ 'ปลาหมอคางดำ' 20 ตันเพื่อกำจัด อัด 'พิธา' ตรรกะวิบัติอ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

“พรรคอนาคตไกล” บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 ตันเพื่อกำจัด อัด "พิธา-ก้าวไกล ตรรกะวิบัติ" อ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

'ก้าวไกล' เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ. 'พิธา' อ้อนพี่น้องชาวลำพูนเชื่อในประชาธิปไตย

ก้าวไกลจัดสภากาแฟที่ลำพูน แลกเปลี่ยนปัญหาภาคเอกชน 'พิธา' ชี้เศรษฐกิจภาคเหนือมีแรงเฉื่อยลักษณะพิเศษโตช้า

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ