'สนธิญา' ไล่บี้ กกต. ปมไฟเขียวนโยบายแจกเงินดิจิทัล ส่อขัด รธน.

‘สนธิญา’ ทวงถาม กกต. ปมอนุมัติผ่านนโยบายเงินดิจิทัล – แจก 3 พันผู้สูงอายุ ส่อขัด รธน. ขู่ยื่น ป.ป.ช และผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

27 ต.ค. 2566 – ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ยื่นหนังสือต่อ กกต. เพื่อทวงถามกรณีการพิจารณาอนุมัติให้พรรคการเมืองสามารถนำนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 1 หมื่น รวมถึงเงินสวัสดิการผู้สูงอายุเดือนละ 3,000 บาท เพื่อไปหาเสียงได้ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

นายสนธิญา กล่าวว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 258 (3) ซึ่งว่าด้วยการปฏิรูปประเทศนั้น นโยบายของพรรคการเมืองจะต้องศึกษา และทบทวน รวมถึงต้องมีการพิจารณาอย่างถ่องแท้ แต่ในปัจจุบันขอถามพรรคการเมืองที่ประกาศว่าจะจ่ายเงินสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ 3,000 บาท ต่อคน โดยขณะที่อยู่ในช่วงจัดตั้งรัฐบาล ก็ประกาศออกมาว่าทำไม่ได้ จนกระทั่งขณะนี้นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 1 หมื่นบาท ก็ยังลูกผีลูกคน ดังนั้นตนจึงมาถาม กกต. ว่า การที่อนุมัตินโยบายดังกล่าวนั้น ได้มีการศึกษาและทบทวน รวมถึงได้ถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือไม่ว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะในช่วงของการเลือกตั้งจะเห็นว่า กกต. ใหญ่ที่สุด ดังจะเห็นว่ารัฐบาลที่รักษาการ เวลาจะทำอะไรก็ต้องถาม กกต. ตลอดจนนโยบายของพรรคการเมืองแต่ละพรรค ทาง กกต. ก็จะต้องมีการศึกษาและทบทวน ดูแลว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่

ทั้งนี้ ตนมาร้องต่อ กกต. ใน 2 ประเด็น คือ 1.ให้ กกต. พิจารณาวินิจฉัยตัวท่านเอง เพราะหลายเรื่องที่ตนยื่นมาก่อนหน้านี้ถูกตีตกหมด และที่ผ่านมา กกต. ปล่อยปละละเลยเกี่ยวกับนโยบายเหล่านี้หรือไม่ 2.การที่พรรคการเมืองประกาศนโยบายแล้วทำไมได้นั้น แต่ กกต. อนุมัติให้สามารถนำไปใช้หาเสียงได้ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 หรือไม่ รวมถึงขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 57 หรือไม่ เรื่องดังกล่าวจะนำไปร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการที่พรรคการเมืองมายื่นนโยบายหาเสียง และ กกต.พิจารณาอนุญาตนั้น จะต้องผ่านกระบวนการของ กกต. ในการพิจารณาวินิจฉัย ซึ่งเมื่อ กกต. วินิจฉัยแล้ว กกต. จะต้องรับผิดชอบในการวินิจฉัย ส่วนพรรคการเมืองจะต้องรับผิดชอบในการดูแลประชาชน และการเลือกตั้งครั้งต่อไป

“เมื่อเป็นเรื่องที่ กกต. รับรองแล้วว่าได้มีการศึกษาทบทวนว่าสามารถทำได้ แต่มาวันนี้ทำไมทำไม่ได้ เป็นการละเว้นปล่อยปละละเลยหรือไม่ กระบวนการนโยบายของพรรคการเมืองที่ กกต. อนุมัตินั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และยืนยันว่าเรื่องนี้จะไม่จบแค่ตรงนี้ แต่จะไปยื่นต่อ ป.ป.ช. หรือยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อพิจารณาส่งเรื่องศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการกระทำที่ กกต.นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ต่อไป”นายสนธิญา ระบุ

นายสนธิญา กล่าวว่า ตนไม่เชื่อมั่นสิ่งที่ประการเป็นนโยบายหาเสียงนั้นสามารถทำได้ และได้ยื่นเรื่องต่อ กกต. มา 5 เดือนแล้ว ทำไมถึงปล่อยให้นโยบายหาสิ่งเหล่านี้ออกมาเรื่อยๆ ทำให้ประชาชนผิดหวังครั้งแล้วครั้งเล่า นี่คือการทำลายระบอบประชาธิปไตยทางอ้อม เพราะเมื่อพรรคการเมืองทำไม่ได้ และ กกต.ได้อนุมัติ ประชาชนก็จะไม่นับถือประชาธิปไตยอีกต่อไป เพราะคือการโกหก ซึ่งผู้ที่ดูแลกวดขันได้คือ กกต. ดังนั้นไม่อยากเห็นเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งหน้าอีกต่อไป ซึ่ง กกต.จะต้องวางแผน รับผิดชอบ เพื่อไม่ให้พรรคการเมืองหลอกประชาชนอีกต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มีหนาว! ‘เรืองไกร’ ร้อง ปปช. ตรวจสอบจนท.ของรัฐ 8 ราย ยื่นบัญชีและเสียภาษีถูกต้องหรือไม่

วันนี้ผมจึงส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจเพื่อตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐรวม 8 รายดังกล่าว

'บิ๊กป้อม' ประกาศจุดยืน พปชร. สั่ง สส. คว่ำร่างนิรโทษคดี 112 ทุกฉบับ

'บิ๊กป้อม' ส่ง 'ไพบูลย์' ย้ำจุดยืน 'พปชร.' ค้านรวมคดี ม.112 ทุกรูปแบบ ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหตุฝ่าฝืนคำวินิฉัยศาลรธน. ขืนดึงดันโหวตคว่ำตั้งแต่วาระแรก

'ดิเรกฤทธิ์' พ้อ! ไร้องค์กรตรวจสอบ กกต. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ 'เลือก สว.'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ประชาธิปไตยต้องไม่มีอำนาจใดไม่ถูกตรวจสอบ"

อึ้ง!ปดิพัทธ์บอกยุบ 'ก้าวไกล' แสดงว่าไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยส่งผลสภานานาชาติ

'ปดิพัทธ์' ยอมรับมีชื่อเป็น กก.บห.ก้าวไกล เสี่ยงพ้น สส. หากพรรคถูกยุบจริง แต่เชื่อมั่นว่าการสู้คดีมีน้ำหนัก ไม่เสียดายตำแหน่งรองประธานสภา ชี้งานที่หาเสียงไว้ทำได้หมดแล้ว